วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เผยคนรุ่นใหม่มอง‘ขายบริการ’มุมสิทธิมากขึ้น ชี้ช่องทบทวนกฎหมายความผิดค้าประเวณี

เผยคนรุ่นใหม่มอง‘ขายบริการ’มุมสิทธิมากขึ้น ชี้ช่องทบทวนกฎหมายความผิดค้าประเวณี

วันอังคาร ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564, 07.56 น.
Tag : ขายบริการ Sex worker
  •  

ช่วงค่ำของวันที่ 13 ก.ย. 2564 เฟซบุ๊กแฟนเพจ “ไทยแอ็ค” จัดเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “เมื่อเราต่างต้องการ Sex worker มืออาชีพ แต่ละเลยคุณภาพชีวิตของคนทำงาน” โดย น.ส.ชัชลาวัณย์ เมืองจันทร์ ตัวแทนมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (Empower Foundation) องค์กรภาคประชาสังคม (NGO) ที่ทำงานด้านสิทธิผู้ขายบริการทางเพศและพนักงานในสถานบันเทิง เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ที่ตนทำงานขับเคลื่อนประเด็นนี้มา 12 ปี พบว่าในช่วง 5 ปีล่าสุดพบความเปลี่ยนแปลง จากมุมมอของคนรุ่นใหม่ที่งแตกต่างไปจากเดิม

“สมัยก่อนอาจจะมองเรื่องศักดิ์ศรี เรื่องความเป็นผู้หญิง เรื่องเนื้อตัวร่างกาย อะไรพวกนี้ แบบศีลธรรมจะค่อนข้างสูงกว่า แต่ตอนนี้เหมือนคนรุ่นใหม่มองเรื่องสิทธิ การเคารพสิทธิมนุษยชน การเคารพการตัดสินใจ เริ่มมาสู้ไล่ๆ กัน เราก็เลยเห็นภาพที่คนรุ่นใหม่ตามพื้นที่ทางการเมือง หรือตรงที่ม็อบอะไรต่างๆ ที่เราจะเห็นว่า มีนักศึกษา น้องๆ สนใจประเด็นเรื่องคนทำงานบริการเยอะขึ้น ให้ความสำคัญมากขึ้น เห็นชัดเจนมากขึ้นในช่วง 5 ปีหลัง คนมองเรื่องสิทธิเนื้อตัวร่างกาย การเคารพการตัดสินใจ การเลือกเข้ามาทำงาน มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก” น.ส.ชัชลาวัณย์ กล่าว


น.ส.ชัชลาวัณย์ กล่าวต่อไปว่า ส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 ที่ยังบังคับใช้อยู่นั้น แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่บางส่วนก็ยอมรับว่าไม่ได้อยากจะจับกุมผู้ขายบริการทางเพศ เพราะรู้ว่าจับไปเสียค่าปรับ ปล่อยออกมาเดี๋ยวก็กลับมาขายบริการอีก แต่เมื่อมีกฎหมายกำหนดไว้และมีผู้ร้องเรียนเข้าไปก็ต้องทำ ไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่เองก็จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

ขณะที่ความเคลื่อนไหวของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ต้องการแก้ไขกฎหมายนี้เช่นกัน และมีการทำงานวิจัยเพื่อยกร่างกฎหมายฉบับใหม่ ตนรู้สึกกังวลเพราะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพนี้แทบไม่มีส่วนร่วม จึงนำมาสู่ความพยายามผลักดันร่างกฎหมายฉบับประชาชนในเรื่องเดียวกันบ้าง 

“รัฐเขามีโมเดลจดทะเบียน คุณต้องจดทะเบียนถึงจะถูกกฎหมาย ถ้าไม่จดทะเบียนคุณก็ยังผิดกฎหมาย ซึ่งเราพยายามสะท้อนปัญหาว่าไม่มีใครไปจดหรอก ดังนั้นมันก็จะยังผิดกฎหมายเหมือนเดิม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการคือแค่ต้องการให้คุณยกเลิก เอาความผิดออกไปก่อน แล้วเรื่องของการจำกัด ควบคุม หรือแม้แต่การควบคุมดูแล ป้องกันอะไรต่างๆ มันมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่มารองรับ อันนี้คือสิ่งที่เราพยายามสะท้อน เราเลยพยายามทำทั้งรายงาน ล่ารายชื่อคู่ขนาน แล้วก็ติดตามกระบวนการทำงานภาครัฐ” น.ส.ชัชลาวัณย์ ระบุ

น.ส.ชัชลาวัณย์ ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันได้มาถึงจุดสำคัญ คือมีการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นตามกลไกรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาตรา 77 ว่าด้วยการทบทวนกฎหมายเดิมที่ใช้มานานว่าสมควรยกเลิกหรือแก้ไขหรือไม่อย่างไร ซึ่งรวมถึง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 ที่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดให้ร่วมแสดงความคิดเห็น 

เช่นเดียวกับ นายนพนัย ฤทธิวงศ์ นักกิจกรรมผู้หญิงข้ามเพศ มูลนิธิเพื่อนพนักงงานบริการ (SWING)  ซึ่งขับเคลื่อนในประเด็นเดียวกันโดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานในกรุงเทพฯ และเมืองพัทยา จ.ชลบุรี กล่าวว่า ช่วงหลังๆ ตนก็เห็นเช่นกันว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจมากขึ้น เช่น มีกลุ่มนักศึกษาแพทย์เข้ามาดูงาน ได้พูดคุยทำความเข้าใจกับคนทำงานบริการทางเพศจริงๆ จากเดิมที่คนอาชีพนี้จะถูกตีตราเพราะไม่ได้พูดคุยกันมาก่อน

ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 แต่จนถึงปัจจุบัน การขายบริการทางเพศก็ยังคงเป็นที่รับรู้ว่ามีอยู่จริงในสังคมไทย และหลายคนก็ไม่ได้ดูแลเพียงตนเอง แต่ยังมีพ่อแม่ มีลูกต้องดูแล แต่เมื่ออาชีพนี้ไม่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ที่จะเข้ามาทำงานนี้ก็ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองให้รอดพ้นจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ต้องใช้บริการโรงแรมที่ตนเองรู้จักกับพนักงาน เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปแสดงความคดิเห็นได้ที่เว็บไซต์ www.law.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดทำขึ้นเพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางสำหรับรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ทั้งที่มีอยู่เดิมและกำลังจะร่างขึ้นใหม่ โดยค้นหาหัวข้อ “โครงการการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙” ซึ่งจะพบ 2 ส่วน คือสำหรับเจ้าหน้าที่ (เช่น ตำรวจ) กับสำหรับประชาชนทั่วไป เนื่องจากระบบได้จัดทำแยกไว้สำหรับผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้-เสียทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ สามารถแสดงความคิดเห็นได้จนถึงวันที่ 5 ต.ค. 2564
 

.

(010)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มีอยู่จริง..แม้รัฐบอกว่าไม่! ‘ขายบริการ’กฎหมายอย่างไรดี? มีอยู่จริง..แม้รัฐบอกว่าไม่! ‘ขายบริการ’กฎหมายอย่างไรดี?
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved