วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เปิดภาพ'ดาวหางนิชิมูระ'เหนือท้องฟ้าเชียงใหม่ มีลุ้น 17 กันยายน สว่างมากขึ้น!

เปิดภาพ'ดาวหางนิชิมูระ'เหนือท้องฟ้าเชียงใหม่ มีลุ้น 17 กันยายน สว่างมากขึ้น!

วันเสาร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566, 07.57 น.
Tag : ดาว ดาวหาง ดาวหางนิชิมูระ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
  •  

วันที่ 16 กันยายน 2566 เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า เมื่อช่วงนี้มีดาวหางมาเยือนโลก และทั่วโลกต่างจับตา “ดาวหางนิชิมูระ” (C/2023 P1 Nishimura) กันอยู่ไม่น้อย สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วงมรสุม มีฝนตกหนัก จึงสังเกตได้ค่อนข้างยาก ทั้งชมด้วยตาเปล่า และถ่ายภาพ แต่ NARIT ก็มีโอกาสเก็บภาพดาวหางมาฝากกัน

ภาพนี้บันทึกในช่วงเช้ามืดวันที่ 4 กันยายน 2566 บริเวณอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เวลาประมาณ 05:26 น. ใช้เวลาถ่ายรวม 8 นาที วันดังกล่าวดาวหางนิชิมูระปรากฏทางทิศตะวันออก อยู่บริเวณกลุ่มดาวปู (Cancer) และอยู่ใกล้กับดาวศุกร์ เนื่องจากสภาพท้องฟ้ามีเมฆค่อนข้างมาก การบันทึกภาพจึงเริ่มจากหาดาวหางด้วยแอปพลิเคชันดูดาว ใช้กล้องมือถือถ่ายภาพท้องฟ้าบริเวณทิศตะวันออก แล้วซูมหาตำแหน่งของดาวหาง จากนั้นจึงหันกล้องไปยังตำแหน่งดาวหาง พร้อมกับเริ่มถ่ายภาพดาวหางโดยละเอียด สุดท้ายนำมาประมวลด้วยโปรแกรม


สำหรับผู้สนใจถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ ขณะนี้ดาวหางกำลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ในวันที่ 17 กันยายน 2566 ที่ระยะห่าง 34 ล้านกิโลเมตร (ใกล้กว่าวงโคจรของดาวพุธประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์) คาดการณ์ว่าจะมีความสว่างมากขึ้น และอาจมีค่าความสว่างปรากฏมากถึง 3.0 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2566 เป็นต้นไป ดาวหางจะปรากฏในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก ปรากฏอยู่บริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) ตำแหน่งของดาวหางขณะนี้จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นมุมประมาณ 10 องศา จึงมีเวลาสังเกตเกือบ 1 ชั่วโมงก่อนที่จะตกลับขอบฟ้าตามดวงอาทิตย์ไป

ดาวหางนิชิมูระ หรือ C/2023 P1 Nishimura ได้รับการยืนยันการค้นพบเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 เป็นดาวหางคาบยาว มีแหล่งที่มาจากเมฆออร์ต (Oort Cloud) มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 437 ปี หลังจากโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 17 กันยายน 2566 ดาวหางจะค่อย ๆ โคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์ และมีความสว่างลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้อีก และจะโคจรกลับเข้ามาเฉียดโลกและดวงอาทิตย์อีกครั้งในอีกกว่า 400 ปีข้างหน้า

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คืนนี้ห้ามพลาด! ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนรูป\'พระจันทร์ยิ้ม\' ชมความสวยงามได้จนถึงเวลา23.00น. คืนนี้ห้ามพลาด! ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนรูป'พระจันทร์ยิ้ม' ชมความสวยงามได้จนถึงเวลา23.00น.
  • ครั้งสุดท้ายในรอบปี! อย่าพลาดชม\'ดาวศุกร์สว่างที่สุด\' มองเห็นด้วยตาเปล่าวันที่ 24 เม.ย. ครั้งสุดท้ายในรอบปี! อย่าพลาดชม'ดาวศุกร์สว่างที่สุด' มองเห็นด้วยตาเปล่าวันที่ 24 เม.ย.
  • รอชมความสวยงาม! ปรากฏการณ์\'ดาวศุกร์สว่างที่สุด\'ครั้งแรกของปี มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รอชมความสวยงาม! ปรากฏการณ์'ดาวศุกร์สว่างที่สุด'ครั้งแรกของปี มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • NARITสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพถ่าย\'ดาวเสาร์\'ใกล้โลกที่สุดในรอบปี NARITสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพถ่าย'ดาวเสาร์'ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
  • อย่าพลาดชม \'ดาวหาง 12P/Pons-Brooks\' พรุ่งนี้ก่อน 2 ทุ่ม จะกลับมาอีกครั้ง 71 ปี ข้างหน้า อย่าพลาดชม 'ดาวหาง 12P/Pons-Brooks' พรุ่งนี้ก่อน 2 ทุ่ม จะกลับมาอีกครั้ง 71 ปี ข้างหน้า
  • ห้ามพลาด!  24 ก.พ. อย่าลืมชมปรากฏการณ์\'ไมโครฟูลมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ห้ามพลาด! 24 ก.พ. อย่าลืมชมปรากฏการณ์'ไมโครฟูลมูน' ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี
  •  

Breaking News

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved