วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
นักวิชาการ‘มหิดล’คิดค้น  เซ็นเซอร์วัดกลิ่นเพื่อโรงงานสีเขียว

นักวิชาการ‘มหิดล’คิดค้น เซ็นเซอร์วัดกลิ่นเพื่อโรงงานสีเขียว

วันอาทิตย์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : มหิดล โรงงานสีเขียว เซ็นเซอร์วัดกลิ่น
  •  

ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ (ซ้าย)

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับ “กลิ่น” ได้มีความก้าวหน้าไปจนถึงระดับที่สามารถวัดค่าและส่งต่อได้ในระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเคมีอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการตรวจสอบใดๆ ที่ต้องใช้กลิ่นเป็นโจทย์สำคัญ เช่น โรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้เขตชุมชน ที่ผ่านมาพบปัญหามลพิษทางอากาศ จากกระบวนการผลิตซึ่งส่งกลิ่นที่เป็นอันตราย หรือรบกวนคนในชุมชน จนต้องมีการคิดค้นและพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดกลิ่นขึ้นเพื่อการตรวจสอบที่แม่นยำและชัดเจนยิ่งขึ้น

ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ภาควิชาฟิสิกส์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง “แพลตฟอร์มเซ็นเซอร์ตรวจวัดกลิ่นแบบ ioT สำหรับโรงงานสีเขียว และสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ”ได้กล่าวถึงมาตรฐานของโรงงานสีเขียวว่า


จะต้องมีการบริหารจัดการการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องไม่ส่งกลิ่นที่เป็นอันตราย หรือรบกวนคนในชุมชนที่ผ่านมาได้มีวิธีตรวจวัดกลิ่นด้วยการสูดดมโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้ผลการตรวจสอบที่อาจกลายเป็นข้อโต้แย้งได้ เนื่องจากผลที่ได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลซึ่งไม่สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลขเทียบวัดได้อย่างแม่นยำและชัดเจน จึงได้คิดค้นและพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดกลิ่นแบบ ioT ซึ่งสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข และสามารถส่งผลไปยังอุปกรณ์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อได้ทันที

อย่างเช่นกรณีปัญหาจากฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ที่ชาวบ้านในชุมชนร้องเรียนว่าส่งกลิ่นเหม็น แต่เมื่อส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญไปประเมินกลับได้ผลสรุปออกมาว่ายังไม่ส่งกลิ่นถึงระดับที่รบกวนชุมชน ด้วยเซ็นเซอร์ที่คิดค้นขึ้นนี้ นอกจากจะสามารถวัดออกมาได้เป็นตัวเลขว่าส่งกลิ่นเหม็นในระดับใดมีความเร็วของกลิ่นมากน้อยเพียงใดแล้ว ยังจะสามารถระบุได้เลยทันทีว่าที่มาของกลิ่นอยู่ที่ใดและสภาพอากาศในตอนนั้นเป็นอย่างไร

“ที่ผ่านมาได้มีการทดลองแล้วโดยใช้กับโรงงานกระดาษแห่งหนึ่งในจังหวัดชานเมืองพบว่าได้ผลดี แม้การวัดกลิ่นด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่ถูกรับรองผลโดยกฎหมายสิ่งแวดล้อมไทย แต่ต่อไปจะได้มีการผลักดันสู่ระดับนโยบายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไป ซึ่งหากได้รับการพัฒนาจนสามารถใช้ได้จริง จะช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้อย่างมหาศาล อีกทั้งเป็นนวัตกรรมที่ผลิตโดยคนไทยเพื่อโรงงานสีเขียวของไทยครั้งแรก จึงใช้งานได้ง่ายและตอบโจทยมากกว่า” ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ กล่าว

ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ ยังได้รับการอ้างอิงเป็นร้อยละ 2 ของนักวิทยาศาสตร์โลกจากการจัดอันดับโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี 2564 (World’s Top2% Scientists by Standford University 2021) โดยผู้วิจัยมองตัวเองว่าเป็น “นักเทคโนโลยี” ซึ่งมองไปที่ผลของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยมากกว่าจะเป็นนักวิชาการที่ทำวิจัยเฉพาะเรื่องที่ตัวเองสนใจ

นอกจากจะมีเครือข่ายซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้ใช้จริงแล้ว ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ ยังได้ต่อยอดให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ และยังได้ส่งเสริมสตาร์ทอัพสู่การเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติได้ต่อไป!!!

มหาวิทยาลัยมหิดล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สุดทึ่ง! สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ม.มหิดล ค้นพบคุณค่าเปปไทด์จากโปรตีนแมลงจิ้งหรีด สุดทึ่ง! สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ม.มหิดล ค้นพบคุณค่าเปปไทด์จากโปรตีนแมลงจิ้งหรีด
  • ฝุ่นจากการเผาป่าเกิดจากไหน? แก้ยังไง? \'รศ.ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ\' ม.มหิดลวิทยาเขตกาญจน์มีคำตอบ? ฝุ่นจากการเผาป่าเกิดจากไหน? แก้ยังไง? 'รศ.ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ' ม.มหิดลวิทยาเขตกาญจน์มีคำตอบ?
  • เผยผลการวิจัยค้นพบกลไกการปรับปรุงการปลูกข้าวภายใต้สภาวะภัยแล้ง เผยผลการวิจัยค้นพบกลไกการปรับปรุงการปลูกข้าวภายใต้สภาวะภัยแล้ง
  • อาจารย์ ม.มหิดล แนะแนวทางจัดการพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษกรณีศึกษาปัญหาลำห้วยคลิตี้ อาจารย์ ม.มหิดล แนะแนวทางจัดการพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษกรณีศึกษาปัญหาลำห้วยคลิตี้
  •  

Breaking News

‘บิ๊กป้อม’เดินเซชนราวบันไดวัดโพธิ์ได้รับบาดเจ็บ ตรวจเบื้องต้นไม่รุนแรง

‘ประเสริฐ’เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ เปิด‘ประชุมประชาคมไซเบอร์แห่งชาติ’

'สำนักเลขาพระสังฆราช'แถลงปมเพจแพร่ข้อมูลเท็จ แอบอ้าง'พระดำรัส'

ฟังเสียงเสนอแนะ! 'นายกฯ'ชี้เศรษฐกิจโลกผันผวน ต้องทบทวนแผนกระตุ้นศก.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved