วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ปลูกไมโครกรีน-ต้นผักอ่อน รักษาใจ 'คนเมือง'

ปลูกไมโครกรีน-ต้นผักอ่อน รักษาใจ 'คนเมือง'

วันศุกร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565, 10.06 น.
Tag : เกษตรคนเมือง เกษตรในเมือง เกษตรอินทรีย์ ต้นผักอ่อน ปลูกไมโครกรีน
  •  

คนเมืองเริ่มหันมาเรียนรู้และทำเกษตรคนเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิด-19 ระบาด มีหลายคนพลิกวิกฤตเป็นโอกาส โดยใช้ช่วงจังหวะนั้น เรียนรู้การทำเกษตร และ นำมาสู่เส้นทางการเป็นวิทยากรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรคนเมือง รวมไปถึงการปลูกผักในรูปแบบ “ต้นผักอ่อน” หรือ ไมโครกรีน ซึ่งมีราคาสูงป้อนตลาดในกลุ่มร้านอาหารและโรงแรม   

นางสาวเพ็ญจุรี วีระธนาบุตร หรือ เพ็ญ วัยเพียง 35 ปี บัณฑิตจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำ และ มาลุยทำเกษตรคนเมือง ได้ 3-4 ปี ด้วยการชูจุดแข็งการปลูกผัก “ไมโครกรีน” หรือ การปลูกต้นผักอ่อนของพืช อาทิ โขมแดง (Red Amaranth),บรอกโคลี (Broccoli), กะหล่ำม่วง(Purple Cauliflower), ร๊อกเก็ต หรือ อารูกูล่า (Arugula)  และ มัสตาร์ด(Mustard) เป็นต้น 


“ก่อนหน้านี้ เพ็ญทำงานประจำที่ สสส. ด้านการพัฒนาจิตใจ หลังจากนั้นก็ลาออก ซึ่งมาเจอช่วงโควิด-19 ก็ตัดสินใจไปเป็นอาสาสมัครที่ชุมชนนิเวศสันติวนา ถ.สรงประภา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเริ่มตั้งแต่การหมักปุ๋ย และ ทำแปลงปลูกผักเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งได้ฟังการบรรยายของอาจารย์คมสัน หุตะแพทย์  ผู้อำนวยการ มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา (Media Center for Development Foundation : MCDF) ซึ่งจุดประกายในการปลูกผักไมโครกรีน” นางสาวเพ็ญจุรีเล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเอง 

นางสาวเพ็ญจุรีเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า มีการปรับวิธีการปลูกผักไมโครกรีน จากเดิมที่เน้นปลูกในน้ำแบบไฮโดรโปนิกส์ ก็หันมาใช้มูลไส้เดือนในการปลูกผักไมโครกรีน ซึ่งอาจจะทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น แต่ทำให้ได้ผลผลิตที่เป็นเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง 

“การปลูกผักไมโครกรีนเหมือนผักเด็ก ซึ่งจะต้องดูแลเป็นพิเศษ โดนแดดมากก็ไม่ได้ และ โดนฝนมากก็ไม่ได้ ทำให้ทุกวันนี้เพ็ญนำผักมาปลูกในห้องที่มีอุณหภูมิตามสภาพห้อง และ ผลผลิตส่วนใหญ่ตอนนี้ปลูกเพื่อส่งให้เชฟตามร้านอาหาร และ โรงแรม ซึ่งทางผู้ซื้อจะเข้าใจว่า ผักไมโครกรีนนั้นมีราคาสูง เพราะใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนมาก และ วิธีการปลูกต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ” นางสาวเพ็ญจุรีเล่าให้ฟังถึงวิธีการดูแลผักไมโครกรีนที่ทำให้มีราคาสูงกว่าผักทั่วไป 

ด้วยความที่เธอผ่านงานกับ สสส. ด้านการพัฒนาจิตใจ เธอจึงมีเป้าหมายว่า การปลูกผักไมโครกรีนสามารถเยียวยาจิตใจให้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า , โรคมะเร็ง และ ผู้ป่วยในโรคเรื้อรังอื่นๆ เพราะผักไมโครกรีนนั้นจะโตได้เร็ว เช่น ปลูกตอนเช้า วันรุ่งขึ้นก็เห็นการเติบโต และช่วงบ่ายก็เห็นการเติบโตอีก ในขณะเดียวกัน ถ้าปลูกไม่ขึ้นก็ให้ใช้การปลูกผักไมโครกรีนเป็นการเรียนรู้ โดยมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการปลูกผัก ต้องยอมรับความเป็นจริง และ ไม่ยอมแพ้กับการปลูกผัก 

“คือคนเมืองส่วนใหญ่เราเติบโตมากับการศึกษาที่ถูกกดดันให้ต้องทำให้ได้ และ การแข่งขันตลอดเวลา เพราะฉะนั้นบางคนพอปลูกผักไม่ขึ้น ก็ไม่ปลูกอีก เพราะคาดหวังไว้สูง ดังนั้นการมาปลูกผักไมโครกรีน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อยู่กับตัวเอง และ เกิดการยอมรับความเป็นจริง ซึ่งจะเยียวยาด้านจิตใจได้ เพ็ญมองอย่างนั้น เพราะในต่างประเทศ อย่างเช่นที่สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ จะมีพื้นที่สำหรับการทำเกษตรให้คนในเมือง ซึ่งเรียกว่า สวนบำบัด โดยเพ็ญก็มองว่า อนาคตหากมีโอกาสก็จะทำสวนบำบัด แต่ว่าจะไปทำที่สวนของครอบครัว ที่มีอยู่ 3-4 ไร่ ในจังหวัดเพชรบุรี” นางสาวเพ็ญจุรีเล่าให้ฟังถึงอนาคตการขยายการทำเกษตรคนเมือง ต่อยอดในการทำสวนบำบัดแบบต่างประเทศ บนพื้นที่เกษตรในต่างจังหวัด 

นางสาวเพ็ญจุรีทิ้งท้ายว่า อนาคตเกษตรคนเมืองยังไปได้อีกไกล ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของแต่ละคน ที่สำคัญหากปลูกแล้วไม่ขึ้น ก็ขอให้ปลูกซ้ำ เพราะจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ และ สร้างกำลังใจให้กับตัวเองได้ด้วยการทำเกษตรในเมือง

ปัจจุบันนางสาวเพ็ญจุรียังเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับคนที่สนใจทำเกษตรในเมือง โดยเฉพาะการปลูกต้นผักอ่อน หรือ ไมโครกรีน เรียกได้ว่า ใครที่สนใจความรู้ในแบบฉบับที่พิเศษและได้ผลผลิตที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ สามารถติดตามรายละเอียดการฝึกอบรมของเธอได้ ที่ "Ground & Grow" Instagram :-  :- https://www.instagram.com/ground.and.grow/?fbclid=IwAR1YNg7eJfgp0Kx8VET7qW454ZMMgy04GpOM7A3YCdRzGSqLGBQnN3Kkj5g และ facebook :- https://www.facebook.com/groundandgrow

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ผู้ว่าฯราชบุรีเปิดจวนนำปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ทุกครัวเรือน ผู้ว่าฯราชบุรีเปิดจวนนำปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ทุกครัวเรือน
  •  

Breaking News

บุกทลายร้านชำกระทุ่มแบน! พบปืนเถื่อน บุหรี่ไฟฟ้า น้ำท่อม ยาแก้ไอ วงพนันครบครัน

พลังบวกเชิงลบ!! 'ปกรณ์วุฒิ'ต้อนรับ'ภท.' บอกทำงานสบายๆ เพราะไม่ได้อยู่กันด้วยความสมัครใจ

แฟนคลับช็อก! 'อีซอยี'นักแสดงเกาหลีเสียชีวิตด้วยวัย 43 ปี

ย้อนถาม'ใครขายชาติ' 'ภูมิธรรม'มั่นใจ'อิ๊งค์'รอด​ ปมคลิปเสียง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved