วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
แนวโน้ม 'เกษตรคนเมือง' ปี 2566 นวัตกรรมนำทาง ต่อยอดแปรรูปสินค้าเกษตร

แนวโน้ม 'เกษตรคนเมือง' ปี 2566 นวัตกรรมนำทาง ต่อยอดแปรรูปสินค้าเกษตร

วันศุกร์ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565, 17.22 น.
Tag : เกษตรคนเมือง เกษตรในเมือง เกษตรอินทรีย์
  •  

การทำเกษตรของคนเมืองจะเป็นอย่างไรในปี 2566 นั้น สามารถพยากรณ์หรือคาดการณ์ได้ โดยอาศัยการศึกษาและเรียนรู้ในรายละเอียดของผู้ที่มาร่วมงานในงานมหกรรม “Sustainability Expo 2022” (SX 2022) ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทิ้งทวนไตรมาส 4 ของปี 2565 เพราะนับเป็นงานแสดงสินค้าที่มีพลังดึงภาคเอกชนและภาคราชการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ มาร่วมงาน รวมถึงการดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม ทั้งในมิติของเด็กเล็กอายุ 2-4 ขวบ, กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนที่สนใจ

หนึ่งในกลุ่มนักเรียนที่มาร่วมงานนี้คือ นักเรียนในชมรมทำมาค้าขาย โรงเรียนบ้านหนองไหล (พุธเพิ่มวัฒนราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งนำผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนและอาจารย์ร่วมกันคิดค้นขึ้นมาเอง โดยใช้ชื่อว่า “ชาเยื่อฟักข้าว…อีหล่าน้อย” และ การร่วมงานมหกรรมครั้งนี้ เด็กๆมาด้วยกัน 8 คน พร้อมอาจารย์ผู้ดูแลและควบคุมการผลิตใบชาเยื่อฟักข้าว โดยมี บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  เป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายทั้งค่าเดินทาง ที่พัก และ ค่าอาหาร  


อาจารย์สมนึก มานะพิมพ์ ครูชำนาญการพิเศษ ด้านสังคม ศาสนา และ วัฒนธรรม รวมถึงเป็นอาจารย์ประจำวิชาภาคภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านหนองไหลฯ (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1) และ เป็นผู้ดูแลควบคุมการผลิตใบชาเยื่อฟักข้าวเล่าให้ฟังว่า นักเรียนและอาจารย์ร่วมกันคิดค้นขึ้นมาโดยแนวคิดว่า ลูกฟักข้าวมีการใช้ประโยชน์หลากหลาย แต่ยังไม่มีใครนำส่วนของ “เยื่อฟักข้าว” มาใช้ประโยชน์ จึงเริ่มทดลองนำเฉพาะเยื่อมาตากแดด และ ทำใบชา ซึ่งก็ได้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าพอใจ 

“เราเอาใบของใบฟักข้าวมาทำชา และ ทานน้ำฟักข้าว แต่เราก็มาคิดว่า ถ้าเยื่อของใบฟักข้าวมาทาน จะไม่อร่อย จะทำยังไงให้ทานเยื่อฟักข้าวได้ และ ดินที่เราปลูกฟักข้าวมาจากดินอินทรีย์ จึงพยายามคิดและนำเยื่อฟักข้าวมาทดลองตากแดด และ อบแห้ง เพื่อทำชา ก็ได้ผลดี” อาจารย์สมนึกเล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเอง 

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ชาเยื่อฟักข้าวของโรงเรียนบ้านหนองไหล มีทั้งหมด 3 กลิ่น ได้แก่ กลิ่นใบฟักข้าว, กลิ่นขิง และ กลิ่นตะไคร้ โดยใช้ชื่อเพจเฟสบุ๊คว่า “เพจอิหล่า…มักฟักข้าว” ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เข้าสนับสนุนการเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต โดยมีอาจารย์กิตติพร สุพรรณผิว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีลงพื้นที่สอนเด็กๆให้เรียนรู้การใช้ตู้อบลมร้อน

เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีการผลิตแปรรูปสินค้าเกษตรยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และ เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า ปัจจุบันเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไป มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยนำผลิตผลทางการเกษตรในท้องถิ่นมาพัฒนา ผสมผสานกับงานด้านการวิจัย และ การตลาด ได้อย่างลงตัว 

นอกจากนี้ ภายในงานยังแสดงให้เห็นว่า “นวัตกรรม” ของเกษตรกรรมยังมีโอกาสโตได้อีกในไทย โดยเฉพาะเรื่องการนำแสงจากแอลอีดีมาใช้กับการทำเกษตรในเมือง หรือ ที่เรียกว่า การทำเกษตรระบบปิด 

นางสาวอรุณโรจน์ คนธรรพ์สกุล ผู้จัดการ ฝ่ายขาย บริษัทซีวิค อะโกรว์เทค (Civic Agrotech) โดยมีนวัตกรรมแสงแอลอีดี (นวัตกรรมปลูกพืชด้วยแสงประดิษฐ์) เพื่อใช้ในการเกษตรสำหรับคนเมืองมาแสดง ให้สัมภาษณ์กับ “แนวหน้า ออนไลน์” ว่า อนาคตการนำแสงแอลอีดีมาใช้กับการเกษตร ก็อาจเชื่อมโยงและต่อยอดด้วยการนำแสงโซล่าร์เซลล์มาใช้ ซึ่งปัจจุบันการทำเกษตรในไทยเริ่มตอบรับกับการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตรมากขึ้น 

“การนำแสงแอลอีดีมาใช้กับการเกษตร ญี่ปุ่นทำรายแรกของโลก และ ในส่วนของบริษัทเราเชี่ยวชาญด้านแอลอีดี จึงเริ่มรุกตลาดแอลอีดีกับการเกษตรมาได้ 4 ปี แต่ช่วงแรกๆ คนยังไม่รู้ว่าทำอะไร ส่วนตอนนี้ก็ทำกันเยอะขึ้น โดยเรียกว่าการทำเกษตรระบบปิด โดยบริษัทมีบริการครบวงจร มีทั้งวิศวกรที่ใช้จินตนาการ มีคนเขียนโปรแกรมเอง และมีคนออกแบบระบบเองในบริษัท” นางสาวอรุณโรจน์ เล่าให้ฟัง 

นางสาวอรุณโรจน์บอกด้วยว่า แอลอีดีกับการเกษตรในไทยยังไปได้ไกลมากขึ้น เพราะคนเริ่มรู้ว่า สามารถนำแสงแอลอีดีมาทำการเกษตรได้ โดยไม่ต้องรอฟ้ารอฝน เพราะตอนนี้ฝนเริ่มมา พายุมา ก็ใช้วิธีปลูกผักในคอนเทนเนอร์ ในตึก และ อาศัยแสงไฟแอลอีดีก็สามารถทำการเกษตรได้แล้ว โดยเป็นลักษณะสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในเมือง 

เพราะฉะนั้น เหลืออีกเพียงไตรมาสเดียวก็จะถึงปี 2566 ทิศทางเกษตรคนเมืองในไทยจึงพยากรณ์ได้ว่าจะมีแนวโน้มตอบโจทย์เรื่องเทคโนโลยี ทั้งในแง่ของคนทำเกษตร และ ผู้บริโภค ที่จะต้องมีคำว่า “เทคโนโลยี” มาเป็นจุดเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาการทำเกษตรทั้งระบบ โดยเฉพาะการทำเกษตรในเมืองซึ่งจะต้องมีการต่อยอดการนำเทคโนโลยีทุกรูปแบบมาใช้กับการทำเกษตรท่ามกลางสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมไปถึงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพราะถ้าลำพังเพียงปลูกผักสดเพื่อจำหน่าย เมื่อถึงปีหน้าอาจถึงคำว่า ใครๆก็ปลูก ใครๆก็ทำ ซึ่งจะทำให้สินค้าไม่ได้ราคาตามต้องการ 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ผู้ว่าฯราชบุรีเปิดจวนนำปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ทุกครัวเรือน ผู้ว่าฯราชบุรีเปิดจวนนำปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ทุกครัวเรือน
  •  

Breaking News

รีไทร์เบอร์20: ลิเวอร์พูลอุทิศให้ โชต้า ผู้ล่วงลับ

ยึดประโยชน์ประเทศ! 'ธนกร'ขอทุกฝ่ายทำหน้าที่สภาสร้างสรรค์

‘ภูมิธรรม’นำ 2 รมช.มหาดไทย เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช หลังเข้ารับตำแหน่ง

'เจิมศักดิ์' เตือน! 'อิ๊งค์'นั่งรมว.วัฒนธรรม หลังถูกพักนายกฯ เสี่ยงผิดซ้ำ-ข้อมูลลับรั่วไหล ยากแก้ไข

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved