กาหยี หรือ มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ดอกยืนต้น ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลมีชื่อเรียกเป็นภาษาโปรตุเกสว่า “กาฌู” (caju-ผล) หรือ “กาฌูเอย์รู” (cajueiro-ต้น) ปัจจุบันเติบโตแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน ซึ่งก็มีการนำทั้งเมล็ดและผลของมันไปใช้ประโยชน์กันต้นกาหยีได้ถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2444 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ลูกกาหยีมีลักษณะแปลกกว่าผลไม้ทั่วๆ ไปส่วนของผลที่เราเห็นคล้ายกับลูกแพร์สีแดงสด หรือสีเหลือง หรือที่ฝรั่งเรียกCashew Apple นั้นเป็นผลวิสามัญ (Accessory fruit) คือไม่ใช่ผลจริงของกาหยี แต่ผลแท้คือเมล็ดที่โผล่ออกมานอกตัวผลสีแดง ที่มีลักษณะเป็นรูปไตหรือรูปนวนักมวย หรือที่เราคุ้นกันดีว่า “เม็ดกาหยี” (Cashew nut)
กาหยีเป็นพืชที่สามารถกินได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยอดที่นำมาเป็นผักเกล็ด เม็ดกาหยีสามารถใช้รับประทานด้วยการคั่วก่อนจะกะเทาะเอาเปลือกนอกทิ้ง ซึ่งเป็นวิธีการรับประทานตั้งแต่โบราณ สมัยก่อนเมื่อถึงฤดูกาหยีออกลูก ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บรรดาผู้ใหญ่ก็จะออกมาตั้งกระทะคั่วกาหยี บางบ้านก็ใช้กระทะเจาะรู บางบ้านใช้ปี๊บใส่ขนมผ่าเอาด้านข้างออก โดยกระทะหรือภาชนะที่จะนำมาคั่วนั้น ต้องเจาะรูไว้ตรงกลางเพื่อให้ยางกาหยีไหลออกมาขณะที่คั่ว เวลาคั่วก็วางกระทะทิ้งไว้เฉยๆ และใช้ไม้คั่วกาหยีที่มีความยาวพอสมควรไปจุดติดไฟ พอไฟติดที่ปลายไม้ ให้ใช้ไม้นั้นคนไปที่กาหยี ครู่เดียวเท่านั้น ไฟจะลุกท่วมกระทะเองเพราะยางกาหยีเป็นเชื้อไฟอย่างดีเมื่อคั่วจนได้ที่จึงคว่ำกระทะลง ก่อนจะทำให้ไฟดับ ทิ้งไว้รอให้เย็น ใช้หินทุบให้เปลือกดำๆ แตก แต่ต้องทุบให้ได้จังหวะไม่เช่นนั้นเนื้อในก็จะเละไปด้วย ซึ่งในยุคปัจจุบันหลังจากที่กะเทาะเปลือกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไปอบเพื่อเพิ่มความกรอบอีกครั้ง ก่อนจะทำการคัดแยกและบรรจุใส่ถุง
นางชลาทิพย์เปล่งศรี อายุ 51 ปี ชาวบ้านเลขที่ 318ซอยตาแช่ม เทศบาลเมืองตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา กล่าวว่าตนเองและญาติๆ ได้เริ่มคั่วกาหยีเป็นอาชีพเสริมตั้งแต่อายุ 15 ปี ซึ่งขณะนั้นต้นกาหยีมีแทบจะทุกบ้านจึงทำให้กาหยีคั่วไม่ค่อยจะมีราคาเท่าไหร่ ปัจจุบันพบว่าต้นกาหยีในจังหวัดพังงาและใกล้เคียงได้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ต้องนำเข้าจากประเทศพม่า จึงทำให้ราคาขายพุ่งสูงขึ้นถึง 400 บาท/กิโลกรัม โดยแต่ละวันจะสามารถคั่วกาหยีได้ประมาณ 150-180 กิโลกรัม ก่อนจะส่งต่อให้ญาติๆ กะเทาะเปลือกออกและนำกลับมาอบ และบรรจุถุง จึงเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นจำนวนมหาศาลต่อปีเลยทีเดียว
สำหรับเม็ดมะม่หิมพานต์เป็นชื่อที่คนในเมืองหลวง เขาเรียกกันแต่ชื่อเรียก กาหยี นั้นชาวใต้ในแต่ละพื้นที่ก็ไม่ได้เรียกเหมือนกันไปเสียทีเดียวชาวยะลาเรียกกาหยีว่า นายอคนระนอง เรียกกาหยู ทางนราธิวาส เรียก ม่วงยางหุยตำหยาว หรือกะแตแก สุราษฎร์ธานีเรียก ม่วงเล็ดล่อ นครศรีธรรมราชและพัทลุง เรียก หัวครก และยังมีอีกหลายชื่อที่คนใต้เรียกไม่ว่าจะเป็นยาร่วง ยาโงย ยะโห้ยยาหยี หรือท้ายล่อทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่หมายถึง กาหยี ทั้งสิ้น แต่หากเราจะไปคุยกับคนทางเหนือ เขาอาจจะไม่เข้าใจ ก็ต้องเรียกเป็นภาษาพื้นถิ่นของเขา เช่น ม่วงชูหน่วย มะม่วงกาสอ มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหล มะม่วงหยอด หรือมะม่วงไม่รู้หาว นี่แค่เกริ่นถึงชื่อเรียก ก็นับว่าน่าสนใจแล้ว
พรชัย แซ่เอี๋ยว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี