วันที่ 17 กรกฎาคม 2568 จากกรณี กำลังพลประสบเหตุจากการเหยียบกับระเบิด WA 220 861 เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ในพื้นที่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี งจากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว เป็นระเบิดตกค้างในพื้นที่สู้รบเดิม ทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย
เบื้องต้นจากการตรวจสอบ โดย หน่วยปฏิบัติการต่อต้านทุ่นระเบิด (นปท.) ระบุว่า จากการพิสูจน์ด้วยภาพรายงานคาดว่า คือทุ่นระเบิด PMN-2
ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ให้ข้อมูล เรื่อง “ทุ่นระเบิด PMN2” ของกัมพูชา ระบุว่า ทำความรู้จักกับ "ทุ่นระเบิด PMN2" ของกัมพูชา
เห็นรายงานข่าวที่เมื่อวาน มีเจ้าหน้าที่ทหารพราน เหยียบกับระเบิด ขณะลาดตระเวนที่บริเวณเนิน 481 อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี จนได้บาดเจ็บไป 3 นาย โดยพบว่าเป็น "ทุ่นระเบิด PMN-2" ที่ผลิตในรัสเซีย
ซึ่งคาดว่ามีการนำมาวางใหม่ในพื้นที่ เนื่องจากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดที่ 3 ระบุว่าพื้นที่ตรงนั้นได้กวาดล้างทำลายทุ่นระเบิดเดิมไปหมดแล้ว
และก่อนหน้านี้ ก็เคยมีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนไปพบทุ่นระเบิดชนิด PMN2 นี้ มา 4 ลูกแล้ว ซึ่งน่าจะถูกวางใหม่เช่นกัน
เลยขอเอาข้อมูลเกี่ยวกับ "ทุ่นระเบิด PMN-2" มาให้อ่านกันครับ เผื่อจะได้ทำความรู้ไว้
------------------
"ทุ่นระเบิด PMN-2"
- ทุ่นระเบิด PMN-2 เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อยู่กับที่ มีชนวนระเบิดในตัว ทำงานด้วยน้ำหนักกด ทำอันตรายฝ่าเท้าผู้เหยียบ ตัวทุ่นทำจากวัสดุพลาสติก การตรวจค้นทำได้ยาก
- ส่วนเปลือกของทุ่นระเบิด PMN-2 ทำจากพลาสติก ที่ขึ้นรูปด้วยวิธีการฉีด โดยทั่วไป มีสีเขียวใบไม้ แต่บางครั้งอาจพบสีน้ำตาล
- ด้านบนของทุ่นระเบิด มีแผ่นกดแรงดันรูปตัว X สีดำทำจากยาง
- บรรจุวัตถุระเบิดชนิด RDX/TNT
- PMN-2 มีปริมาณวัตถุระเบิดที่มากผิดปกติ เมื่อเทียบกับทุ่นระเบิดต่อบุคคลหลายชนิด
- PMN-2 ออกแบบในช่วงกลางทศวรรษ 1970 มีชนวนที่ทันสมัยกว่ารุ่นเก่า โดยมีแผ่นกั้นใต้แผ่นกดแรงดัน
- การออกแบบแผ่นกดแรงดัน เป็นรูปตัว X ทำให้ PMN-2 มีความต้านทานต่อวิธีการปราบปรามทุ่นระเบิดแบบดั้งเดิม ที่ใช้แรงดันกะทันหันเพื่อระเบิด ถือได้ว่าเป็นทุ่นระเบิดที่ทนต่อการระเบิด
- ชนวนของ PMN-2 มีการหน่วงเวลาประมาณ 60 วินาที (สั้นกว่ารุ่นเก่า) เมื่อหมุนและถอดกุญแจนิรภัยออก สลักนิรภัยจะถูกตัด ซึ่งช่วยให้ลูกโป่งอากาศภายในทุ่นระเบิด ขยายตัวโดยสปริงอัด และยกแท่งนิรภัยออกจากเส้นทางของลูกเลื่อน ทำให้สามารถเคลื่อนที่ ระเบิดทำงานได้
ความสูง: 53 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลาง: 120 มม.
น้ำหนักวัตถุระเบิดหลัก: 100 กรัม TG-40 (RDX/TNT)
น้ำหนักรวม: 440 กรัม
ชนวน: MD-9 (ไวต่อการกระแทก)
ภาพและข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/PMN_mine
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : มทภ.2 เร่งพิสูจน์วัตถุระเบิดชายแดนไทย-กัมพูชา ของเก่าหรือใหม่ รอ 3 วันรู้ผล
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี