วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
กางข้อกฎหมายความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำซึ่งเป็น‘เด็ก’ ปมกราดยิงที่พารากอน

กางข้อกฎหมายความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำซึ่งเป็น‘เด็ก’ ปมกราดยิงที่พารากอน

วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 09.29 น.
Tag : กราดยิง เด็ก14 อาชญากรเด็ก siamparagon พารากอน
  •  

‘ศ.ดร.สุรศักดิ์’ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา กางข้อกฎหมายความรับผิดทางอาญาขอ’ผู้กระทำซึ่งเป็น‘เด็ก’ ปมกราดยิงที่‘พารากอน’

4 ตุลาคม 2566 ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงเหตุการณ์เด็กอายุ 14 ปี กราดยิงผู้คนในห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน มีเนื้อหาดังนี้...


ฟังข่าวขณะรถติดอย่างหนักวันนี้ครับ

ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียชีวิต & ผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียขวัญในเหตุการณ์ที่สยามพารากอนในช่วงเย็นวันนี้ด้วยครับ

ขอให้ข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ

1.ความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำซึ่งเป็นเด็ก

แน่นอนว่าเขากระทำความผิดทางอาญาต่อชีวิต ต่อร่างกายของผู้อื่น ฯลฯ

แต่ประมวลกฎหมายอาญาแบ่งผู้กระทำผิดอายุน้อยเป็น 4 กลุ่มคือ

1.1 เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี แม้กระทำผิดอาญากฎหมายไม่เอาโทษโดย      

“ยกเว้นโทษ” ให้

1.2 เด็กอายุกว่า 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี แม้กระทำผิดอาญากฎหมายไม่เอาโทษโดย “ยกเว้นโทษ” ให้ แต่จะมีวิธีการสำหรับฟื้นฟูเด็กกระทำผิดที่เรียกว่า “วิธีการสำหรับเด็ก” เช่น ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก

1.3 ผู้ที่อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปีกระทำผิดอาญากฎหมาย กฎหมายให้พิจารณาจากเด็กนั้นว่าควรลงโทษหรือไม่ หากเห็นว่าไม่ควรลงโทษก็อาจ “ยกเว้นโทษ” ให้ แต่จะมีวิธีการสำหรับฟื้นฟูเด็กกระทำผิดที่เรียกว่า “วิธีการสำหรับเด็ก” แต่ถ้าเห็นควรจะลงโทษ ศาลก็ต้องลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง

1.4 ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18 ปีกระทำผิดอาญากฎหมายให้ศาลพิจารณาว่าจะลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือ จะลดโทษให้ก็ได้ หากศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง

* กรณีที่เกิดเข้ากรณีที่ 1.2 เด็กอายุกว่า 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี

2.ความรับผิดทางแพ่งของผู้กระทำซึ่งเป็นเด็ก

กรณีที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นความผิดอาญาแล้ว ยังเป็นการก่อละเมิดต่อผู้อื่นด้วย โดยแม้กฎหมายจะ “ยกเว้นโทษ” ในทางอาญา แต่เด็กยังมีความรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 420 & 429 ด้วย

3.การดำเนินคดีอาญา

การดำเนินคดีอาญาสำหรับเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี) หรือเยาวชน (อายุ 15-18 ปี) เป็นไปตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553  และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น และในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร (มาตรา 133 ทวิ) เป็นต้น

4.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

แม้เด็กจะกระทำความผิดอาญา แต่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กตาม มาตรา ๒๗ ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศ ประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือ ผู้อื่นโดยมิชอบ”

ดังนั้นการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก จึงมีประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 79 ที่ลงโทษผู้ใดที่ฝ่าฝืนมาตรา 27 ..... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5.การเสนอข่าวสาร

ควรดำเนินการตามที่สำนักงาน กสทช. ออกข้อกำหนดโดยไม่เสนอภาพข่าวแห่งความรุนแรง  การเสนอภาพเด็กผู้กระทำความผิด ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียนอาจขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 อีกด้วย

ข้อพิจารณา:

ปัญหาเด็ก และเยาวชนกระทำความผิด Juvenile Delinquency เป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และซับซ้อนสะท้อนสภาพสังคมที่ส่งมอบบุคลิกลักษณะแก่เยาวชนของเรา

ครอบครัว คนรอบข้าง โรงเรียน และสังคมมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงของเด็กได้ ที่สำคัญการเห็นภาพความรุนแรงทั้งการกระทำ และโดยวาจาจากสื่อ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นสิ่งบ่มเพาะให้เกิดอาชญากรรมได้ทั้งสิ้น

เราต้องยอมรับปัญหา และช่วยกันแก้ไขครับ

ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียอีกครั้งครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

กม.ไม่ได้ปล่อย‘ผี’ นักวิชาการ มธ.จี้รัฐเคลียร์ให้ชัด‘ขายเหล้าวันพระใหญ่’

ฮือฮา! ปชช.แห่อาบน้ำมนต์‘วัดไผ่เหลือง’ เชื่อแก้‘ปีชง’ พลิกดวงเป็นเศรษฐี

'สมศักดิ์'เผยยังไม่พบผู้ป่วย'โรคแอนแทรกซ์'เพิ่ม เตือนปชช.ในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังใกล้ชิด

สุดหัวใจแล้ว!'น้องพิงค์'พ่ายมือ1คว้ารองแชมป์ไทเปโอเเพ่น

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved