วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ทั่วทิศถิ่น ส.ป.ก. : ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน’แก้แล้งในพื้นที่ส.ป.ก.

ทั่วทิศถิ่น ส.ป.ก. : ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน’แก้แล้งในพื้นที่ส.ป.ก.

วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag :
  •  

ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ถือเป็นภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรเป็นอย่างมาก จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า โดยปกติประเทศไทยมีปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,572.5 มิลลิเมตร ปริมาณฝนแต่ละพื้นที่ เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศแต่เนื่องจากในปี 2562 ฤดูร้อนมาเร็วอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติ ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ จึงคาดการณ์ว่าปริมาณฝนน้อยลงต่ำกว่าค่าปกติเฉลี่ยรอบ 30 ปี ร้อยละ 5 อาทิ ภาคเหนือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวม 30 ปี เดิม 1,230.9 มิลลิเมตร ในปีนี้ลดลงเหลือ 1,000 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวม 30 ปี เดิม 1,400 มิลลิเมตร ปีนี้ลดลงเหลือ 1,100 มิลลิเมตร ภาคกลาง ค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวม 30 ปี เดิม 1,275 มิลลิเมตร ในปีนี้ลดลงเหลือ 1,000 มิลลิเมตร

ในขณะที่รายงานของกรมชลประทานเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ระบุว่า สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ รวม 37,376 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างและสำหรับปริมาตรน้ำใช้การได้มีเพียง 13,452 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุใช้งานได้โดยปริมาตรน้ำในอ่างเมื่อเทียบกับปี 2561 (46,003 ล้าน ลบ.ม.) พบว่าปี 2562 มีปริมาตรน้ำน้อยกว่าปี 2561 จำนวน 8,627 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพียง 98.46 ล้าน ลบ.ม แต่มีปริมาณน้ำระบายมากถึง 103.82 ล้าน ลบ.ม. จึงต้องระวังเรื่องภัยแล้งใกล้ชิดและจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ช่วงหน้าแล้ง ซึ่งการทำ “ธนาคารน้ำใต้ดิน”เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาภัยแล้ง แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำขัง


โดยการขุดหลุมที่มีลักษณะก้นครก เพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาช่วงฤดูฝนลงสู่ใต้ดิน เป็นการกักเก็บน้ำ รักษาความชุ่มชื้นให้ผิวดินที่แห้งแล้ง ทำให้ต้นไม้บริเวณนั้นอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีฝนตกหนักก็มีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน เหมือนเป็นการฝากน้ำไว้แล้วค่อยถอน(สูบ) เอามาใช้หน้าแล้ง ซึ่งจากการทดสอบในหลายๆ พื้นที่ พบว่า ธนาคารน้ำใต้ดินที่มีขนาดกว้างเพียง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร สามารถเติมน้ำลงเข้าใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 5 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมงหรือประมาณ 5,000 ลิตร/ชั่วโมง ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี สำหรับการทำธนาคารน้ำใต้ดินทำได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และความจำเป็นในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรหากเป็นหลุมขนาดใหญ่ที่เกษตรกรนิยมทำคือ บ่อขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 7 เมตร มีความลาดชัน 45 องศา ไม่มีขอบบ่อสามารถเก็บน้ำได้ถึง3,300 ลูกบาศก์เมตร โดยต้องขุดให้ผ่านชั้นดินเหนียวไปจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำ และที่ตั้งของบ่อให้อยู่ในทิศทางที่รับน้ำฝนที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ ซึ่งจากหลักการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และการเคลื่อนที่ของโลก ทำให้น้ำใต้ดินไหลลงไปรวมกันและเก็บไว้ในชั้นใต้ดินกลายเป็นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล

ทั้งนี้ ขนาดความกว้าง ความยาวของบ่อขึ้นอยู่กับพื้นที่ แต่ต้องขุดให้ลึกเลยชั้นหินอุ้มน้ำที่มีรูพรุน จึงจะกักเก็บน้ำและไหลผ่านรูพรุนเพื่อสูบขึ้นมาใช้ได้ โดยการขุดบ่อเพื่อทำธนาคารน้ำใต้ดินนั้น เพียง 1 ปีสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดหลายปี เพราะน้ำยังซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดินได้ตลอดเวลา ส่วนน้ำบาดาลจะเกิดอยู่ในชั้นหินที่อิ่มตัว จึงกักเก็บน้ำได้ โดยหินที่จะเก็บน้ำบาดาลได้ดีต้องมีจำนวนช่องว่างมากและมีขนาดใหญ่ติดต่อถึงกัน เพื่อให้น้ำบาดาลไหลถ่ายเทได้ดี หากเป็นหินที่มีช่องว่างขนาดใหญ่ แต่ไม่ติดต่อถึงกัน ถึงแม้เก็บน้ำไว้ได้มากก็ไม่มีประโยชน์ในการเป็นแหล่งน้ำบาดาล

สำหรับในพื้นที่ส.ป.ก.ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรนำระบบธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้แก้ปัญหาภัยแล้งหลายพื้นที่ ซึ่งช่วยแก้ภัยแล้งในพื้นที่ ส.ป.ก.ได้ดี ยกตัวอย่าง คุณกุหลาบทิพย์ แก่นลา ผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่ คทช.อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี ซึ่งสมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเข้าฝึกอบรมเป็นเวลา 6 เดือน และได้รับการจัดสรรที่ดินให้เข้ามาทำกินเมื่อปี 2561 โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดชลบุรี เข้ามาดูแลให้คำแนะนำ แต่ช่วงแรกที่เข้ามาทำกินในพื้นที่ประสบปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภค บริโภคและทำการเกษตร เนื่องจากพื้นที่เดิมไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ แม้ทดลองขุดบ่อน้ำเพื่อกักเก็บน้ำ แต่เก็บได้ไม่นาน เมื่อหมดฤดูฝน ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเหมือนเดิม กระทั่งได้รับองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรจากการเข้าอบรมที่ศูนย์กสิกรรมมาบเอื้องและหาข้อมูลเพิ่มจากอินเตอร์เนต ทำให้ทราบว่าโดยธรรมชาติ เมื่อมีฝนตกลงมาน้ำจะซึมลงไปใต้ดินอยู่แล้ว และเมื่อขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้จำนวนมาก ทำให้น้ำบาดาลลดน้อยลงจนเกิดภาวะภัยแล้ง

ดังนั้น วิธีแก้ก็คือ ต้องเติมน้ำลงไปทดแทนด้วยการขุดบ่อลงไปเพื่อเติมน้ำหรือฝากน้ำไว้ในดินหรือที่เรียกว่าธนาคารน้ำใต้ดิน จึงนำมาปรับใช้ในพื้นที่ภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนทั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จากส่วนกลางและสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดชลบุรี ผลจากการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ทำให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี ปัจจุบันคุณกุหลาบทิพย์ สามารถทำการเกษตรได้โดยไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ พื้นดินชุ่มชื้น เน้นทำเกษตรแบบผสมผสาน ทำกินในพื้นที่ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดสรรให้ได้อย่างยั่งยืน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ก.เกษตรฯจัดมหกรรมสืบสานงานพ่อส่งต่อาชีพยั่งยืน ก.เกษตรฯจัดมหกรรมสืบสานงานพ่อส่งต่อาชีพยั่งยืน
  • ก.เกษตรฯกระชับความร่วมมือค้าสินค้าเกษตรไทย-อาร์เจนติน่า ก.เกษตรฯกระชับความร่วมมือค้าสินค้าเกษตรไทย-อาร์เจนติน่า
  • รมว.เกษตรฯใหม่เดินหน้าทำงานเร่งช่วยเหลือเกษตรกร รมว.เกษตรฯใหม่เดินหน้าทำงานเร่งช่วยเหลือเกษตรกร
  • รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ
  • \'กรมปศุสัตว์-CIB\'ผนึกกำลังปราบปรามลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ผิดกฎหมาย-ลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง 'กรมปศุสัตว์-CIB'ผนึกกำลังปราบปรามลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ผิดกฎหมาย-ลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง
  • พด.เร่งใช้ปลาหมอคางดำผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.เร่งใช้ปลาหมอคางดำผลิตน้ำหมักชีวภาพ
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved