วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ตามไปดูทั่วโลกคุมบุหรี่ไฟฟ้ายังไง?  82 ประเทศถูกกฎหมาย

รายงานพิเศษ : ตามไปดูทั่วโลกคุมบุหรี่ไฟฟ้ายังไง? 82 ประเทศถูกกฎหมาย

วันอาทิตย์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.04 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประเด็นร้อนที่ทั่วโลกถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง บางประเทศมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกช่วยเลิกบุหรี่แบบดั้งเดิม ในขณะที่บางประเทศมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน สำหรับในประเทศไทยบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าที่ห้ามการนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2557 แต่กลับพบว่ามีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมากขึ้น จนนำมาสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษามาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นประธานกรรมาธิการ ซึ่งมีกำหนดจะนำเสนอรายงานให้สภาฯ รับทราบในเร็ววันนี้ รายงานพิเศษนี้จึงขอนำข้อมูลในต่างประเทศมาเสนอเป็นข้อมูลและศึกษาแนวทางการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก

ปัจจุบันมี 82 ประเทศทั่วโลกอนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลที่แตกต่างกันไป อาทิ หลายประเทศในยุโรป เช่นสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี อนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างถูกกฎหมาย แต่มีข้อจำกัดในการโฆษณาและการขายให้กับเยาวชน


ขณะที่บางประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแต่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับส่วนประกอบและปริมาณนิโคติน ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา อนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้า แต่มีกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐและจังหวัด ด้านออสเตรเลียมีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับ
บุหรี่ไฟฟ้า โดยอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าในร้านขายยาเท่านั้น

ในหลายประเทศที่อนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งถูกกฎหมาย พบว่าอัตราการสูบบุหรี่แบบดั้งเดิมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในนิวซีแลนด์ สวีเดน ญี่ปุ่น หรือไอซ์แลนด์ อัตราการสูบบุหรี่ลดลงประมาณ 50% ภายในเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษ ในทางกลับกัน ประเทศที่ดำเนินการตามคำแนะนำที่ดีที่สุดของ WHO ที่เรียกว่ามาตรการ MPOWERแต่ห้ามหรือจำกัดผลิตภัณฑ์ที่ไร้ควันอย่างเข้มงวด กลับพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง เช่น ตุรกี บราซิล เนเธอร์แลนด์

เช่นเดียวกับที่พบว่าอัตราการสูบบุหรี่และการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชนในประเทศที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมายอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่มีการห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้า ข้อมูลจากประเทศที่มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด

เช่น สหรัฐอเมริกา ยืนยันว่าปัจจุบันมีผู้เยาว์ใช้นิโคตินและผลิตภัณฑ์ยาสูบน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมา การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในหมู่นักเรียนมัธยมปลายลดลงมากกว่า 70% ระหว่างปี 2019 ถึง 2024 ในขณะที่การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือนิโคตินใดๆ (รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า) ก็ลดลงมากกว่า 70% ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันการสูบบุหรี่แทบจะหายไป (รายงานจาก NYTS)

เช่นเดียวกับในประเทศนิวซีแลนด์ที่พบว่า แม้จะมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุ 15-24 ปี แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่ที่มีความอันตรายมากกว่า มาเป็นการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทดแทน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับการบังคับใช้กฎหมายอายุขั้นต่ำ ข้อจำกัดเกี่ยวกับรสชาติ และการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นกับผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าที่ผิดกฎหมาย

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ NIH ได้ระบุว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคปอดอักเสบและโรคมะเร็งปอดเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่แบบดั้งเดิม อีกทั้งการศึกษาในสหราชอาณาจักรพบว่าผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีระดับของสารพิษในร่างกายที่ต่ำกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วไป รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ที่ยกเลิกการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า แต่การใช้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศที่เลือกที่จะห้ามบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเข้มงวด เช่น ไทย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ซึ่งมีนโยบายห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าและการขายให้กับประชาชนทั่วไป แม้ว่าจุดประสงค์ของมาตรการดังกล่าวเป็นการป้องกันเยาวชนจากการเริ่มใช้นิโคตินและผลิตภัณฑ์ยาสูบ

แต่กลับพบว่ามีการลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักไม่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ใช้ นอกจากนี้ การห้ามบุหรี่ไฟฟ้าอาจส่งผลให้เยาวชนหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีอันตรายมากขึ้นแทน

ในประเทศไทย การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2557 ก็ตาม การสำรวจจากกรมควบคุมโรคในปี 2564 พบว่า 15% ของเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี เคยลองใช้บุหรี่ไฟฟ้า และ 5% ของกลุ่มนี้ยังคงใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำ

การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย เป็นแนวทางที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากสามารถลดอันตรายจากบุหรี่แบบดั้งเดิม และป้องกันการเข้าถึงของเยาวชนได้ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาลและช่วยให้การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย ควรมาพร้อมกับการกำกับดูแลที่เข้มงวด และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่กลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : Learn to Earn เสริมพลังคุณครู เปิดมุมมองส่งต่ออนาคตเด็กไทย รายงานพิเศษ : Learn to Earn เสริมพลังคุณครู เปิดมุมมองส่งต่ออนาคตเด็กไทย
  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  •  

Breaking News

(คลิป) เหนื่อยใจ! 'บิ๊กอ้วน' แจง 'ไทย-เขมร' แค่เผชิญหน้าตอนนี้ไม่มีอะไร

รอพรุ่งนี้! ครม.เคาะใครคุม'ดีเอสไอ' แทน 'ทวี' ชี้เป็นอำนาจนายกฯหาคนเหมาะสม

'อนุทิน'คัมแบ๊คทํางานวันแรก! หลังเปลี่ยนเลนส์ตา บอก'No News'ปัดตอบการเมือง

'โปรจิ๋ว'เฉียบ! คว้าแชมป์สวิงที่เวียดนาม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved