วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : วิจัยชุมชนริมน้ำฝั่งธนบุรี  นำร่องท่องเที่ยวคนพิการ

รายงานพิเศษ : วิจัยชุมชนริมน้ำฝั่งธนบุรี นำร่องท่องเที่ยวคนพิการ

วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : คนพิการ ชุมชนริมน้ำ ท่องเที่ยว ธนบุรี
  •  

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ณ วันที่31 ธ.ค. 2563 พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี “คนพิการ” 2,076,313 คน และในจำนวนนี้ 1,032,455 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 49.73 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของคนพิการทั้งหมด มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ดังนั้น การพัฒนาแนวทางอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างมาก

ผศ.นุชรา แสวงสุข อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เล่าถึงการทำงานวิจัย“แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวย่านริมน้ำฝั่งธนบุรี สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว” ซึ่งได้การสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ว่า เส้นทางการท่องเที่ยวดังกล่าว มีระยะไม่เกิน5 กิโลเมตร โดยเริ่มจากวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีนภายในวัด มีหอระฆังใบใหญ่ที่สุดของประเทศไทย


หลังจากนั้นจะเดินทางไปยังศาลเจ้าเกียนอันเกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิมที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มีจิตรกรรมฝาผนัง เครื่องไม้แกะสลักที่มีความสมบูรณ์ ประณีต จากนั้นเดินทางมายังชุมชนกุฎีจีน ที่เป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่ได้รับความนิยม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเรื่องของอาหาร หรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติของชุมชน โดยในชุมชนยังมีโบสถ์ซางตาครู้สที่ตกแต่งอย่างสวยงาม มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก โดยเส้นทางท่องเที่ยวนี้ถือว่ามีความหลากหลายอย่างมาก เพราะได้ท่องเที่ยวเส้นทางเดียวแต่ได้รับชมความหลากหลายทั้งด้านสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ อีกด้วย

“สาเหตุที่เลือกแขวงวัดกัลยาณ์เนื่องจากว่ามีเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกัน โดยเฉพาะบริเวณแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทัศนียภาพที่สวยงาม เหมาะแก่การเยี่ยมชมสถานที่ ทั้งวัด ชุมชน มีศักยภาพเพียงพอที่ให้คนพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถเดินทางได้ พร้อมกับประเมินเส้นทางการท่องเที่ยวดังกล่าวว่า จะต้องเพิ่มศักยภาพด้านใด เพื่อให้คนพิการสามารถเดินทางได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยานพาหนะอื่นเพื่อการเดินทาง เช่น เรือ หรือรถยนต์” ผศ.นุชรา กล่าว

งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มจากการสอบถามคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ได้เดินทางท่องเที่ยวบริเวณย่านริมน้ำฝั่งธนบุรี ระหว่างการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยประจำปี 2562 นำมาสู่ 6 ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวย่านริมน้ำฝั่งธนบุรีโดยเฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ ได้แก่ 1.ต้องมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวพิการทางการเคลื่อนไหว ทั้งสถานที่จอดรถ ทางลาด ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณ์ และเคาน์เตอร์ในการบริการข้อมูล

ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า สถานที่ท่องเที่ยวยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบมากนัก เช่น ที่จอดรถคนพิการที่ยังมีรถธรรมดาเข้ามาจอดได้ ห้องน้ำที่คนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงได้สะดวกต้องรอเจ้าหน้าที่มาเปิดให้ หรือแม้แต่เคาน์เตอร์ให้ข้อมูลที่ใช้ความสูงสำหรับบุคคลปกติ แต่คนพิการที่ต้องนั่งรถเข็นไม่สามารถใช้ได้ สิ่งเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องให้คนพิการสามารถเดินทางได้อย่างทั่วถึง

2.ต้องพัฒนาเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว ให้มีความเรียบ ไม่ขรุขระ และไม่เป็นอุปสรรคต่อคนพิการให้ท่องเที่ยว โดยที่ผ่านมาพบว่า เส้นทางลาดที่มีความสูงชันมากเกินไป หรือทางที่ใช้สัญจร ยังไม่กว้างพอให้คนพิการใช้รถวีลแชร์เดินทางได้ ส่งผลต้องให้มีบุคคลอื่นเข้ามาให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการในการเดินทาง ซึ่งส่วนใหญ่คนพิการให้ความเห็นไว้ว่า ต้องการเดินทางด้วยตนเอง ช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด

3.ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ต้องปรับลักษณะทางกายภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว ร้านค้าบางแห่งยังคงคับแคบ รถเข็นวีลแชร์ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเทียบเท่าสำหรับบุคคลปกติ คนพิการไม่สามารถดูตัวอย่างสินค้าได้เอง 4.ต้องพัฒนาฝึกอบรมบุคลากร ในการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง

ซึ่งจากการสัมภาษณ์ยังพบว่า ส่วนใหญ่คนพิการมีความกังวลเรื่องของทัศนคติของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว หรือประชากรในชุมชน ที่อาจจะยังมีเชิงลบต่อคนพิการ ดังนั้นจะต้องอบรมและปลูกฝังทัศนคติใหม่ที่มีต่อคนพิการด้วย 5.ต้องกำหนดนโยบายและแผนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวโดยมีลายลักษณ์อักษร เพราะจากการลงพื้นที่ดังกล่าวแล้วพบว่า แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งยังสามารถรองรับคนพิการได้ แต่ไม่มีแผนอย่างเฉพาะเจาะจง

ดังนั้นการกำหนดนโยบายดังกล่าวจะช่วยให้มีบุคลากรเข้ามาช่วยเหลือพร้อมกับเปิดช่องทางให้เพื่อรับข้อร้องเรียนได้อีกด้วย 6.ต้องมีการปฐมพยาบาล รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหวเมื่อได้รับบาดเจ็บ เพราะยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยวแห่งไหนมีแผนรองรับนี้ ซึ่งการท่องเที่ยวด้วยตนเองของคนพิการก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากเหตุต่างๆ มากกว่าปกติ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาล ดังนั้นจึงเสนอว่า ถ้ามีจุดปฐมพยาบาลและเชื่อมต่อการส่งรักษาตัวก็จะเป็นเรื่องที่ดี

ทั้งนี้ แหล่งท่องเที่ยวบริเวณแขวงวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารนั้น มีศักยภาพบางส่วนแล้วแต่หากนำข้อเสนอแนะทั้งหมด 6 ข้อนี้เข้าไปหนุนเสริมจะมีส่วนช่วยอย่างมาก ในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวได้อย่างครอบคลุม โดยจากการลงพื้นที่ครั้งล่าสุดที่ผ่านมาก็พบว่าขณะนี้ได้เริ่มมีการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับคนพิการแล้ว โดยคัดเลือกจากคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีทัศนคติพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม

“นอกจากเส้นทางการท่องเที่ยวแล้ว จะมีการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่นี้ให้มากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมทัศนียภาพและถ่ายรูปเป็นส่วนใหญ่ แต่กิจกรรมอื่นๆ ที่คนพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถเข้าได้ยังมีไม่มากนัก ดังนั้น หากมีกิจกรรมที่มากขึ้นก็จะเป็นส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกช่องทางหนึ่งต่อไป” ผศ.นุชรา กล่าวในท้ายที่สุด

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’ สกู๊ปพิเศษ : กินเที่ยวสุดฟิน@ตะวันออก สัมผัสเสน่ห์การกิน ‘ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี’
  • ผู้ว่าฯกาญจน์ยัน\'สกายวอล์ค\'แข็งแรงทนทานขอให้นักท่องเที่ยวมั่นใจ ผู้ว่าฯกาญจน์ยัน'สกายวอล์ค'แข็งแรงทนทานขอให้นักท่องเที่ยวมั่นใจ
  • แนะข้อปฏิบัติ!!! ‘สจล.’ห่วงแห่ผุด‘สกายวอล์กพื้นกระจก’โปรโมทท่องเที่ยว แนะข้อปฏิบัติ!!! ‘สจล.’ห่วงแห่ผุด‘สกายวอล์กพื้นกระจก’โปรโมทท่องเที่ยว
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved