วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ซอกแซกอาเซียน : 30 พฤษภาคม 2562

ซอกแซกอาเซียน : 30 พฤษภาคม 2562

วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ซอกแซกอาเซียน
  •  

ระบบฉันทามติ มีความจำเป็นมาก เพราะเป็นระบบที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ทำร้ายจิตใจแก่ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไม่มีความสุขหรือไม่สบายใจกับสิ่งที่เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบ แม้คนที่ไม่เห็นด้วยนั้นมีเพียงคนเดียวก็ตาม ทั้งนี้ เท่ากับเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เอาตามที่หมู่มากลากไปโดยไม่คำนึงถึงคนส่วนน้อย เพราะถ้าเป็นดังนั้น หวั่นเกรงว่าการรวมกันจะอยู่ไม่ยืด อาจมีสมาชิกบางคนไม่พอใจแล้วลาออกไปง่ายๆ อันนี้ต่างจากระบบการลงมติขององค์การสหประชาชาติ ที่แม้จะใช้ระบบเสียงข้างมากตัดสิน แต่สมาชิกก็ยังเกาะติดอยู่ไม่แยกตัวออกไป เนื่องจากประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกสหประชาชาตินั้นมีมากในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ ทว่าสำหรับแอปเตอร์เราได้ยึดถือระบบฉันทามตินี้มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้สามารถรวมตัวกันเป็นองค์กรที่แนบแน่นมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิด อาเซียนเองก็ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน

ระเบียบวาระพิเศษ ในการต่ออายุผู้จัดการทั่วไปของผมนี้ ความจริงก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมคณะมนตรีครั้งนี้ ก็ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และไทย เพื่อทำการประเมินความเหมาะสมในด้านต่างๆ ของผมมาก่อนแล้วในช่วงต้นปี ตอนนั้นคณะทำงานมาประเมินกันที่สำนักเลขานุการแอปเตอร์ในประเทศไทย ผมต้องนำเสนอผลงานที่ทำมาพร้อมตอบข้อซักถามต่างๆ จนกระทั่งคณะทำงานพอใจและให้คะแนนเห็นชอบ พร้อมทั้งนำมาเสนอที่ประชุมใหญ่ โดยระหว่างการพิจารณาในที่ประชุมใหญ่นั้น ผมต้องออกไปอยู่นอกห้องประชุม และผู้แทนคณะทำงานจะเป็นผู้นำเสนอ หลังจากนั้น ประธานในที่ประชุมจะใช้วิธีถามเป็นรายประเทศว่าจะรับรองยินยอมไหม จนเสร็จครบทุกประเทศที่มาประชุม ซึ่งต้องไม่มีค้านแม้แต่คนเดียว ปรากฏว่าผมได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกทุกประเทศให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีก 1 สมัย 3 ปี ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


เล่าเสียยาวเลย เรื่องของผม แต่ก็ได้เน้นให้ท่านผู้อ่านได้ทราบระบบและเจตนารมณ์ของการลงมติแบบต่างๆ ซึ่งน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ครับ การจัดประชุมคณะมนตรีแอปเตอร์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่โรงแรมในเมืองปุตราจายา ซึ่งเป็นเมืองใหม่ของมาเลเซียและเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ของประเทศ หลายท่านคงได้มีโอกาสไปสัมผัสมาแล้ว แต่บางท่านอาจไม่เคยไป ก็อยากจะเล่าสักเล็กน้อยว่า มันเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่ต้องการแก้ปัญหาความแออัดของเมืองหลวงอย่างกัวลาลัมเปอร์ จึงย้ายสถานที่ราชการหน่วยงานต่างๆ ให้ไปอยู่อีกที่หนึ่ง ความจริงวิธีการแบบนี้ ไม่ใช่ของใหม่ หลายประเทศนิยมทำมาแล้ว ในสหรัฐอเมริกา เมืองที่เป็นศูนย์ราชการของประเทศ หรือของรัฐ หรืออาจเรียกว่าเมืองหลวงก็ได้ มักจะไม่ใช่เมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งค้าขายท่องเที่ยวหรือเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ ในฟิลิปปินส์เองก็มีการย้ายศูนย์ราชการออกไปจากกรุงมะนิลาไปอยู่เมืองเกซอน แต่เผอิญไปไม่ไกล ปัจจุบันจึงกลายเป็นเมืองติดกันกับกรุงมะนิลาที่แผ่ขยายออกไปแบบหนีไม่ออก แก้ความแออัดไม่ได้ ประเทศไทยเราก็คิดเรื่องนี้มามาก เริ่มตั้งแต่จะไปตั้งเมืองหลวงที่เพชรบูรณ์ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม (แต่แพ้มติย้ายเมืองในสภาฯ) และก็มีพูดถึงย้ายไปฉะเชิงเทราบ้าง เขื่อนป่าสักบ้าง แต่ก็ไม่สำเร็จสักที ทั้งนี้ เพราะบ้านเรามีคนชอบค้านเยอะ คิดจะทำอะไรจึงสำเร็จยากมาก ดีไม่ดีอาจถูกกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ หรือเอื้อนายทุน เสียผู้เสียคนมาก็เยอะแล้ว บ้านเมืองเลยไปไม่ถึงไหน อ้าว พูดไปพูดมากลับบ่นถึงเรื่องสังคมไทยไปเสียนี่ คือกำลังจะชื่นชมกับประเทศมาเลเซียที่เขาคิดและทำได้ตามที่คิด การตั้งเมืองปุตราจายา ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไกลพอสมควร นั่งรถก็คงเกือบชั่วโมง กว่าเมืองจะขยายมาติดกันคงนานทีเดียว การมาตั้งเมืองศูนย์ราชการใหม่ ทำให้กัวลาลัมเปอร์ หลวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รถราไม่ติด หรือติดน้อยมาก การปรับผังเมืองเพื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนมีประสิทธิภาพมาก จากที่เป็นเมืองธรรมดาไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก กลับกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญและมีความสะดวกสบายเกือบเทียบเท่าสิงคโปร์ไปแล้ว การย้ายเมืองศูนย์ราชการอีกประเทศที่สุดโต่งไปอีกด้าน คือ กรุงเนปิดอว์ ของเมียนมา ที่นั่นย้ายไปไกลลิบแบบหนีเข้าป่าดงไปเลย ทั้งเมืองจึงมีแต่ตึกอาคารทำงานของราชการ อาจมีตลาดอยู่บ้างก็เป็นศูนย์การค้าใหญ่ไม่กี่แห่ง และก็มีโรงแรมใหญ่ๆ ที่ไม่ค่อยมีแขกพักมากนัก มาจบเรื่องเมืองหลวงที่เมียนมา แต่ยังมีเรื่องเล่าอื่นอีกเยอะ รออ่านครับ

ชาญพิทยา ฉิมพาลี

chanpithya@apterr.org

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved