สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เตือนหากมีอาการไอเลือดออกปริมาณมากเกิน 2 แก้วครึ่งต่อวัน ไอออกมาเป็นฟองมีเลือดเป็นลิ่มๆ ผสมกับเสมหะ ไอออกมามีเลือดสีคล้ำและมีเศษอาหารผสมคล้ายกากกาแฟ หรือไอเรื้อรังติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไปอาจมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการไอเลือดออก คือภาวะที่เกิดจากการไอแรงๆ หรือขากแรงๆ จนทำให้เส้นเลือดฝอยที่ผนังคอหอย รวมทั้งเพดานอ่อน
ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล ปริแตก จึงทำให้มีเลือดปนออกมากับเสมหะ ซึ่งอาการดังกล่าวไม่มีอันตรายหากหยุดไอแรงๆ หรือหยุดขากแรงๆ แต่ถ้ามีอาการไอแล้วเลือดที่ออกมาเป็นสีคล้ำดำหรือสีคล้ายเลือดหมูเก่าๆ และมักจะออกมาเป็นก้อนปนกับเสมหะหรือเป็นสีช้ำเลือดช้ำหนอง อาจเกิดจากโรคหลอดลมโป่งพองฝีในปอด มะเร็งปอด วัณโรค หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ และรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะทำให้รักษาหายได้เร็วยิ่งขึ้น
สำหรับอาการไอเลือดออก ที่บ่งชี้ว่าควรรีบไปพบแพทย์ คือ ไอเลือดออกปริมาณมาก เช่น ไอครั้งเดียวแล้วมีเลือดสดๆ ออกมาเกิน 1 แก้วน้ำ หรือ ใน 1 วันไอมีเลือดออกเกิน 2 แก้วครึ่ง และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ไอออกมาเป็นฟอง มีเลือดเป็นลิ่มๆ และมีเสมหะผสม ไอเลือดออกมามีสีคล้ำ และมีเศษอาหารผสมคล้ายกากกาแฟ อาจเป็นเลือดที่มาจากทางเดินอาหารที่กำลังมีปัญหา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง เป็นต้นสันนิษฐานได้ว่ามีความเสี่ยงอาจจะเป็นวัณโรคปอด ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี