มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ต่อมา ทางกระทรวงธรรมการได้ดำเนินการจัดตั้งการฝึกหัดครู ในหัวเมืองขึ้นในมณฑลกรุงเก่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังจันทรเกษม โดยมีจุดประสงค์เพื่อฝึกหัดครูมูลสามัญ ในปี พ.ศ. 2467 ได้มีการจัดตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม” ณ ตำหนักเพนียด มณฑลกรุงเก่า อีกแห่งหนึ่ง เพื่อฝึกหัดครูกสิกรรมสอนวิชาวิสามัญ การฝึกหัดครูกสิกรรมกับการฝึกหัดครูมูลสามัญเป็นการฝึกหัดครูในระดับเดียวกัน แต่ได้แยกกันเรียนคนละแห่งนั้นเนื่องจากการฝึกหัดครูมูลกสิกรรมจำเป็นต้องมีสถานที่สำหรับฝึกหัดทำการกสิกรรมด้วย ซึ่งบริเวณหลังพระราชวังจันทรเกษมไม่มีสถานที่นั่นเอง
ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบ “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ลง ดังนั้น การฝึกหัดครูจึงรวมอยู่ใน “โรงเรียนฝึกหัดครูมูล” ตำหนักเพนียดเพียงแห่งเดียว โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการเห็นสมควรให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จากตำหนักเพนียดไปอยู่ในกรมทหารหัวแหลม เพราะมีสถานที่เหมาะสมกว่า โดยแยกเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และ “โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479
ได้มีการย้ายโรงเรียนออกจากกรมทหาร โดยโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ย้ายไปสร้างอยู่ในที่ราชพัสดุติดกับวัดวรโพธิ์ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี ย้ายไปอยู่ที่ ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยในปี พ.ศ. 2491 โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา” จนกระทั่ง พ.ศ. 2509 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พร้อมทั้งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา” โดยโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยาได้ถูกยุบรวมเข้ามาสังกัดวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2538 ได้มี พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ให้เป็นชื่อใหม่ของวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ทำให้วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา” และปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”
ดร.เกษม บำรุงเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตระหนักดีถึงความสำคัญของการศึกษา และมุ่งหวังที่จะสร้างบัณฑิตซึ่งมีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น ตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 111 ปี นักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาประมาณปีละ 1,800 คน จากภาพรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 3 แสนคน สถานการณ์โลกในปัจจุบัน ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้แนวทาง การจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัว เช่น การผลิตบัณฑิตจำเป็นต้องสร้างบัณฑิตที่มีคุณสมบัติทั้งความเป็นไทย และสากลเพิ่มมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับตลาดแรงงาน ทั้งในและต่างประเทศ จึงต้องมุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพสูงสุด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศได้
ในโอกาสครบรอบ 111 ปีนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้จัดกิจกรรมครบ 111 ปี กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2559 พร้อมเปิดตัวตราสัญลักษณ์ 111 ปี ได้จัดให้มีการทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระภิกษุสงฆ์จำนวน 111 รูป จัดทำวารสารและผลิตตำราวิชาการ 111 ปี จัดทำบทเพลง 111 ปี เสวนาวิชาการ Active Learning และ กิจกรรม รวมใจรัก ภักดี บริจาคโลหิต 111,111 ซีซี ถวายพ่อของแผ่นดิน
เกียรติยศ ศรีสกุล
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 ต่อมา ทางกระทรวงธรรมการได้ดำเนินการจัดตั้งการฝึกหัดครู ในหัวเมืองขึ้นในมณฑลกรุงเก่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังจันทรเกษม โดยมีจุดประสงค์เพื่อฝึกหัดครูมูลสามัญ ในปี พ.ศ. 2467 ได้มีการจัดตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม” ณ ตำหนักเพนียด มณฑลกรุงเก่า อีกแห่งหนึ่ง เพื่อฝึกหัดครูกสิกรรมสอนวิชาวิสามัญ การฝึกหัดครูกสิกรรมกับการฝึกหัดครูมูลสามัญเป็นการฝึกหัดครูในระดับเดียวกัน แต่ได้แยกกันเรียนคนละแห่งนั้นเนื่องจากการฝึกหัดครูมูลกสิกรรมจำเป็นต้องมีสถานที่สำหรับฝึกหัดทำการกสิกรรมด้วย ซึ่งบริเวณหลังพระราชวังจันทรเกษมไม่มีสถานที่นั่นเอง
ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบ “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ลง ดังนั้น การฝึกหัดครูจึงรวมอยู่ใน “โรงเรียนฝึกหัดครูมูล” ตำหนักเพนียดเพียงแห่งเดียว โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการเห็นสมควรให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จากตำหนักเพนียดไปอยู่ในกรมทหาร
หัวแหลม เพราะมีสถานที่เหมาะสมกว่า โดยแยกเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และ “โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479
ได้มีการย้ายโรงเรียนออกจากกรมทหาร โดยโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ย้ายไปสร้างอยู่ในที่ราชพัสดุติดกับวัดวรโพธิ์ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี ย้ายไปอยู่ที่ ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยในปี พ.ศ. 2491 โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา” จนกระทั่ง พ.ศ. 2509 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พร้อมทั้งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา” โดยโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยาได้ถูกยุบรวมเข้ามาสังกัดวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2538 ได้มี พ.ร.บ.สถาบันราชภัฏ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนาม “ราชภัฏ” ให้เป็นชื่อใหม่ของวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ทำให้วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา” และปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”
ดร.เกษม บำรุงเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตระหนักดีถึงความสำคัญของการศึกษา และมุ่งหวังที่จะสร้างบัณฑิตซึ่งมีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น ตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 111 ปี นักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาประมาณปีละ 1,800 คน จากภาพรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 3 แสนคน สถานการณ์โลกในปัจจุบัน ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้แนวทาง การจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัว เช่น การผลิตบัณฑิตจำเป็นต้องสร้างบัณฑิตที่มีคุณสมบัติทั้งความเป็นไทย และสากลเพิ่มมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับตลาดแรงงาน ทั้งในและต่างประเทศ จึงต้องมุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพสูงสุด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศได้
ในโอกาสครบรอบ 111 ปีนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้จัดกิจกรรมครบ 111 ปี กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2559 พร้อมเปิดตัวตราสัญลักษณ์ 111 ปี ได้จัดให้มีการทำบุญตักบาตรข้าวสาร
อาหารแห้งพระภิกษุสงฆ์จำนวน 111 รูป จัดทำวารสารและผลิตตำราวิชาการ 111 ปี จัดทำบทเพลง 111 ปี เสวนาวิชาการ Active Learning และ กิจกรรม รวมใจรัก ภักดี บริจาคโลหิต 111,111 ซีซี ถวายพ่อของแผ่นดิน
111 ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า
สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
เกียรติยศ ศรีสกุล
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี