วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สั่งเกษตรจังหวัดทั่วปท. ลุยตรวจแปลงปลูกปราบเชื้อใบด่างมันฯ

สั่งเกษตรจังหวัดทั่วปท. ลุยตรวจแปลงปลูกปราบเชื้อใบด่างมันฯ

วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : โรคใบด่างมันสำปะหลัง
  •  

หลังพบการรายงานการพบโรคใบด่างมันสำปะหลัง(CMD)  กำลังระบาดในขณะนี้ ได้สั่งการให้ เกษตรจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ที่มีอยู่ ประมาณ 8.9 ล้านไร่และแนวชายแดนโดยเฉพาะจังหวัด สระแก้ว นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จันทบุรี ปราจีนบุรี จัดทีมเจ้าหน้าที่เกษตรและร่วมกับเกษตรกร ลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงปลูกมันสำปะหลัง ทั่วประเทศ ทุกต้น และรายงานให้กรมฯ ทราบ ภายใน 15 ก.ค. 2562 นี้

นายสำราญ  สาราบรรณ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่มีรายงานการพบโรคใบด่างมันสำปะหลังในหลายจังหวัด ดังนั้นเพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้กระจายไปยังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดอื่นๆ จึงได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรทุกจังหวัด ที่มีแปลงปลูกมันสำปะหลัง ที่มีพื้นที่ปลูกประมาณ 8.9 ล้านไร่ เฝ้าติดตามการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยจัดทีมลงพื้นที่สำรวจทุกต้น และรายงานให้กรมฯ


อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ขอความร่วมมือเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง ตรวจสอบแปลงของตัวเอง หากพบลักษณะอาการใบเป็นด่าง เหลือง เสียรูปทรง ลดรูป และยอดที่แตกใหม่จะแสดงอาหารด่างเหลือง ลำต้นแคระแกร็น เบื้องต้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่เข้าทำลายทันที นอกจากนี้ กำชับให้ทุกจังหวัด เตือนเกษตรกรห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน

สำหรับโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นโรคที่เพิ่งพบการระบาดในประเทศไทย สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย 80-100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลัง 1.เกษตรกรควรใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต้นที่ไม่เป็นโรคใบด่างมาปลูก ควรใช้ท่อนพันธุ์ในประเทศ ถ้านำเข้าจากต่างประเทศอาจเสี่ยงต่อการนำเอาท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสเข้ามาปลูก 2.เกษตรกรควรหมั่นเดินตรวจแปลงตั้งแต่เริ่มปลูกทุก 2 สัปดาห์ หากพบอาการผิดปกติสงสัยว่าจะเป็นโรคใบด่าง เช่น ใบหงิก ใบด่าง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ให้มาตรวจสอบและทำลาย จากนั้นเกษตรกรควรฉีดพ่นสารเคมีต้นที่เหลือในแปลงและแปลงข้างเคียง เพื่อทำลายแมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของโรค ติดตามการเกิดโรคใบด่างในแปลงต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์ 3.หากเกษตรกรมีข้อสงสัยหรือพบอาการโรคใบด่างมันสำปะหลังที่กล่าวมาข้างต้น สามารถแจ้งได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ศบ.ทก.ข้องใจเอกสารหลุด! ยันไทยไม่มีนโยบายปิดด่าน

‘วิน เมธวิน’ ร่วมกิจกรรม ‘เทศกาลอาหารผู้ลี้ภัยเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก’ ขอเป็นกระบอกเสียงเนื่องใน ‘วันผู้ลี้ภัยโลก’

ศาลรธน.นัดพิจารณาคลิปเสียงหลุด1ก.ค. เขย่าขวัญ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ลุ้น!ศาลรับ-ไม่รับพิจารณา

‘เข้ม-พิ้งค์พลอย’จับมือท้าทายอำนาจมืด ใน ‘เมืองแก้ว’ ร่วมทวงคืนความยุติธรรม เริ่ม 2 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved