นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่า จากกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคออกมาเปิดเผยผลการตรวจสอบหมูแผ่น หมูหวาน หมูเค็มและเนื้อเค็ม นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอแจ้งว่า อย. มีการเฝ้าระวังเพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอกลูกชิ้น แฮม กุนเชียง หมูยอ แหนม และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารพร้อมบริโภค เช่น เนื้อทอด หมูอบแห้งเนื้อแดดเดียว หมูแผ่น หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูเส้น หมูทุบเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์นั้น สุขลักษณะของสถานที่ผลิตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต(GMP) ห้ามใส่สีในตัวผลิตภัณฑ์ ส่วนวัตถุเจือปนอาหาร ประเภทวัตถุกันเสีย การอนุญาตและปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น ไส้กรอก แฮม สามารถใช้ไนเตรท ไนไตรท์ได้ตามปริมาณที่กฎหมายกำหนด ลูกชิ้นปลา อนุญาตให้ใช้กรดซอร์บิกได้ เป็นต้น สำหรับการแสดงฉลากขณะนี้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 ว่าด้วยเรื่อง ฉลาก ซึ่งกำหนดให้อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดชื่อผลิตภัณฑ์ เลขสารบบอาหาร 13 หลัก ในกรอบเครื่องหมาย อย. วัน เดือน ปีที่ผลิตวันหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อนสูตรส่วนประกอบสำคัญโดยประมาณ ปริมาณสุทธิ ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร ข้อมูลรายชื่อและกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้ประกอบการรายใหม่ต้องปฏิบัติทันทีตามประกาศนี้ ส่วนรายเก่าให้เวลาการแก้ไขฉลากถึงเดือนธันวาคม 2559 หากตรวจพบว่า มีการแสดงข้อความบนฉลากอาหารไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี