วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘HigherEd for PWD’เฟส1  ปั้นคนพิการสู่ตลาดแรงงานจริง

‘HigherEd for PWD’เฟส1 ปั้นคนพิการสู่ตลาดแรงงานจริง

วันอาทิตย์ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : HigherEd PWD ตลาดแรงงาน
  •  

 

รูดม่านปิดฉากลงแล้วสำหรับ “โครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ ผ่านโมเดลการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มจธ. HigherEd for PWD ระยะที่ 1” ซึ่งเป็นโครงการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการสู่การประกอบอาชีพในตลาดแรงงานจริง ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเพิ่งแถลงข่าวสรุปผลไปเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา ณ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)


รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า โครงการ HigherEd for PWD เป็นการนำประสบการณ์และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพคนพิการของโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ ที่ มจธ. ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 มาขยายผลผ่าน 5 มหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (วิทยาเขตสุพรรณบุรี) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและฝึกงานที่ออกแบบมาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน (Demand-Driven) ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง

“จากเดิมที่ มจธ. ดำเนินโครงการฝึกอาชีพให้คนพิการได้เฉลี่ยรุ่นละ 50 คน แต่เมื่อเริ่มโครงการ HigherEd for PWD ในปีแรก สามารถขยายการอบรมให้คนพิการจากทั่วประเทศได้ถึง 300 คน นอกจากช่วยเพิ่มโอกาสให้กับคนพิการมากขึ้นแล้ว โครงการนี้ยังทำให้สถาบันและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการเข้าใจ โมเดล 6 ขั้นตอน ของการฝึกอาชีพคนพิการ ซึ่ง มจธ. ใช้เวลากว่า 10 ปีในการพัฒนา และสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยและความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละพื้นที่” อธิการบดี มจธ. กล่าว

ดร.อรกัญญาณี เลี้ยงอิสสระ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มจธ. ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โมเดลหลัก 6 ขั้นตอน ที่ มจธ. ในฐานะพี่เลี้ยงโครงการฯ ได้มีการสนับสนุนมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้ง 5 แห่ง เพื่อจัดทำและฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะอาชีพให้กับคนพิการในพื้นที่ของตนเอง ประกอบด้วย (1) การหารือกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและเหมาะสมกับคนพิการ (2) การรับสมัครและคัดเลือกคนพิการตามคุณสมบัติของแต่ละหลักสูตร

(3) การฝึกอบรมและฝึกงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน ครอบคลุมทั้งทักษะอาชีพ ทักษะการทำงานและการใช้ชีวิต และสร้างประสบการณ์ทำงานจริง (4) การสนับสนุนการจ้างงานร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน (5) ระบบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและให้คำแนะนำ และ (6) การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลกระทบ และประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้ง 5 แห่งสามารถนำไปปรับใช้กับหลักสูตรของตนเองได้อย่างยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

โครงการนี้เปิดโอกาสให้คนพิการได้เลือกเส้นทางอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง ผ่านหลักสูตร 2 แนวทางหลัก ได้แก่ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน สำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในสถานประกอบการ ในส่วนของหลักสูตรอาชีพอิสระ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น หลักสูตรการทำดอกไม้จันทน์ ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ไม่ได้สอนเพียงการผลิต แต่ยังสอนวิธีจำหน่ายและสร้างรายได้ด้วยตัวเอง นอกจากนั้น มจธ. ยังมีบทบาทเป็น “พี่เลี้ยง” คอยสนับสนุนและช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถหางานหรือเริ่มต้นอาชีพของตัวเองได้จริง

“ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการไม่ได้พิจารณาเพียงจำนวนผู้เข้าอบรม แต่ยังให้ความสำคัญกับรายได้ที่เกิดจากการจ้างงานและการประกอบอาชีพอิสระ ผลลัพธ์จากรุ่นแรกที่มีผู้เข้าร่วม 300 คน พบว่า 84% สามารถประกอบอาชีพได้จริง แบ่งเป็นผู้ที่ได้รับการจ้างงานในสถานประกอบการตามมาตรา 33 จำนวน 9 คน ทำงานภายใต้เงื่อนไขมาตรา 35 จำนวน 31 คน และอีก 212 คนเลือกประกอบอาชีพอิสระ โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเอง ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนถึงประสิทธิภาพของโครงการที่ช่วยเสริมทักษะและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.อรกัญญาณี ระบุ

ดร.อรกัญญาณี ยังกล่าวด้วยว่า จากความสำเร็จระยะที่ 1 ส่งผลให้เกิดการทำงานโครงการฯ ในระยะที่ 2 ซึ่งมุ่งขยายผลในระดับประเทศ โดยมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือโครงการนำร่องการสนับสนุนให้สถานศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนพิการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ระยะที่ 2 ระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม 2 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (วิทยาเขตเทเวศร์) และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้ามาร่วมเป็นกำลังสำคัญ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • 5 สายงานยอดนิยมที่ตลาดแรงงานทั่วประเทศต้องการในปี 2025 5 สายงานยอดนิยมที่ตลาดแรงงานทั่วประเทศต้องการในปี 2025
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved