วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
'เกษตรคนเมือง' จะขจัดความยากจนได้อย่างไร?

'เกษตรคนเมือง' จะขจัดความยากจนได้อย่างไร?

วันพฤหัสบดี ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 19.15 น.
Tag : เกษตรคนเมือง เกษตรในเมือง เกษตรอินทรีย์ คนเมือง เศรษฐกิจพอเพียง
  •  

เมื่อกระแส “เกษตรคนเมือง” ที่มากับความยั่งยืนทั่วโลก เกษตรคนเมืองจะเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้า “ขจัดความยากจน” ในทุกองคพยพของประเทศได้อย่างไร เรานำเสนอรายงานพิเศษ ชุด “เกษตรคนเมืองขจัดความยากจน” (Urban Agriculture to eradicating poverty) ตอนที่ 3 หัวข้อ “เกษตรคนเมือง” จะขจัดความยากจนได้อย่างไร? 

ในประเทศสิงคโปร์มีเป้าหมายส่งเสริมให้คนสิงคโปร์ทำเกษตรคนเมือง เพราะด้วยเนื้อที่จำกัด และ เป็นวิธีการการสร้างแหล่งอาหารใหม่ที่มั่นคง พึ่งพาตนเองได้ในโลกแห่งปัจจุบันและอนาคต โดยสิงคโปร์นั้นเริ่มวางรากฐาน “เกษตรคนเมือง” มาตั้งแต่ปี 2559 และ ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพที่เป็น “เกษตรคนเมือง” ระดับแนวหน้า และ เป็นแรงบันดาลใจส่งต่อการทำเกษตรในเมืองที่สิงคโปร์ นั่นคือ “เอดิเบิล การ์เด้นท์ ซิตี้” (https://www.ediblegardencity.com/)


“บีจอรน์ โลว์” (Bjorn Low) เป็นฟาวเดอร์ (Founder) ซึ่ง “เอดิเบิล การเด้นท์ ซิตี้” นั้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หรือ ใน ค.ศ. 2022 ด้วยการเนรมิตสวนกลางกรุงให้กับกลุ่มธุรกิจโรงแรม , ร้านอาหาร , โรงเรียน,กลุ่มธุรกิจห้างร้านบริษัท, โรงพยาบาล, บนดาดฟ้า เช่น บน Capitaspring  และ พื้นที่ในควีนส์ทาวน์ (Queenstown) และ สวนสาธารณะซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆในสิงคโปร์ รวมไปถึงเป็นศูนย์รวมกระจายอาหารกรีนไปยังเครือข่าย และเผยแพร่ความรู้ด้านการปลูกพืชไมโครกรีน และนวัตกรรมอาหารกรีนให้คนเมือง และ ปัจจุบัน “เอดิเบิล การ์เด้นท์ ซิตี้” ขยายธุรกิจมายังโมเดล “ฟาร์มคนเมืองอย่างยั่งยืน” (A sustainable urban farming model)

จะเห็นว่า สิงคโปร์มีการต่อยอด “เกษตรคนเมือง” อย่างเป็นระบบ โดยเน้นพื้นที่การปลูกแบบแนวตั้ง และ ประกอบกับสิงคโปร์มีข้อจำกัดเรื่อง “น้ำ” การทำเกษตรภายใต้ข้อจำกัดเรื่องน้ำ จึงต้องอาศัยทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติ และ บวกกับการใช้นวัตกรรมการเกษตร เช่น การใช้แอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการคำนวนค่าของสภาพอากาศโดยใช้เทคโนโลยี 

เว็บไซต์ environnet.in.th ระบุว่า การทำการเกษตรในพื้นที่เมืองและรอบๆ เขตพื้นที่เมือง เป็นการผสมผสานขอบเขตของเศรษฐกิจเมืองเข้ากับระบบนิเวศ และพัฒนาเมืองต่างๆ ให้เป็นเมืองที่มีความยั่งยืนและมีศักยภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถออกแบบการเกษตรในเมืองเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นระดับจุลภาคหรือมหภาค 

ในบทความนี้มีการวิเคราะห์ข้อจำกัดและโอกาสด้านกฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรในเมือง ในการจัดการกับความขาดแคลนทรัพยากร ความกดดันทางประชากรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเมืองนั้นๆ จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี นอกจากนี้โครงสร้างด้านความรู้และโครงสร้างสถาบันก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับโอกาส การทำการเกษตรในพื้นที่เมืองและรอบๆ เขตพื้นที่เมือง (UPA) สามารถให้ประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ โดยจะสามารถมองเห็นมิติทางสังคมจากการทำเกษตรวิธีนี้ได้ในรูปแบบความมั่นคงด้านอาหารและการเข้าถึงอาหาร อาหารและสุขภาพ ความอยู่ดีมีสุขของบุคคล 

วัตถุประสงค์ด้านสุขภาพร่างกายและสมรรถภาพทางกาย ความรู้สึกพิเศษต่อสถานที่ สุนทรียศาสตร์ การกระทำระหว่างกันทางสังคมและการสร้างชุมชน ทักษะส่วนบุคคล การวางแผนชุมชนเมือง การจ้างงานและรายได้ และความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ส่วนมิติทางเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจ้างงานและรายได้ในการทำเกษตรในเมือง (ผลประโยชน์ส่วนรวมต่อสังคม) การกระจายธุรกิจเชิงอุตสาหกรรมโดยมีฐานการผลิตในเมือง และการขนส่งพลังงานในรูปแบบระยะทางอาหาร และมิติทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรีไซเคิลขยะ ความร้อนและคุณภาพอากาศในพื้นที่เมือง การกักเก็บคาร์บอน การรีไซเคิลน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่และสุขภาพ โรคมาลาเรีย เสียงรบกวน กลิ่นรบกวน แสงและยาฆ่าแมลง

ปัจจุบันในกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล เริ่มเห็นพื้นที่การทำ “เกษตรคนเมือง” มีให้เห็น แต่ว่าก็ยังมีการทำเกษตรคนเมืองในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับการกระตุ้นให้มีการทำเกษตรในเมืองของต่างประเทศ ด้วยข้อจำกัด อาทิ ถึงแม้คนเมืองจะมีเงินทุน แต่การเข้าถึงแหล่งข้อมูลการทำเกษตรคนเมืองในไทยยังมีข้อจำกัด การใช้เวลาในการเรียนรู้การทำเกษตรจากตัวอย่าง หรือ ต้นแบบ รวมไปถึงการให้การสนับสนุนจากภาครัฐในวงกว้าง และ ครอบคลุม 

ในห้วงเวลาที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้รวบรวม “เกษตรนวัตกรรมใหม่” ใน 7 สาขาการเกษตรที่จะต่อยอดให้กับภาคเกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน ดังนี้ 1.เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 2.บริการทางธุรกิจการเกษตร 3.เกษตรดิจิทัล 4.เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ และ ระบบอัตโนมัติ 5.การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ 6.การจัดการหลังเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และ 7.ธุรกิจไบโอรีไฟนารี 

สำหรับความเป็น “เกษตรคนเมือง” ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เมืองทั่วประเทศ และ ปริมณฑล สามารถนำ 7 อาชีพ

เหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับการทำเกษตรในเมือง โดยปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้กับการทำเกษตรในเมืองจนสามารถปลดหนี้สินส่วนตัวได้จำนวนมาก นับว่าเป็นอีกรูปแบบที่ขจัดความยากจนให้ค่อยๆหมดไป และ เกิดความอย่างยั่งยืนทางการเงินของครอบครัว

ทั้งนี้ การขจัดความยากจนโดยใช้ “เกษตรคนเมือง” เป็นหัวหอก เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ ภาคเอกชนและภาครัฐ จะต้องร่วมกันสนับสนุนทั้งงบประมาณสนับสนุนในวงกว้าง โดยมิได้จำกัดอยู่แค่เพียงคนรู้จัก หรือ กลุ่มที่เป็นพวกตนเองเองเท่านั้น เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ “เกษตรคนเมือง” ถูกตีกรอบอยู่แค่เพียงคนวงใน ไม่สามารถขยายไปสู่ฐานของประชาชนได้อย่างแท้จริง โอกาสที่จะร่วมกันเดินหน้าขจัดความยากจนจึงขาดพลังอันมาจากฐานของประชาชนในวงกว้างนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูล:- 
http://www.environnet.in.th/archives/1416
https://www.salika.co/2020/12/26/7-smart-agricultural-for-new-gen-post-covid/

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ขุดอดีตโน้ส-อุดม’ ไม่ใช่ครั้งแรก...‘ล่อเป้า-ก่อดราม่า’ ขุดอดีตโน้ส-อุดม’ ไม่ใช่ครั้งแรก...‘ล่อเป้า-ก่อดราม่า’
  • ผู้ว่าฯราชบุรีเปิดจวนนำปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ทุกครัวเรือน ผู้ว่าฯราชบุรีเปิดจวนนำปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ทุกครัวเรือน
  •  

Breaking News

'เท็กซัส'วิกฤต! ยอดดับน้ำท่วมพุ่ง 43 ศพ เจ้าหน้าที่เร่งค้นหาผู้สูญหาย

’ในหลวง’ ทรงมีพระราชสาส์นอำนวยพร ในโอกาสวันเอกราชของสหภาพคอโมโรส

‘ภูมิธรรม’เซ็นแบ่งงานใหม่ ‘รักษาการนายกฯ’คุม‘กลาโหม-มหาดไทย-ตำรวจ-ยุติธรรม’

เปิดด่านข้ามแดน! ส่ง'อดีตรองเสนาธิการกัมพูชา' กลับไปพักฟื้นที่บ้าน จ.พระตะบอง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved