กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมกับ สมาคมไทยคอมโพสิท ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย หนุนวัสดุคอมโพสิทตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และ สมาคมไทยคอมโพสิท จัดแถลงข่าวการบูรณาการความร่วมมือด้านวัสดุคอมโพสิท เพื่อเป็นโอกาสขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และการบินในประเทศไทย ที่มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการทดสอบเฉพาะทางวัสดุและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์คอมโพสิทสำหรับโครงสร้างอากาศยานด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและมีความเชี่ยวชาญให้ได้มาตรฐานสากล ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารหอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งเน้นการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรม เป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve จึงให้ความสำคัญการส่งเสริมให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญและส่งเสริมให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยของห้องปฏิบัติการวัสดุและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์จากคอมโพสิท เพื่อเตรียมการและผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ อาทิ ด้านยานยนต์สมัยใหม่และการบินที่เป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวผ่านกับดักรายได้ปานกลางระดับสูงในอนาคต อีกทั้งวัสดุคอมโพสิทเป็นวัสดุสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าทั้งมีน้ำหนักเบาแต่ยังคงความแข็งแรง ช่วยประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีโครงสร้างน้ำหนักเบา อีกทั้งเป็นวัสดุที่สามารถประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมหลากหลายทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการต่อเรือ และอื่นๆ
นางเทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นหน่วยงานวิจัย พัฒนา นวัตกรรมและสร้างมาตรฐานด้วย NQI/MSTQ ทางด้านทดสอบวัสดุและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์จากคอมโพสิทสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และการบิน จึงให้ความสำคัญการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยของห้องปฏิบัติการวัสดุและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์จากคอมโพสิทขึ้นในประเทศไทย เพื่อผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ อาทิ ด้านยานยนต์สมัยใหม่และการบิน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของประเทศ
นายดนู โชติกพนิช นายกสมาคมไทยคอมโพสิท กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินการด้านห้องปฏิบัติการจะช่วยสนับสนุนภาคเอกชนทำให้การผลิตได้มาตรฐาน แข่งขันสู่ตลาดต่างประเทศได้ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการได้พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบเฉพาะทางวัสดุและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์คอมโพสิทต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีการร่วมมือพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ทันสมัย เป็นการแสดงพลังความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชนเป็นแนวโน้มการสร้างความเข้มแข็งที่ดีในตลาดโลก
ดร. จริยาวดี ศิริจันทรา นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ นักวิจัยด้านวัสดุคอมโพสิท กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ชี้แจง ว่า วัสดุคอมโพสิทที่ใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ตามโรดแมพหรือยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในอุตสาหกรรม S-Curve โดยเฉพาะ New S-Curve วัสดุคอมโพสิทเป็นวัสดุที่ได้มีการกำหนดไว้ในโรดแมพว่ามีความสำคัญ การพัฒนามีแนวโน้มจะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอากาศยาน อย่างเช่น โดรน UAV เครื่องบินขนาดเล็ก หรือศูนย์โครงสร้างซ่อมบำรุงชิ้นส่วนคอมโพสิท ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการมีความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม ด้านวัสดุคอมโพสิท โดยร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายที่เป็นภาคเอกชนผู้ผลิต ผู้ใช้งาน เพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่จะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ไม่เกิน 5 ปีนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี