วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ใครรู้บ้าง? ทั่วโลกมี 'เสือโคร่ง' ทั้งหมดกี่สายพันธุ์

ใครรู้บ้าง? ทั่วโลกมี 'เสือโคร่ง' ทั้งหมดกี่สายพันธุ์

วันพุธ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 11.59 น.
Tag : เสือโคร่ง สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า
  •  

วันนี้ (14 ก.ค.64) เพจ "ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" ได้เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับเสือโคร่งสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก ก่อนที่จะมีการจัดเสวนาแบบออนไลน์ ในหัวข้อ "มองสถานการณ์เสือโคร่งปัจจุบันสู่อนาคตฯ" ในวันที่ 29 กรกฎาคม- 27 สิงหาคม 2564 นี้ โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

รู้หรือไม่...ทั่วโลกมีเสือโคร่งทั้งหมด 9 สายพันธุ์ สูญพันธุ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ แล้วประเทศไทยจะเป็นอย่างไร 29 ก.ค.นี้ เรามาร่วมมองสถานการณ์เสือโคร่งไปพร้อมกันทั่วประเทศ...


29 กรกฎาคมของทุกปีจะตรงกับวันเสือโคร่งโลก  (Global Tiger Day) โดยในปีนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชจะมีการจัดนิทรรศการเสือโคร่ง ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม - 27 สิงหาคม 2564 ทาง www.globaltigerday2021.com 

โดยในวันที่ 29 กรกฎาคม จะมีการเสวนาแบบออนไลน์ ใน 2 ช่วงเวลา ดังนี้ เวลา 10.30 น. เสวนาในหัวข้อ “TIGER TALK” และในเวลา 13.00 น. เสวนาในหัวข้อ “มองสถานการณ์เสือโคร่งปัจจุบันสู่อนาคต : Thailand’s tigers forever : Moving forward to the future”

แต่ก่อนที่จะถึงวันสำคัญดังกล่าว เรามาทำความรู้จัก "เสือโคร่ง" กันก่อน ซึ่งทางสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้เผยแพร่ไว้ใน BIG 7 หรือ 7 สัตว์ป่าผู้ยิ่งใหญ่ แห่งป่าห้วยขาแข้ง ตอน : 'เสือโคร่ง' ผู้ยืนอยู่บนยอดพีระมิดแห่งพงไพร

เสือโคร่ง (Tiger) คือชนิดพันธุ์ที่เรียกว่า umbrella species การดำรงอยู่ของเสือโคร่ง เท่ากับ การดำรงอยู่ของสัตว์ป่านานาชนิดในผืนป่า

การเป็น umbrella species ยังหมายถึง การเป็นเป้าหมายหลักในการอนุรักษ์และคุ้มครอง เท่ากับว่า สัตว์ป่าน้อยใหญ่ในพื้นที่ของเสือโคร่ง ล้วนได้รับการอนุรักษ์และปกป้องไปพร้อม ๆ กัน

เสือโคร่ง อยู่ในวงศ์ Felidae เป็นสัตว์กินเนื้อ (canivora) ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเหลืองหรือเหลืองอมส้ม มีลายสีดำพาดขวางตลอดทั้งลำตัว...แน่นอนว่า แต่ละตัวมีลายไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของคน

ทั่วโลก มีอยู่ 9 สายพันธุ์ : บาหลี, ชวา, แคสเปียน, อินโด-ไชนีส, เบงกอล, ไซบีเรียน, เซาท์ไชน่า, สุมาตรา และมลายู 3 สายพันธุ์แรก สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้วโดยสิ้นเชิง เหลือไว้เพียง 6 สายพันธุ์หลัง

เสือโคร่งในผืนป่าไทย เป็นสายพันธุ์อินโด-ไชนีส บ้างก็เรียกสั้น ๆ ว่า อินโดจีน มีลำตัวขนาดกลาง นน. 130-200 กก. นอกจากจะอยู่ในป่าไทยแล้ว ก็ยังอยู่ในพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และทางตอนใต้ของจีน

ในประเทศไทย มีรายงานประชาเสือโคร่ง (ปี 2563) จำนวน 130-160 ตัว กระจายตัวในป่าอนุรักษ์ที่สำคัญ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งถือเป็นบ้านแห่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งอินโดจีนอีกแห่งหนึ่ง

อาณาเขตของเสือโคร่งเพศผู้ กินพื้นที่ราว ๆ 200-300 ตร.กม. ในขณะที่เพศเมียจะอยู่ที่ 60 ตร.กม. ล่าเหยื่อตั้งแต่หมูป่า เก้ง กวาง วัวแดง และกระทิง และนิยมล่าเหยื่อที่มีช่วงอายุโตเต็มวัย

การล่าแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกินเหยื่อนาน 3-6 วัน เสือโคร่ง 1 ตัว กินเนื้อประมาณ 3,000 กก./ปี เทียบเป็นกวางประมาณ 50 ตัว หากจะผลิตกวาง 50 ตัวเพื่อเป็นเหยื่อ ต้องดำรงประชากรกวางให้ได้ประมาณ 500 ตัว

ทำไมเสือโคร่งจึงมีความสำคัญ ทำไมจึงมุ่งเป้าการอนุรักษ์ไปที่ 'เสือโคร่ง' ท่านใดที่น้อยใจแทนสัตว์ป่าชนิดอื่น น่าจะพอหาคำตอบได้ 

เว็บไซต์ WCS Thailand กล่าวถึงความสำคัญของเสือโคร่งต่อระบบนิเวศไว้ว่า "เสือโคร่งมีความสำคัญที่โดดเด่นในฐานะผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร มีบทบาทและหน้าที่ในการควบคุมประชากรของสัตว์กินพืชไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป"

รวมทั้งรักษาสายพันธุ์ที่ดีของประชากรสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เพราะสัตว์ที่อ่อนแอมักตกเป็นเหยื่อของเสือโคร่ง นอกจากนี้ปริมาณและชนิดเหยื่อของเสือโคร่งก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรเสือโคร่งอยู่รอดได้เช่นกัน 

ด้วยความสัมพันธ์นี้จึงกล่าวได้ว่า 'เสือโคร่ง' สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่มีสัตว์ป่าดำรงอยู่ได้อย่างชัดเจน" เสือโคร่ง จึงได้ชื่อว่าเป็น ‘7 สัตว์ป่า ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง’

สถานภาพปัจจุบันของเสือโคร่ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไอยูซีเอ็น (IUCN) จัดให้อยู่ในประเภทใกล้สูญพันธุ์ (EN)

“สัตว์ป่า แต่ละชนิดล้วนแต่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน พวกมันทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเข้มแข็งเพื่อรักษาไว้ซึ่งสมดุลในระบบ ทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า ดังนั้น ไม่ว่าจะเหตุผลกลได้ก็ตาม สัตว์ป่าย่อมมีคุณค่ามากที่สุดเมื่ออยู่ในผืนป่า มิใช่ในกรงเลี้ยง หรือแขวนประดับไว้ตามบ้านเรือนของใคร” สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พบรอยเท้า\'เสือโคร่ง\'ออกล่าวัวบริเวณบ้านไอร์บือแต แจ้งเตือนไปกรีดยางระวังอันตราย พบรอยเท้า'เสือโคร่ง'ออกล่าวัวบริเวณบ้านไอร์บือแต แจ้งเตือนไปกรีดยางระวังอันตราย
  • WWF ติดตามความก้าวหน้าโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ WWF ติดตามความก้าวหน้าโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ
  • พบเสือโคร่งตัวใหม่ในฃ\'อช.แก่งกระจาน\'ย้ำความสมบูรณ์ของพื้นที่ พบเสือโคร่งตัวใหม่ในฃ'อช.แก่งกระจาน'ย้ำความสมบูรณ์ของพื้นที่
  •  

Breaking News

ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ

กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน

ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน

สังขารยังดีต้องทำงานแลก! รัฐบาล‘ทรัมป์’ชงแนวทางใหม่จัดสวัสดิการรัฐชาวอเมริกัน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved