วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘คนไร้บ้าน’เหยื่อความรุนแรง

‘คนไร้บ้าน’เหยื่อความรุนแรง

วันอาทิตย์ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : คนไร้บ้าน เหยื่อความรุนแรง
  •  

เชื่อว่าในเดือนม.ค. 2567 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้คงไม่มีข่าวใดที่สะเทือนอารมณ์ความรู้สึกมากไปกว่าคดี “ป้าบัวผัน” ถูกกลุ่มอันธพาลที่เป็นเพียงเด็กและเยาวชนรุมทำร้ายจนเสียชีวิต ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งแม้เหตุความรุนแรงกับวัยรุ่นจะเป็นข่าวที่สังคมไทยชินชา แต่ไม่ใช่กับกรณีนี้เพราะผู้เสียชีวิตไม่ใช่วัยรุ่นด้วยกันที่มักถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นคู่อริเคยมีเรื่องมีราวกันมา แต่เป็นหญิงวัยสี่สิบ แถมเป็นคนไร้บ้านและเป็นผู้ป่วยจิตเวชอีกต่างหาก อีกทั้งเมื่อสืบสวนมูลเหตุจูงใจ ยังเป็นเพราะกลุ่มคนร้ายเข้าใจว่าผู้ตายขโมยพาวเวอร์แบงก์ไป ทั้งที่จริงๆ แล้วหล่นหายขณะที่เข้าไปรังแกผู้ตายก่อนเสียด้วยซ้ำ

คดีนี้มีหลายประเด็นให้พูดถึง ทั้งการทำงานของตำรวจที่ถูกตั้งคำถามอย่างมากในการ “จับแพะ” รวมถึงขั้นตอนการสอบสวนที่กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือไม่ ความรับผิดชอบของ “ผู้ปกครอง” ของกลุ่มคนร้ายจะเป็นอย่างไร เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หากผู้ปกครองยุยงส่งเสริมหรือยินยอมให้บุตรหลานกระทำผิดก็จะมีความผิดไปด้วย รวมถึงการเป็น “กลุ่มเปราะบาง” ของผู้เสียชีวิตที่เป็นคนไร้บ้านและผู้ป่วยจิตเวช


Penguin Homeless แผนงานสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชวนดูข้อมูลที่เคยสำรวจไว้ตั้งแต่ปี 2559 พบว่า “คนไร้บ้านร้อยละ 32.5 เคยมีประสบการณ์ช่วงใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้านตกเป็นเหยื่อของการละเมิดและความรุนแรงจากคนในสังคม เช่น ผู้ใช้สารเสพติด วัยรุ่นที่คึกคะนอง หรืออันธพาล” ดังนั้นมายาคติที่ว่า คนไร้บ้านเป็นบุคคลอันตราย จึงไม่ใช่ความจริงเสียทั้งหมด

ในเดือน ม.ค. 2567 Penguin Homeless ยังชวนสังคมไทยทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนไร้บ้าน เช่น บทความ “ไม่ใช่เพราะบ้าเลยไม่มีบ้าน : เข้าใจปัญหาของคนไร้บ้าน ที่อาการทางจิตไม่ใช่เหตุผลของการไม่มีบ้านเสมอไป” อ้างถึงงานวิจัย “คน (ทําไม)ไร้บ้าน : รายงานสถานการณ์ความไม่เป็นธรรม” ที่พบว่า กลุ่มคนไร้บ้านที่มีอาการทางจิตอย่างเห็นได้ชัด หรือมีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder) มีเพียงแค่ร้อยละ 9.64 และร้อยละ 1.8 ของกลุ่มคนไร้บ้านที่มีอาการทางจิตทั้งหมด

ดังนั้นแล้ว “อาจมีคนไร้บ้านที่ต้องการการรักษาทางสุขภาพจิตอยู่จริง แต่การเหมารวมว่า คนไร้บ้านทุกคนคือคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต ก็ถือเป็นการกล่าวเกินจริง และไม่ถูกต้องเสมอไป” โดยสาเหตุที่คนไร้บ้าน มาจากทั้ง “ความเสียเปรียบทางสังคม” เช่น มีพื้นเพมาจากครัวเรือนยากจน ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ และ “ประสบการณ์เลวร้ายส่วนบุคคล” เช่น ป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือถูกทำร้าย บวกกับขาดการสนับสนุนจากครอบครัว จึงเกิดความเครียดและกลายเป็นเหตุผลของการเป็นคนไร้บ้าน

ขณะที่อีกบทความหนึ่ง “One day with คนไร้บ้าน ตามติดชีวิตคนไร้บ้านหน้าใหม่ เมื่อเวลาคือปัจจัยที่เปลี่ยนให้กลายเป็นคนไร้บ้านถาวร” ตอนหนึ่งระบุว่า “ภายในช่วงเวลาการเริ่มต้นเป็นคนไร้บ้านที่สำคัญมากที่สุด คือ ภายใน 1 ปีแรก” โดยหากในช่วงเวลานี้ไม่สามารถค้นพบ “จุดเปลี่ยน” ให้ชีวิตตั้งหลักได้ โอกาสที่จะหลุดพ้นจากสถานะคนไร้บ้านก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ และกลายเป็นคนไร้บ้านอย่างถาวร

21 ม.ค. 2567 เครือข่ายคนไร้บ้าน 7 จังหวัด ออกแถลงการณ์ 4 ข้อ สืบเนื่องจากคดีป้าบัวผัน ประกอบด้วย 1.ขอให้สื่อและสังคม ยุติการผลิตซ้ำมายาคติมองคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในสังคมเชิงลบ เนื่องจากจะทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งผลให้เกิดกระบวนการอนุญาตให้เกิดความรุนแรงได้จนกลายเป็นเรื่องปกติ 2.รัฐต้องมีกลไกที่จะดูแลกลุ่มคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในสังคม ให้สามารถเข้าถึงบริการสิทธิทางสุขภาพ สิทธิสวัสดิการ และสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ อย่างเท่าเทียมและรวดเร็ว

3.รัฐต้องเร่งรัดดำเนินการกรณีของป้าบัวผัน ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย บนพื้นฐานหลักการสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน และ 4.จากกรณีป้าบัวผันที่เป็นคนเร่ร่อนไร้บ้านที่มีอาการป่วยจิตเวช รัฐต้องมีระบบในการรักษาดูแลและศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นกลุ่มคนไร้บ้านอย่างจริงจัง โดยหวังให้เหตุสะเทือนขวัญครั้งนี้ ทำให้สังคมไทย ไม่เหมารวมตัดสินความเป็นมนุษย์ของคนไร้บ้านทุกคนว่าต้องเป็นตัวอันตราย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 ในพิธีลงนามความร่วมมือ(MOU) “การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง” ระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และมูลนิธิกระจกเงา นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ความท้าทายสำคัญ คือคนไร้บ้านที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เห็นได้ชัด มีแนวโน้มเพิ่มจากร้อยละ 10 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 19 ในปี 2566

ด้าน นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หากทุกหน่วยได้ประสานและดำเนินงานร่วมกัน จะช่วยให้ดำเนินงานมีความคล่องตัว ประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างไร้รอยต่อ ออกแบบระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง และร่วมผลักดันการทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชของประเทศไทย เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วยจิตเวชต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • มั่งคั่งแต่เปราะบาง? ผลการศึกษาชี้เมืองยิ่งเติบโต ยิ่งพบ‘คนไร้บ้าน’มาก มั่งคั่งแต่เปราะบาง? ผลการศึกษาชี้เมืองยิ่งเติบโต ยิ่งพบ‘คนไร้บ้าน’มาก
  • เหตุผลของการเป็น‘คนไร้บ้าน’ ไม่ได้มีแต่เรื่อง‘ป่วยทางจิต’เพียงปัจจัยเดียว เหตุผลของการเป็น‘คนไร้บ้าน’ ไม่ได้มีแต่เรื่อง‘ป่วยทางจิต’เพียงปัจจัยเดียว
  •  

Breaking News

กรมประมง-เร่งเสริมศักยภาพ ‘การเพาะเลี้ยงม้าน้ำ’ สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่าสูง

สลด!ลุงตั้งใจกลับบ้านมาเลือกตั้ง ขับซาเล้งตกคันนาทับคอดับกลางทุ่ง

พยาบาลคนดังมาตอบแล้ว! ดราม่า'ณเดชน์'หอบหืด แต่วิ่งจนซิกแพคขึ้น

'น้าแพน'เชื่อมีคนยุยงเบื้องหลังพ่อ-น้องชายปมมรดก 4.8 ล้าน 'ทนายไพศาล'ลุยช่วยคดี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved