วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
นักวิชาการเกษตรมหิดล แนะวิธีสังเกตอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง

นักวิชาการเกษตรมหิดล แนะวิธีสังเกตอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง

วันพุธ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 17.09 น.
Tag : มหิดล โรคใบด่างมันสำปะหลัง นักวิชาการเกษตร
  •  

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี แนะวิธีสังเกตอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยคัดเลือกท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต้นที่ไม่เป็นโรคก่อนนำไปปลูกและไม่นำท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรคไปปลูกเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

16 มิถุนายน 2564  ดร.ชนาณัฐ แก้วมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการย่อยการติดตามจำนวนประชากรแมลงหวี่ขาวพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้เปิดเผยว่า "โครงการดังกล่าว อยู่ภายใต้แผนงานการพัฒนารูปแบบธุรกิจและนวัตกรรมการผลิตและบริการท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสมรรถนะสูงพื้นที่ดำเนินการโคราชโมเดล


ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ลงพื้นที่แปลงมันสำปะหลัง อำเภอเมือง และ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเก็บข้อมูลและพูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเกี่ยวกับปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลังที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ 

 

 

ดร.ชนาณัฐ  แนะนำเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังว่า การนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังไปปลูกต้องสังเกตุท่อนพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยสังเกตุอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง จากนั้นให้คัดเลือกท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต้นที่ไม่เป็นโรคก่อนนำไปปลูกและไม่นำท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรคไปปลูก เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค 

"โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Disease: CMD) เกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) ลักษณะอาการโรค ยอดและใบมีลักษณะอาการหงิกงอเสียรูปทรง สีใบด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม ลำต้นแคระแกร็น และหัวมีขนาดเล็กกว่าหัวของต้นที่ไม่เป็นโรค ซึ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เกิดจากการนำท่อนพันธุ์เป็นโรคหรือแฝงโรคไปปลูกและมีแมลงหวี่ขาว (whitefly) เป็นแมลงพาหะนำโรค”

หากประชาชนในพื้นที่ใด มีปัญหาดังกล่าว สามารถสอบถามและปรึกษา มาที่อาจารย์ดร.ชนาณัฐ แก้วมณี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี โทรศัพท์  034 585058  ในวันและเวลาราชการ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'หมวย อริสรา'ตรวจพบโควิดกลางรายการ 'หนุ่ม กรรชัย'นั่งเดี่ยว'เที่ยงวันทันเหตุการณ์'

(คลิป) 'อุ๊งอิ๊งค์' ไปส่วนตัวใช่ไหม? ปัญหาอยู่ 'สหรัฐ' แต่ดันไป 'อังกฤษ'

รวบหนุ่มเสพยา-ชิงแท็กซี่หนีกบดานในโรงแรม

รวบคาบ้าน! อดีตข้าราชการระดับสูง เอี่ยวขบวนการออกโฉนดรุกป่าชายเลน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved