วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘สุรินทร์-บุรีรัมย์’  ตามรอยหัตถกรรมอีสานใต้

‘สุรินทร์-บุรีรัมย์’ ตามรอยหัตถกรรมอีสานใต้

วันอังคาร ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.
Tag : ทอผ้าพื้นถิ่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ หัตถกรรมอีสานใต้
  •  

“สุรินทร์-บุรีรัมย์” เป็นจังหวัดในกลุ่ม “อีสานใต้” นักท่องเที่ยวหลายคนรู้จักสุรินทร์ในฐานะ “เมืองช้าง” และบุรีรัมย์ในฐานะ “เมืองปราสาทหิน (และทีมฟุตบอล)” แต่นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ทั้ง 2 จังหวัด ยังมีงานศิลปหัตถกรรมที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอีกด้วย เช่น การสร้างเครื่องเงิน งานทอผ้าโฮล และผ้าซิ่นตีนแดง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หาดูได้ยากของอีสานใต้อีกด้วย

ป่วน เจียวทอง ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี2552 ผู้มีชื่อเสียง ในฐานะช่างทำเครื่องประดับเงิน ทั้งประเกือม ต่างหู กำไล สร้อยคอจี้ สร้อยข้อมือ กล่าวว่า “ปะเกือม” (ประคำ) เป็นศิลปหัตถกรรมใน อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ที่มีความโดดเด่นในเรื่องความกลมกลืนได้ดุลยภาพ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการสร้างลายสร้างสรรค์ลวดลายเลียบแบบธรรมชาติ เช่น ลายรังผึ้ง รังแตน รังหอกโปร่ง รังหอกปิด ดอกปลึด และดอกปลึด-ชั้น เป็นต้น


การทำปะเกือมต้องใช้ความละเอียดอย่างมาก และปัจจุบัน “ครูป่วน” ยังคงถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้านที่สนใจ ขณะที่ เพชรรัตน์ เจียวทอง ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2559 อธิบายวิธีการทำปะเกือมว่ามี 2 รูปแบบ คือ 1.โดยการหลอม เทรางตามขนาดแล้วตีแผ่จนได้เท่าขนาด นำมารีดให้บางจนได้ขนาดแล้ววัดตัดตามขนาด เอาไปม้วนด้วยไม้ไผ่ แล้วเชื่อมประสานเอาไปตีขึ้นรูป อัดชัน แล้วกดลาย ถ้าเป็นงานโบราณจะมีลายกลีบบัว ลายดอกจันทร์ บัวคว่ำ บัวหงาย แต่ในปัจจุบันจะกดลายตามจิตนาการของช่างและผู้สั่งทำ

กับ 2.รีดเป็นแผ่น ตัดตามแบบแล้วเอามาพับตามแบบหรือม้วนตามแบบเชื่อมติดอัดชัน แล้วกดลาย เช่น แมงดากรวย ไข่แมงมุม หมอนสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี “ตะเกา” เป็นงานลวดโดยการรีดเงินเป็นเส้น แล้วเอามาดึงด้วยแป้นให้ได้ขนาดที่ต้องการ นำมาดัดโดยใช้ไม้ดัด ซึ่งไม้ดัดจะขึ้นมาเอง แต่ละลายไม่เหมือนกัน โดยการหักไปหักมา จนได้จำนวนที่ต้องการแล้วตัดเอาลายมาเชื่อมติดกัน

เพชรรัตน์ ระบุว่า จุดเด่นของตะเกาลายโบราณมีทั้งหมด 13 ลาย ได้แก่ 1.ลายรังหอก 2.ลายรังหอกปิด3.ดอกตั๋งโอ๋ 4.ดอกตั๋งโอ๋ 3 ชั้น 5.ปลึด 6.ปลึด 3 ชั้น7.ไข่แมงดา 8.ดอกระเวียง 9.รังผึ้ง 10.รังแตน11.ดอกทานตะวัน 12.ดอกขจร และ 13.ดอกมะลิ พร้อมทั้งกล่าวอย่างภูมิใจว่า “ตะเกากับปะเกือมเป็นชิ้นงานที่มีชื่อเสียงและเป็นหน้าเป็นตาของบ้านเรา” จึงอยากให้ช่วยกันสืบทอดต่อไป

“นี่เป็นงานที่ประณีตมากและเราตั้งใจอนุรักษ์กระบวนการงานช่างเหล่านี้ให้คงอยู่เพื่อเยาวชนของเราได้โอกาสเรียนรู้และรู้จักงานแขนงนี้มากขึ้น เครื่องเงินโบราณเป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนสูง น้อยคนนักที่จะหันมาสนใจและสืบทอด ดิฉันจึงภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในผู้สานต่องานอันทรงคุณค่านี้” เพชรรัตน์ กล่าว

ครูช่างอีกท่านหนึ่งแห่ง อ.เขวาสินรินทร์ สุรโชติ ตามเจริญ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2559 จากการได้มาเป็น “เขยสุรินทร์” ได้เห็นภรรยาของตนทำ “ผ้าโฮลโบราณ” ก็รู้สึกสนใจและอยากทำบ้าง เริ่มฝึกฝนการมัดหมี่ การย้อมสีธรรมชาติจนชำนาญ ก่อเกิดเป็นความรักความผูกพันในการสร้าสรรค์งานหัตถศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบดั้งเดิม โดยสืบค้นลายผ้าเก่าจากพิพิธภัณฑ์ หนังสือผ้าโบราณ รังสรรค์เป็นผืนผ้าให้กลับมาอวดโฉมอีกครั้ง เพื่อรักษามรดกทางภูมิปัญญานี้ไว้ไม่ให้สูญหาย

“ครูโชติ” อธิบายว่า “โฮล” เป็นคำในภาษาเขมร เป็นชื่อเรียกกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมที่สร้างลวดลายขึ้นมาจากกระบวนการมัดย้อมเส้นไหมให้เกิดสีสันและลวดลายต่างๆ ก่อน แล้วจึงนำมาทอเป็นผืนผ้าซึ่งตรงกับคำว่า “ผ้าปูม” ในภาษาไทยและคำว่า “มัดหมี่” ในภาษาลาว ผ้าโฮลเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายเขมรใน จ.สุรินทร์ มาช้านาน และจุดเด่นอีกประการหนึ่งนอกจากลวดลายสวยงามแล้ว ยังเลือกใช้“ไหมน้อย” หรือไหมเส้นในสุด จาก “เครือข่ายหมู่บ้านพระยาราม” ซึ่งมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบดั้งเดิม

“เส้นไหมน้อยนั้นถือได้เป็นไหมชั้นดีที่มีความมันวาว เส้นเล็กสม่ำเสมอกันตลอดเส้นซึ่งนำมามัดหมี่ ตามลวดลาย ก่อนนำไปย้อมทำเป็นเส้นยืนและเส้นพุ่งด้วยวิธีการเฉพาะเรียกว่า จนองโฮล โดยทั่วไปการมัดย้อมผ้ามัดหมี่โฮล นิยมมัดหมี่ 21 ลำ ซึ่งมัดเพียงหนึ่งลาย สามารถทอได้ 4 แบบ ได้แก่ 1.ลายโฮลผู้ชาย 2.ผ้าโฮลสะไรย์ หรือลายโฮลธรรมดา หรือโฮลผู้หญิง 3.ผ้าโฮลเกียรติ การเอามัดหมีโฮลมาทอกระสวยเดียวแต่เป็นลายฟันปลา และ 4.ผ้าโฮลปะนะ”ครูโชติ อธิบาย

จาก จ.สุรินทร์ คณะสื่อมวลชนที่เดินทางพร้อมกับ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) มุ่งหน้าสู่ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เพื่อไปพบ รุจาภา เนียนไธสง ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2557 ผู้เชี่ยวชาญการทำ “ผ้าซิ่นตีนแดง”ที่มีจุดเด่นคือ เลี้ยงไหมและสาวไหมเอง ซึ่งเป็นไหมไทยพื้นบ้าน ใช้การสาวลงตะกร้าด้วยมือ “ผลงานอยู่ในระดับเคยได้รับรางวัลพระราชทาน ตรานกยูงทองจากกรมหม่อนไหม” โดยมีลายที่โดดเด่นคือลายนกยูงทอง ใช้เทคนิคใหม่การทอผ้าผสมผสานกับการเขียนทองสร้างมิติของลวดลายได้อย่างน่าสนใจ

ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2557 กล่าวว่า ผ้าซิ่นตีนแดง เป็นผ้าทอของกลุ่มคนซึ่งตั้งถิ่นฐานแถบ อ.พุทไธสง สร้างลวดลายด้วยวิธีการมัดหมี่ เป็นการมัดย้อมเส้นด้ายพุ่งเป็นลวดลายก่อนนำไปทอเป็นผืนผ้า “มีความโดดเด่นอยู่ที่หัวซิ่น และตีนซิ่นสีแดงสด” ตัวซิ่นในสมัยก่อนเป็นผ้ามัดหมี่นิยมใช้โครงสีเข้ม หรือสีเม็ดมะขาม ทอเป็นลวดลายโบราณ ด้วยความสวยงามและมีเอกลักษณ์อันโดดเด่นของผ้าซิ่นตีนแดง ทำให้ยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

“เอกลักษณ์ของผ้าซิ่นตีนแดง หรือซิ่นหัวแดง คือ เป็นผ้าทอด้วยไหมทั้งผืน เส้นพุ่งจะใช้เส้นใหญ่ เส้นยืนจะใช้ไหมเส้นเล็ก ปัจจุบันทอทั้งแบบ 2 ตะกอ 3 ตะกอ และ5 ตะกอ ซึ่งจะได้เนื้อผ้าที่แตกต่างกับไป เช่น 1.การทอแบบ 2 ตะกอ ได้เนื้อผ้าลายขัดธรรมชาติมีสีเหมือนกันทั้งสองด้าน นิยมทอเป็นลวดลายง่ายๆ เช่น ลายหมากจับ 2.การทอแบบ 3 ตะกอ ได้เนื้อผ้าลายสองที่มีสีแตกต่างกัน ด้านหน้าจะเป็นสีเข้ม ด้านหลังจะเป็นสีอ่อน และ 3.การทอแบบ 5 ตะกอ จะเกิดลวดลายขึ้นบนผืนผ้า เช่น ลายสี่เหลี่ยมลูกแก้ว” ครูรุจาภา กล่าว

งานศิลปหัตถกรรมถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติ ผ่านการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ การสร้างสรรค์ผลงานจากรุ่นสู่รุ่น แต่หากความรู้เหล่านี้ไม่ถูกบันทึกรวบรวมไว้ย่อมลบเลือนหายไปตามกาลเวลา จึงต้องให้ความสำคัญกับครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่คุณค่าของผลงานหัตถศิลป์ให้กับผู้ที่สนใจได้รู้จักอย่างกว้างขวาง

เพื่อถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ปธ.กมธ.การศึกษาฯลุยแก้ปัญหา ‘คุณภาพการศึกษา’ ของโรงเรียนขนาดเล็ก ปธ.กมธ.การศึกษาฯลุยแก้ปัญหา ‘คุณภาพการศึกษา’ ของโรงเรียนขนาดเล็ก
  • ‘โสภณ ซารัมย์’ ชี้แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กถูกยุบ-แนะถ่ายโอนให้ท้องถิ่น ‘โสภณ ซารัมย์’ ชี้แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กถูกยุบ-แนะถ่ายโอนให้ท้องถิ่น
  • \'โรงเรียนห้วยราชพิทยาคม\' บุรีรัมย์ จัดมหกรรมว่าวอีสาน สืบสานประเพณีท้องถิ่น 'โรงเรียนห้วยราชพิทยาคม' บุรีรัมย์ จัดมหกรรมว่าวอีสาน สืบสานประเพณีท้องถิ่น
  • ผู้ปกครองร้องประธาน กมธ.ศึกษาฯ ไม่ให้ยุบรร.ขนาดเล็ก 3 แห่งที่บุรีรัมย์ ชี้ ผู้ปกครองร้องประธาน กมธ.ศึกษาฯ ไม่ให้ยุบรร.ขนาดเล็ก 3 แห่งที่บุรีรัมย์ ชี้
  • จ่อเชือด‘ผอ.กศน.’!ตั้งกก.สืบข้อเท็จจริง‘นอนอยู่บ้านกินเงินเดือน’ ผิดจริงฟันโทษวินัยแน่ จ่อเชือด‘ผอ.กศน.’!ตั้งกก.สืบข้อเท็จจริง‘นอนอยู่บ้านกินเงินเดือน’ ผิดจริงฟันโทษวินัยแน่
  • ‘รร.บ้านโนนสูงน้อย บุรีรัมย์’ดันร้านกาแฟ CP สานฝันเด็กไทย คอนเน็กซ์ อีดี ปูทางอาชีพนักเรียน ‘รร.บ้านโนนสูงน้อย บุรีรัมย์’ดันร้านกาแฟ CP สานฝันเด็กไทย คอนเน็กซ์ อีดี ปูทางอาชีพนักเรียน
  •  

Breaking News

ย้ายค่ายเบอร์เดิม! 'ธีรศิลป์'เปิดตัวร่วมทัพแบงค็อก

'ภูมิธรรม'ปัดตอบรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ลั่นรอถวายสัตย์ปฏิญาณก่อน

'อิ๊งค์'น้อมรับคำสั่งศาล พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ยันทำเพื่อรักษาอธิปไตย

'ทิดอาชว์'ยังล่องหน! ตอบยากยังอยู่ในไทย หรือหลบหนีช่องทางธรรมชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved