วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รักษ์เกษตร : การใช้ปุ๋ยยูเรียให้มีประสิทธิภาพ

รักษ์เกษตร : การใช้ปุ๋ยยูเรียให้มีประสิทธิภาพ

วันอังคาร ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : รักษ์เกษตร
  •  

คำถาม ขอทราบความรู้เรื่อง การใช้ปุ๋ยยูเรียให้มีประสิทธิภาพ และมีวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมอย่างไรบ้างครับ

จิรากร โพธิ์ทองคำ

อ.หนองแซง จ.สระบุรี

คำตอบ


ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูงที่สุด ธาตุไนโตรเจน เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ เป็นแก๊สเฉื่อย มีโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง อีกทั้งไนโตรเจนไม่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้โดยง่าย ทำให้ในธรรมชาติและในดิน มีไนโตรเจนซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงมีความจำเป็นต้องเติมธาตุอาหารไนโตรเจนกลับลงสู่ดินในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ ในรูปของปุ๋ยยูเรีย

เมื่อเติมปุ๋ยยูเรียลงในดิน กระบวนการที่เกิดคือ เมื่อปุ๋ยยูเรียละลายน้ำ จะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลาย จะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้น จะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้

วิธีใช้ปุ๋ยยูเรีย ให้พิจารณาจาก ลักษณะของดิน ปริมาณของสารอาหารในดิน และที่สำคัญขึ้นอยู่กับประเภท ชนิดของพืช และพันธุ์พืชที่ปลูก ปุ๋ยยูเรียที่ใช้ ใช้สูตร 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีมาก และพืชสามารถดูดซึมธาตุไนโตรเจนไปใช้ได้ ทั้งจากทางรากและทางใบ และควรต้องใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินเปียกชื้นพอเหมาะ

คำแนะนำการใช้ปุ๋ยยูเรีย เป็นผลจากการทดลองของนักวิชาการเกษตร อาจารย์ คณาจารย์จากสถาบันการเกษตรของประเทศ ได้ให้ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยยูเรียเบื้องต้น ดังนี้

การใช้ปุ๋ยยูเรียในนาข้าว สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตราไร่ละ 5-10 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงก่อนข้าวออกดอก 30 วัน สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงหลังปักดำข้าว 35-45 วัน

การใช้ปุ๋ยยูเรียกับอ้อย ให้ใช้ยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง เท่าๆ กัน ครั้งแรก ใส่หลังปลูกประมาณ 1 เดือน ครั้งที่สอง ใส่หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน สำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ให้ใส่ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สอง หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว และสำหรับอ้อยตอ ในเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว

การใช้ปุ๋ยยูเรียกับสับปะรด ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบหลังจากปลูก 30 วัน

การใช้ปุ๋ยยูเรียกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบเมื่อมีอายุ 25-30 วัน

การใช้ปุ๋ยยูเรียกับพืชผักต่างๆ ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 โดยแบ่งอัตราการใส่ปุ๋ยยูเรีย ออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อต้นพืชอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยยูเรีย อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม ครั้งที่สอง ใช้หลังหว่านปุ๋ยยูเรีย ครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม

ข้อควรระวังของการใช้ปุ๋ยยูเรีย การใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไป จะทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม มีใบเพิ่มผิดปกติ อาจทำให้พืชเฉาและตายได้ ได้ผลผลิตต่ำ ต้นข้าว จะเมล็ดเล็กลีบ ทำให้ต้นพืชอ่อนแอไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่าย ทั้งยังทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง รากพืชไม่สามารถชอนไชหาอาหารได้ ทำให้ดินเค็ม และทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี

ดังนั้น เกษตรกร ต้องศึกษาลักษณะของดิน ปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน ก่อนการเพาะปลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรไม่สามารถคาดเดาได้ สามารถทำได้โดยส่งดินไปตรวจสอบที่หน่วยงานการเกษตร เพื่อจะได้รู้ปริมาณปุ๋ยและแร่ธาตุที่มีเหลืออยู่ในดินของท่าน เพื่อจะได้เลือกประเภทปุ๋ย และสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนช่วงเวลาที่ถูกต้องในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุด ไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยเคมี เกษตรกรควรใช้ร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ด้วย จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต และรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืนตลอดไป ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ

นาย รัตวิ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ณัฐวุฒิ'บ่นยับ! บอกเสียดายโอกาส! 'ทักษิณ'พลาดบินกาตาร์พบ 'โดนัลด์ ทรัมป์'

บุกทลายปาร์ตี้สระน้ำ ชาวอินเดียกว่า 200 คน สร้างความเดือดร้อนชาวบ้านในพื้นที่

ผงะ! พบเจ้าของรถแบคโฮเสียชีวิตปริศนาในป่ารกร้างนนทบุรี

หนุ่มใหญ่นครพนมดับสลด! คาดก๊งหนักวูบพลัดตกสระหัวทิ่มกลิ้งลงน้ำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved