วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ยิ่งใหญ่อลังการงานประเพณีฮีตสิบสองและงานประจำปีที่อำนาจเจริญ

ยิ่งใหญ่อลังการงานประเพณีฮีตสิบสองและงานประจำปีที่อำนาจเจริญ

วันพฤหัสบดี ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 18.45 น.
Tag : งานประเพณี ท่องเที่ยว อำนาจเจริญ ฮีตสิบสอง
  •  

เมื่อถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ลมหนาวจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พัดเข้าสู่ จังหวัดอำนาจเจริญ ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปหนาวเย็น และเป็นช่วงที่เกษตรกรผู้ทำนาปลูกข้าว เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้วเสร็จ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ จึงได้จัดงานประเพณี ฮีตสิบสองและงานประจำปี จังหวัดอำนาจเจริญ ขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้เกษตรกรผู้ทำนาปลูกข้าวได้พักผ่อนหย่อนใจ มีความบันเทิงรื่นเริงหลังจากตรากตรำทำนามาหลายเดือน และเฉลิมฉลองแสดงความยินดีที่ จ.อำนาจเจริญ จัดตั้งจัดหวัดอำนาจเจริญ ครบ 28 ปี อีกด้วย

สำหรับปีนี้ กำหนดจัดงานประเพณีฮีตสิบสองและงานประจำปี จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2564  ระหว่างวันที่ 1 -10 ธันวาคม 2564 ณ.บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ โดยเฉพาะการจัดงานปีนี้  พิเศษกว่าทุกปี เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด 19) จึงต้องมีการคัดกรอง ผู้มาเที่ยวงาน ต้องได้รับวัคซีน 2 เข็ม หรืออย่างน้อย 1 เข็ม ไม่น้อยกว่า 14 วัน พร้อมทั้งแสดงใบรับรองการฉีดวัคซีน หรือ แสดงใบรับรองการฉีดวัคซีนผ่านระบบแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม กับ เจ้าหน้าที่วัดอุณหภูมิร่างกายรวมถึง พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งมาจำหน่ายสินค้าภายในงาน จะต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือ 1 เข็ม ไม่น้อยกว่า 14 วัน ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด – 19 อย่างเคร่งครัดอีกด้วย


ส่วนกิจกรรมในงานทั้ง 10 วัน ประกอบด้วย วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาจังหวัดอำนาจเจริญ ครบรอบ 28 ปี และจังหวัดอำนาจเจริญเป็นจังหวัดที่ 75 ของประเทศไทย ในช่วงเช้า มีพิธีบวงสรวงบูชาสิ่งศักดิ์ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5  มีการรำบวงสรวงจาก 7 อำเภอ ในช่วงเย็นพิธีเปิดงานประเพณีฮีตสิบสอง เช่น ชุดแสดงออนซอนอีสาน เทิดพระเกียรติ “ น้อมใจภักดี  เทิดองค์ภูมี ดวงใจปวงประชา” คืนวันที่ 2 ธ.ค.64 การประกวดกลองยาว วันที่ 3 ธ.ค.64 การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งท้องที่ 

วันที่ 4 ธ.ค.64 การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งท้องถิ่น วันที่ 5 ธ.ค.64 การแสดงดนตรีของโรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์ วันที่ 6 ธ.ค.64 การเดินแบบผ้าไทย “ สืบสานตำนานผ้าทอ สานต่อศิลป์ ถิ่นอำนาจ” วันที่ 7 ธ.ค.64 การประกวด TO BE NUMBER ONE วันที่ 8 ธ.ค.64 การแสดงมินิคอนเสิร์ต "สืบกล่าวเล่าขานตำนานหมอลำ อำนาจเจริญ “ 

วันที่ 9 ธ.ค.64 การประกวดนางสาวอำนาจเจริญ และวันที่ 10 ธ.ค.64 การแสดงโปงลางและดนตรีสากลของนักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ   รวมถึง  การออกร้าน นิทรรศการให้ความรู้จากส่วนราชการต่างๆ บูธแสดง ประเพณีวัฒนธรรมทั้ง 7 อำเภอ การจำหน่ายสินค้าราคาถูก  การออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP สินค้าจากเอกชน การแสดงของศิลปินนักร้องชื่อดังตลอดการจัดงานและกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย 

เป็นที่ฮือฮา เป็นจุดเด่น สะดุดตา ผู้มาเที่ยวงาน ให้ความสนใจมาก ก็คือ ตามบูธจัดแสดงนิทรรศการทั้ง 7 อำเภอ จะมีสัญลักษณ์ประจำอำเภอตั้งอยู่ เช่น พญานาค 2 ตัว ที่บูธ อ.ลืออำนาจ, ยักษ์คุ ที่ อ.ชานุมาน เป็นต้น  ซึ่งผู้มาเที่ยวงานต่างเดินตรงไปถ่ายภาพ ถ่ายเซลฟี่ กับ สัญญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อเก็บภาพประทับใจ ไว้เป็นที่ระลึกกันทุกคน

สำหรับ  ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน ที่ชาวอีสานได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเคร่งครัด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยมีการเริ่มนับตั้งแต่เดือนอ้าย(เดือนธันวาคม) ซึ่งเป็นเดือนแรกเริ่มงานบุญ  ในแต่ละเดือนจะมีงานบุญ ดังนี้ 

เดือนอ้าย-บุญเข้ากรรม คือ พิธีทำบุญถวายพระภิกษุผู้ต้องอาบัติ  ซึ่งเข้าไปอยู่ในเขตจำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้พ้นจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เชื่อกันว่า เป็นการรำลึกและทดแทนพระคุณมารดา ที่เคยอยู่ไฟหรืออยูกรรมหลังการคลอดบุตร 

เดือนยี่ –บุญคูณลาน(บุญคูณข้าว) เป็นการทำบุญขวัญข้าวที่นวดเสร็จและที่กองไว้บนลานบ้าน และนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น กลางคืนมีมหรสพพื้นบ้าน รุ้งเช้ามีการถวายอาหารบิณทบาตแด่พระสงฆ์ จากนั้นนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมตามกองข้าวและท้องนา โดยเชื่อว่า จะทำให้ข้าวกล้าในปีต่อๆไปงอกงามดี ปราศจากศัตรูมารบกวน เสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้ง 

เดือนสาม –บุญข้าวจี่ นิยมทำกันในกลางเดือนสามหรือปลายเดือนสาม ภายกลังการทำบุญวันมาฆบูชา คำว่า จี่ คือ การปิ้ง วิธีทำข้าวจี่ คือ การนำข้าวเหนี่ยวที่นึ่งสุกแล้ว มาปั้นเป็นก้อน โตเท่าไข่ไก่ ทาเกลือเคล้าให้ทั่วนวดให้เหนียว ทาด้วยไข่ ซึ่งตีไข่ขาวและไข่แดงเข้ากันดีแล้ว นำไปย่างไฟให้สุกอีกครั้ง และเอาน้ำอ้อยปีบใส่เข้าไปด้วย เมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะจัดอาหารคาวหวานและข้าวจี่มารวมกันที่ศาลาวัด นิมนต์พระสงฆ์ให้ศีลแล้วตักบาตรถวายข้าวจี่อาหารคาว เมื่อพระฉันท์เสร็จจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา จากนั้นชาวบ้าจะนำข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันท์มารับประทาน เพราะเชื่อว่า จะได้รับโชค 

เดือนสี่ –บุญพระเวส (บุญมหาชาติ)จัดเป็นงานใหญ่ของชุมชน ก่อนเริ่มงานชาวบ้านจะช่วยกันทำที่พักของผู้มาร่วมงาน ประดับประดาศาลาโรงธรรมที่วัดให้สวยงาม วันแรกเรียกว่า วันโฮม หรือวันรวม ในตอนเช้ามืดจะมีพิธีนิมนต์พระอุปคุตอรหันต์ที่หออุปคุต สร้างไว้บริเวณที่วัดจัดงาน การทำพิธีต้องไปทำที่แม่น้ำหรือลำคลองของท้องถิ่น เพราะเชื่อว่า พระอุปคุตอรหันต์สถิตอยู่ใจกลางแม่น้ำ มหาสมุทร วันที่สองตอนบ่ายมีการแห่เผวส หรือแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง วันที่สามจัดให้มีการเทศมหาชาติ อนึ่งในงานบุญนี้ มักจะมีผู้นำสิ่งของมาถวายพระ เรียก กันฑ์หลอน โดยชาวบ้านจะแห่แหนเรี่ยไรเงินบูชากันฑ์เทศน์ในละแวกหมู่บ้านและไม่เจาะจงจะถวายพระภิกษุใด แต่จะเจาะจงพระภิกษุนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มา เรียกว่า กันฑ์จอบ เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่ใจก่อน 

เดือนห้า –บุญสงกรานต์ นิยมทำกันเช่นเดียวกับภาคกลาง คือวันที่ 13 -15 เมษายน มีการสรงน้ำพระพุทธรูป โดยสร้างหอสรงแล้วอันเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐาน เพื่อทำพิธีสรงน้ำในวันสงกรานต์ 

เดือนหก –บุญบั้งไฟ เป็นการบูชาอารักษ์หลักเมืองและเป็นประเพณีทำบุญขอฝน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เชื่อว่า หากปีใดงดงานบุญบั้งไฟจะทำให้เกิดฝนแล้งและภัยพิบัติต่างๆ 

เดือนเจ็ด- บุญชำฮะ คือ การชำระ เป็นการชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรอันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง จึงมีการบูชา เทวดา อารักษ์ มเหศักดิ์ หลักเมือง หลักบ้าน ผีพ่อแม่ ผีเมือง(บรรพบุรุษ)ตลอดจนผีประจำไร่นา เรียกว่า ผีตาแฮก 

เดือนแปด –บุญเข้าพรรษา ถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนแปด เป็นวันทำบุญเข้าพรรษาชาวบ้านจะจัดอาหารหวานคาว ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะเครื่องสำหรับให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียงน้ำมัน เพราะถือว่า การถวายแสงสว่างแด่พระสงฆ์จะได้อานิสงฆ์แรง ทำให้เกิดปัญญามองเห็นธรรม 

เดือนเก้า –บุญข้าวประดับดิน เป็นงานบุญที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือ เผต และญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมด้วยหมากพลู บุหรี่ ในกระทงใบตองนำไปวางตามต้นไม้หรือตามพื้นดินหรือที่ใดที่หนึ่งบริเวณวัด พร้อมเชิญวิญญาณผู้ล่วงลับมารับอาหารที่อุทิศไปให้ ซึ่งจะทำพิธีในเวลา 4 –6นาฬิกาและในตอนเช้า ชาวบ้านจะนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์สามเณรแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ โดยการกรวดน้ำไปให้ 

10.เดือนสิบ –บุญข้าวสาก เป็นการทำบุญอุทิศให้แก่เปรตหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วครั้งหนึ่ง  โดยมีเวลาห่างกับการทำบุญข้าวประดิบดินสิบห้าวัน ซึ่งเป็นเวลาที่เปรตจะกลับสู่ภูมิของตน 

11. เดือนสิบเอ็ด –บุญออกพรรษา  มีการตักบาตรเทโว  รับศีลฟังเทศน์ ถวายผ้าจำนำพรรษา บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ ในวันนี้พระสงฆ์จะร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ มีมหรสพ และจุดประทีปโคมไฟตามรั้วหรือกำแพงรอบวัดและตามหน้าบ้าน เนื่องจากเป็นฤดูว่างจากการทำนารอการเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงถือโอกาสจัดงาน อาทิ เช่น การถวายต้นผึ้ง หรือปราสาทผึ้ง การล่องเฮือไฟ หรือ ไหลเรือไฟ หรือ แข่งเรือ เป็นต้น 

12. เดือนสิบสอง –บุญกฐิน เป็นการถวายผ้าแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร ซึ่งจำพรรษาแล้ว ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษา ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาจะไปเลือกหาวัดที่จะทำบุญกฐิน เมื่อตกลงแล้วก็จะไปจองไว้ เมื่อถึงวันทอดกฐิน ชาวบ้านจะเตรียมองค์กฐิน ประกอบด้วย ผ้าไตรจีวร อัฐบริขารและเครื่องไทยธรรม สำหรับถวายพระสงฆ์ ก่อนนำกฐินไปทอดถวาย มักจะมีมหรสพสมโภชฉลองกฐิน ทั้งนี้บุญกฐินที่ชาวอีสานได้จัดขึ้น นั้นแปลกไปจากภาคอื่น คือ การแปลงทางกฐิน  ได้แก่ การปรับแต่งถนนหนทางที่ขบวนแห่จะผ่านให้มีความสะอาดเรียบร้อยสามารถเดินทางไปได้โดยสะดวก ซึ่งชาวบ้าน ถือว่า ได้กุศลแรง  - 003

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เที่ยวหน้าฝน-ชมทะเลหมอกยามเช้า ‘น้ำตกตาดปลากั้ง’ ที่บ้านน้ำจวง จ.พิษณุโลก เที่ยวหน้าฝน-ชมทะเลหมอกยามเช้า ‘น้ำตกตาดปลากั้ง’ ที่บ้านน้ำจวง จ.พิษณุโลก
  • อช.เขาพระวิหาร ประกาศปิดท่องเที่ยว \'ผามออีแดง\' ชั่วคราว อช.เขาพระวิหาร ประกาศปิดท่องเที่ยว 'ผามออีแดง' ชั่วคราว
  • ผู้อำนวยการ ททท.ตราดคาดรายได้จากนักท่องเที่ยวหยุด 4 วัน 241.90 ล้าน ผู้อำนวยการ ททท.ตราดคาดรายได้จากนักท่องเที่ยวหยุด 4 วัน 241.90 ล้าน
  • เปิดแล้ว!เทศกาลถ้ำนาคา มหัศจรรย์ภูลังกา บูชาพระสารีริกธาตุ ต้อนรับนักท่องเที่ยวสู่บึงกาฬ เปิดแล้ว!เทศกาลถ้ำนาคา มหัศจรรย์ภูลังกา บูชาพระสารีริกธาตุ ต้อนรับนักท่องเที่ยวสู่บึงกาฬ
  • บีโกเนียบานแล้ว! ภูหินร่องกล้าชวนสัมผัสความงามดอกไม้ป่าหน้าฝน ชุ่มฉ่ำท่ามกลางไอหมอก บีโกเนียบานแล้ว! ภูหินร่องกล้าชวนสัมผัสความงามดอกไม้ป่าหน้าฝน ชุ่มฉ่ำท่ามกลางไอหมอก
  • เปิด 5 อันดับ ‘จังหวัดใต้’โกยรายได้มากสุดช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.68 เปิด 5 อันดับ ‘จังหวัดใต้’โกยรายได้มากสุดช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.68
  •  

Breaking News

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

เรือเฟอร์รีมุ่งหน้า'เกาะบาหลี'ล่ม ดับแล้ว 4 ราย สูญหายอีกเพียบ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved