วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
'กระบวนการตามสอบย้อนกลับ'ช่วยให้กินผัก-ผลไม้สบายใจ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

'กระบวนการตามสอบย้อนกลับ'ช่วยให้กินผัก-ผลไม้สบายใจ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

วันเสาร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2567, 15.10 น.
Tag : กินผัก ผลไม้ กระบวนการตามสอบย้อนกลับ สารพิษตกค้าง
  •  

มสช.ผุดวิจัยเชิงปฏิบัติการ ยกระดับการทำงานหลายภาคส่วน ป้องกันและควบคุมปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง หนุน “กระบวนการตามสอบย้อนกลับ” เชื่อมโยงข้อมูลการผลิตในแต่ละช่วงของห่วงโซ่ ช่วยคนไทยกินผัก-ผลไม้สบายใจ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

รศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ หัวหน้าศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์โภชนาการ ที่สนใจเรื่องอาหารและสุขภาพในหลายมิติ ชี้ให้เห็นบริบทแวดล้อมของเส้นทางอาหารในประเทศไทย 


จากวิถีชีวิตที่เน้นความสะดวก เร่งรีบ ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs (Non-Communicale diseases) ทั้งไม่ออกกำลังกาย บริโภคอาหารไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ เลือกบริโภคอาหารแปรรูป อาหารพร้อมบริโภค ซึ่งมีรสชาติ หวาน มัน เค็ม มากเกินความจำเป็น เมื่อรวมถึงพฤติกรรมทางกายที่เคร่งเครียด พักผ่อนน้อย ละเว้นการออกกำลังกาย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพสะสมกลายเป็นโรค NCDs ในที่สุด   

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า ควรบริโภคผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม และพบข้อมูลสำคัญจากองค์การอนามัยโลกที่ได้คาดประมาณว่า มีการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของประชากรโลกกว่า 5.2 ล้านคน อันเป็นผลมาจากการบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันก็พบงานสำรวจว่าคนส่วนหนึ่งไม่กินผักเพราะกลัวเรื่องความปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อนในผัก ในขณะที่เราต้องบริโภคผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัมต่อวันตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ  ในฐานะผู้บริโภค จะมีความมั่นใจได้อย่างไรว่าผักที่เราทานมีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง 

สถานการณ์สารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ของไทย ข้อมูลจากเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)  พบว่า จากการสุ่มตัวอย่างผัก 9 ชนิด และผลไม้ 5 ชนิด ที่เป็นที่นิยมจากในตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 268 ตัวอย่าง พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างรวม 103 ชนิด ใน 212 ตัวอย่าง  เกือบทั้งหมดมีสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และยังพบว่า ผักผลไม้ที่นำเข้าและผลิตในประเทศมีความเสี่ยงพอ ๆ กัน โดยพบการตกค้างเกินมาตรฐานในผักผลไม้ที่ผลิตในประเทศ 54.01% จากจำนวนผักที่ส่งตรวจทั้งหมด 274 ตัวอย่าง ส่วนผักผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศพบตกค้างเกินมาตรฐาน 56.1% จากจำนวนตัวอย่างที่ทราบว่านำเข้ามาทั้งหมด 82 ตัวอย่าง ทั้งนี้ผักผลไม้จำนวนมาก (153 ตัวอย่าง) ไม่ระบุแหล่งที่มาและไม่สามารถตรวจสอบจากผู้ขายได้ว่ามาจากแหล่งผลิตใด 

ดังนั้น เส้นทางของผักกำหนึ่งกว่าจะมาถึงผู้บริโภคนั้น เริ่มตั้งแต่การปลูกที่แปลงของเกษตรกรรายย่อย รวบรวมเก็บผลผลิตมาส่งที่พ่อค้าคนกลางรายย่อย  จากพ่อค้าคนกลางรายย่อยหลายๆ กลุ่มรวบรวมส่งเข้ามาถึงตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตร แล้วขายต่อถึงพ่อค้าผักรายย่อย หรือหรือส่งเข้าโรงคัดบรรจุผัก ผลไม้ เพื่อส่งเข้าห้าง ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จนถึงมือผู้บริโภคไปเลือกซื้อหาจากแผงขาย ผู้บริโภคแทบไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผักในมือนั้นมาจากแหล่งปลูกที่ใด และโดยใคร 

หากมองย้อนกลับไปที่กระบวนวิธีการทำงานเรื่องการเฝ้าระวังการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สดของประเทศไทย จะพบว่ามีการทำงานร่วมกัน 2 ส่วนระหว่าง 2 กระทรวงหลัก คือ หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการเฝ้าระวังตามบทบาทหน้าที่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สำหรับกรุงเทพมหานครมีสำนักอนามัยกรุงเทพมหานครเป็นผู้ตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารสำหรับแผงค้าในตลาดใหญ่ๆ  ซึ่งยังมีข้อจำกัด เช่น ไม่สามารถตรวจสอบครอบคลุมทุกแปลงทั่วทั้งประเทศ การเก็บข้อมูลเป็นภาพรวมสถานการณ์ในแต่ละปี และไม่สามารถตามสอบย้อนกลับไปที่ต้นทางแหล่งผลิตได้ ขณะเดียวกันในเส้นทางระหว่างขนส่ง จากแปลงสู่แหล่งรวบรวมผลผลิต ก็สามารถพบตรวจพบสารเคมีตกค้างจากที่ร้านค้าหรือจากการขนส่งเพื่อยืดอายุผลผลิตได้เช่นกัน 

จากช่องว่างดังกล่าว มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จึงได้ดำเนินโครงการ “วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับการทำงานหลายภาคส่วน ที่มีประสิทธิผล ปฏิบัติได้ และยั่งยืน เพื่อการป้องกันและควบคุมปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ด้วยวิธีการสื่อสารความรู้แบบครอบคลุมโดยมีผู้ใช้ความรู้เป็นศูนย์กลาง” โดยได้รับงประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อ ทดลอง หาแนวทางการทำงาน แบบการใช้กลไกความร่วมมือหลายภาคส่วน หลายกระทรวง (Multi Sectoral Collaboration : MSC) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา NCDs ซึ่งสำหรับงานชิ้นนี้ เป็นโครงการย่อยที่ทำงานร่วมกัน ระหว่างนักวิชาการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนักวิชาการจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยมีการบูรณาการระบบข้อมูลสารกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สดตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยบูรณาการข้ามภาคส่วนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร เพื่อทำให้เกิดการร่วมแบ่งปันข้อมูล อัพเดทข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีเครื่องมือแสดงข้อมูลสถานการณ์การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในภาพรวมของประเทศ ที่สามารถบ่งชี้ชนิดสารตกค้าง ชนิดผลผลิต ที่สัมพันธ์กับแหล่งจำหน่ายและพื้นที่ปลูก โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการตามสอบย้อนกลับของผลผลิตที่มีปัญหาไปยังต้นน้ำ (แปลงปลูก)  สร้างเครือข่ายและร่วมกันกำหนดแนวทางการสุ่มตัวอย่างและเทคนิคตรวจวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง เพื่อสามารถบ่งบอกสถานการณ์ภาพรวมของประเทศ และมีช่องทางการเข้าถึงข้อมูลผักผลไม้ปลอดภัยเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและส่งเสริมการตลาดได้ 

กระบวนการตามสอบย้อนกลับที่สามารถย้อนไปถึงแปลงปลูก จะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในระบบการผลิตที่ต้องคำนึงถึงกระบวนการปลูกที่ปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคมากขึ้น ในมุมของผู้ผลิตหรือเกษตรกรเองหากเกิดเหตุการณ์ตรวจวันนี้พบสารเคมีปนเปื้อนตกค้าง แต่เมื่อเดือนก่อนไม่พบ ขั้นตอนการตามสอบย้อนกลับจะช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้เช่นกัน คนปลูกจะรู้ได้ว่าปัญหาตกค้างมาจากตรงไหน ขั้นตอนใด ในขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขได้ตรงจุดมากขึ้น  

ความมุ่งมั่นและพยายามในการลดช่องว่างระหว่างทางนี้  เป็นความคาดหวังที่จะเอื้อประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย ทั้งในฐานะผู้ผลิต-เกษตรกร ผู้จำหน่าย-ตลาด ซุปเปอร์มาร์เก็ต และผู้บริโภค รวมถึงสุขภาพของคนไทยที่จะกินผักผลไม้ได้อย่างสบายใจ ห่างไกลจากโรค NCDs.  

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ต้องไม่ไร้ศักดิ์ศรี! ยก 2 เหตุสะท้อนปัญหาสังคม กับ'ค่านิยมที่ผิดเพี้ยน'

(คลิป) 3 โหรประสานเสียง 'ทักษิณ' ดวงแตก!!

เจ้าของร้านหมูปิ้งโอด! ถูก2โจรขี่จยย.พ่วงข้าง ‘ขโมยเตาย่าง’ หนีหายลอยนวล

(คลิป) 'ติ่ง-มัลลิกา' วิเคราะห์ทำไม? 'พรรคส้ม' แพ้เทศบาล

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved