วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนไทย  กับการติดกับดักรายได้ปานกลางของไทย  และความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยของไทย (ตอนที่ ๑)

บทความพิเศษ : สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนไทย กับการติดกับดักรายได้ปานกลางของไทย และความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยของไทย (ตอนที่ ๑)

วันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : บทความพิเศษ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนไทย
  •  

ในปี 2564 ประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อคน หรือ GDP per capita ที่ 7,640 US$ และได้อยู่ในระดับใกล้เคียงกันนี้มาเป็นเวลานานหลายปี ที่เรียกกันว่า ประเทศไทย “ติดกับ” ที่ระดับรายได้ปานกลาง หรือ “middle-income trap” ขณะที่ในปีเดียวกันนั้น ประเทศเกาหลีใต้ มี GDP per capita ที่ 36,800 US$ และประเทศญี่ปุ่น ที่ 39,350 US$ หรือรายได้เฉลี่ยต่อคนของประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น มีมากกว่าประมาณ 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อคนของประเทศไทย

GDP per capita ปี 2564


US$

ประเทศที่มีรายได้สูง

สิงคโปร์ 72,744

สหรัฐอเมริกา 69,231

เยอรมนี 50,761

อังกฤษ 47,191

ญี่ปุ่น 39,351

เกาหลีใต้ 34,801

……………………

ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

จีน 12,554

รัสเซีย 12,207 มาเลเซีย 11,398

ไทย 7,646

อินโดนีเซีย 4,357

ฟิลิปปินส์ 3,571

……………………

ประเทศที่มีรายได้ต่ำ

อินเดีย 2,344

แหล่งที่มาของข้อมูล : สอวช.

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Patent of Invention) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่าสูง ที่เกิดมาจากงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจากการสร้างนวัตกรรม เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่งของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และระดับการพัฒนาของประเทศ ประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาตินั้นเป็นจำนวนมาก เป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีรายได้สูง ส่งผลให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี

สำหรับประเทศไทย มีจำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติไทยต่ำมาก ในปี 2565 ประเทศไทยมีจำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติไทยเพียง 220 รายการ สำหรับประชากร 65 ล้านคน หรือมีจำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติไทยเพียงประมาณ3 รายการต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่านั้นเอง

สถิติจดทะเบียนสิทธิบัตร ปี 2565

(Statistics of Granted Patents)

ปี 2565 ปี 2564 ปี 2564

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Patent of Invention)

สัญชาติไทย (Thai) 220 182 202

สัญชาติต่างชาติ (Foreigner) 1,993 2,812 3,322

รวม 2,213 2,994 2,524

สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ (Patent of Design)

สัญชาติไทย (Thai) 1,439 1,599 2,234

สัญชาติต่างชาติ (Foreigner) 875 1,102 1,257

รวม 2,314 2,701 3,491

แหล่งที่มาของข้อมูล : สอวช.

ในปี 2565 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของชาวต่างชาติ (Foreigner) ในประเทศไทย มีจำนวนสูงถึง1,993 รายการ หรือมากกว่าของคนสัญชาติไทยถึงประมาณ10 เท่าตัว และในจำนวนนี้เป็นของคนสัญชาติญี่ปุ่น 1,157 รายการ

ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2564 มีจำนวนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติญี่ปุ่น สูงถึง 280,333 รายการ สำหรับประชากร 125.7 ล้านคน หรือมีสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของคนสัญชาติญี่ปุ่นประมาณ 2,230 รายการต่อประชากรหนึ่งล้านคน หรือพูดได้ว่ามีมากกว่าของประเทศไทยถึง 700 เท่า และเกือบทั้งหมดเป็นผลมาจากงานวิจัยและพัฒนาของบริษัทอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น

จากข้อมูลของ World Economic Forum (WEF) ได้จัดประเทศไทยเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากประเทศอื่นกล่าวคือ เป็นการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ มาใช้ผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยอาจเป็นการนำเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบมาประกอบในประเทศ ซึ่งมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่แตกต่างจากประเทศที่ก้าวหน้า เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นเอง และ WEF จัดกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งๆ ที่ในอดีตเป็นประเทศที่เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมกับประเทศไทย เมื่อประมาณปี 1960

ประเทศไทยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI หรือ Board of Investment) มานาน70 ปีแล้ว ได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีรายได้และภาษีอื่นๆ แก่ผู้ลงทุนมากมาย โดยหวังว่าจะให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คนไทย แต่ไม่ได้มีกระบวนการรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ตกอยู่ในประเทศไทย ไม่มียุทธศาสตร์ในการใช้ศักยภาพกำลังคนของมหาวิทยาลัยไทยในการดูดซับเทคโนโลยีไว้ ดังนั้น เมื่อใดที่ค่าแรงงานในประเทศอื่นต่ำกว่าของประเทศไทย อุตสาหกรรมก็ย้ายไปผลิตในประเทศนั้น ความคาดหวังที่จะให้เทคโนโลยีเหล่านี้ตกอยู่ในประเทศไทยอย่างยั่งยืนไม่ได้เกิดขึ้น

สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะเอกชนไทยไม่มีศักยภาพหรือสมรรถภาพเพียงพอในการดูดซับเทคโนโลยี (Absorptive capacity) ให้ตกอยู่ในประเทศไทย และในช่วงเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยไทยที่มีศักยภาพอยู่บ้าง ก็ยังเป็นส่วนราชการอยู่ จึงไม่ได้ร่วมมือกับภาคเอกชน เพราะขัดระเบียบราชการแต่ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยส่วนใหญ่ออกนอกระบบราชการ และมีความคล่องตัวในการร่วมมือกับอุตสาหกรรม จึงสมควรอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์ในการใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ดังเช่น มหาวิทยาลัยในประเทศจีนในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยของจีน ดำเนินการอย่างบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรม-การศึกษา-งานวิจัย ที่เรียกว่า Integration of Industry-Education-Research แต่ละมหาวิทยาลัยมีหน่วยงานที่เรียกว่า “คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรม (UICC หรือ University-Industry Cooperation Committee)” สำหรับการสร้างความร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เพื่อใช้ศักยภาพของการดูดซับเทคโนโลยี (Absorptive capacity) ของมหาวิทยาลัยในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อนำไปร่วมลงทุนกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ ในรูปแบบของ “บริษัทร่วมทุนของมหาวิทยาลัย (URE : University-Run-Enterprise)”

 

โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  • บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์ บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์
  •  

Breaking News

'บี-วีณา-อามชุ'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน 'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025'

ชาวบ้านผวา! ชายคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายผู้หญิงบาดเจ็บ

'ภูมิธรรม'นั่งมท.1 ปัดหวังล้างแค้น'ภท.'คดีเขากระโดง ลั่นหากไม่ผิด ก็ไม่มีใครทำอะไรได้

​ฟันดาบสอง! ‘หมอตุลย์’ยื่น‘ปธ.วุฒิฯ’ ล่าชื่อยื่นถอดถอน‘อิ๊งค์’พ้นรมว.วัฒนธรรม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved