วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ชง3แผนส้แล้ง สทนช.ชี้ฝนน้อยน้ำเขื่อนวิกฤติ เล็งดันลำตะคองโมเดล

ชง3แผนส้แล้ง สทนช.ชี้ฝนน้อยน้ำเขื่อนวิกฤติ เล็งดันลำตะคองโมเดล

วันอังคาร ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : น้ำอุปโภค-บริโภค ผู้ประสบภัยแล้ง ภัยแล้ง หน้าแล้ง
  •  

ชง3แผนส้แล้ง

สทนช.ชี้ฝนน้อยน้ำเขื่อนวิกฤติ

เล็งดันลำตะคองโมเดล

ต้นแบบบริหารจัดการ

สทนช.ย้ำปริมาณฝนน้อย น้ำในเขื่อนลด เฝ้าระวังอ่างฯ ขนาดกลาง 151 แห่ง คลอด 3 มาตรการสู้ภัยแล้ง เสนอนายกฯ ด้านอธิบดีกรมชลฯเร่งหาแหล่งน้ำเพิ่มน้ำต้นทุนผลิตประปาให้ประปาบุรีรัมย์ ขณะที่ รมช.เกษตรฯลงเรือตรวจลำน้ำลำตะคอง เล็งใช้เป็นโมเดลบริหารจัดการน้ำแล้ง-ท่วมในพื้นที่อื่น

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 8/2562 ว่า ที่ประชุมพิจารณามาตรการรับมือภัยแล้งช่วงฤดูฝน เพื่อเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีใน 3 มาตรการคือ มาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะสั้น และมาตรการระยะยาว


ชง3มาตรการแก้แล้งเสนอนายกฯ

โดยมาตรการเร่งด่วนได้แก่ ตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวส่วนกลางในภาวะวิกฤติ ซึ่งสทนช.จะทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหมและตั้งศูนย์ของจังหวัด เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เร่งปฎิบัติการฝนหลวงในภาคเหนือและท้ายอ่างเก็บน้ำ .สนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภคจากแหล่งน้ำใกล้เคียงในพื้นที่เสี่ยง เร่งขุดลอกเพิ่มความจุแหล่งน้ำในพื้นที่ประกาศภัยแล้ง-แล้งซ้ำซาก 144 โครงการ วงเงิน 1,226 ล้านบาท ปรับแผนขุดเจาะซ่อมแซมบ่อบาดาล การชดเชย เยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดต่อเนื่อง

นายสมเกียรติกล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการระยะสั้น จะเร่งรัดก่อสร้างและซ่อมแซมฝายชะลอน้ำใน 67 จังหวัด 30,000 แห่ง งบประมาณ 3,000 ล้านบาท ทบทวนปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างช่วงระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม-วันที่ 31 ตุลาคม เพื่อวางแผนใช้น้ำในฤดูแล้งปี 2563 สำรวจความต้องการใช้น้ำแต่ละพื้นที่ บริหารจัดการน้ำฝนในแหล่งกักเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมาตรการระยะยาวนั้น จะเร่งรัดโครงการแหล่งน้ำตามแผนแม่บท 20 ปี เชื่อมโยงโครงข่ายในพื้นที่น้ำท่วมและแล้งซ้ำซาก ให้เกิดภาวะสมดุลด้านน้ำ และกำหนดพื้นที่เพาะปลูกให้สอดคล้องกับแหล่งน้ำและปริมาณน้ำต้นทุน

ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วปท.มี47%

ทั้งนี้ ที่ประชุมติดตามประเมินสภาพอากาศ ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำปัจจุบันพบว่า มีปริมาณน้ำรวม 38,665 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 47% แบ่งเป็น ภาคเหนือ 9,183 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือ 34% ภาคกลาง 508 ล้าน ลบ.ม. หรือ 20% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,246 ล้าน ลบ.ม. หรือ 33% ภาคตะวันตก 18,284 ล้าน ลบ.ม. หรือ 68% ภาคตะวันออก 1,120 ล้านลบ.ม.หรือ 36% ภาคใต้ 5,323 ล้านลบ.ม. หรือ 50%

เฝ้าระวังอ่างฯขนาดกลาง151แห่ง

มีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% แบ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 19 แห่ง ซึ่งต้องเฝ้าระวังและอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีก 151 แห่ง โดยปริมาณน้ำต้นทุนมีน้ำน้อย แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลักคือ ปริมาณฝนตกช่วงฤดูฝน ปี 2561 ตกน้อยกว่าค่าปกติ ประมาณ 10- 17% มีการส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรที่เพาะปลูกเกินแผนในฤดูแล้ง ปี 61/62 โดยเฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกเกินแผนถึง 1.2 ล้านไร่ ทำให้ต้องจัดสรรน้ำมากกว่าแผน 20% หรือ 1,528 ล้าน ลบ.ม. และ มีปริมาณฝนตกจริงน้อยกว่าที่คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ประมาณ 30-40% ในภาคเหนือ กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้ต้องจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำให้พื้นที่การเกษตรมากกว่าแผน

20จว.เหนือ-อีสานเสี่ยงขาดแคลนน้ำ

นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ยืนยันคาดการณ์ปริมาณฝนที่จะตกในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม จะมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ 5-10% ส่วนครึ่งหลังของฤดูฝนตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติ และคาดว่า จะมีพายุพัดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูกช่วงเดือนสิงหาคม แต่จากสถิติฝนที่ตกจริง ช่วงเดือนมิถุนายน-15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ 30-40%ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเอลนีโญกำลังอ่อน ทั้งนี้ จากการประเมินของ สทนช.จะมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน 83 อำเภอ ใน 20 จังหวัด

หาแหล่งน้ำต้นทุนให้ประปาบุรีรัมย์

ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึง การช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งในจ.บุรีรัมย์ เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งแห้งขอดว่า สถานการณ์ภัยแล้ง ส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำในจ.บุรีรัมย์อยู่ในเกณฑ์น้อย ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆลดลงต่อเนื่อง กรมเร่งขุดร่องชักน้ำเข้าหัวสูบประปาและสูบน้ำรอบอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดมายังจุดสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคให้มากที่สุด พร้อมจัดหาแหล่งน้ำใกล้เคียง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำดิบผลิตประปา เช่น ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำจังหันไปยังสถานีสูบน้ำลำปลายมาศประมาณ 3 ล้าน ลบ.ม.ต่อเนื่อง โดยส่งน้ำได้วันละ 65,000 ลบ.ม. รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาน้ำบาดาลมาใช้ร่วมกันกับน้ำผิวดิน

สำหรับมาตรการระยะกลาง จะร่วมกับกรมการทหารช่างขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากและอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ขุดลอกเพิ่มความจุน้ำหน้าฝายสถานีสูบน้ำลำปลายมาศ และสร้างแนวผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปะเทียไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ส่วนมาตรการระยะยาว ประสานการประปาส่วนภูมิภาคตั้งสถานีผลิตน้ำประปาอ.โนนดินแดง โดยใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำลำนางรอง เพื่อเสริมความมั่นคงด้านการประปาเพื่อส่งให้อ.โนนดินแดง ประคำ นางรอง และอำเภอเมืองบุรีรัมย์ด้วย

กษ.ถกแก้แล้งเล็งใช้ลำตะคองโมเดล

วันเดียวกัน ที่ 88 กามองเต้ วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯประชุมร่วมกับนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำล่าสุดในเขื่อนลำตะคอง ก่อนลงพื้นที่ตรวจสภาพน้ำลำตะคอง ตั้งแต่วัดท่าตะโก ไปจนถึง ท่าน้ำวัดสุสาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ก่อนเผยว่า ผู้ว่าฯนครราชสีมารายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนลำตะคองมีปริมาณน้ำ 49% หรือประมาณ 155 ล้าน ลบ.ม.เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค เพราะมีระบบบริหารจัดการที่ดี ทั้งน้ำท่วมน้ำแล้ง จึงเตรียมนำไปเป็นตัวอย่างในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อื่น เพราะตอนนี้สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานค่อนข้างรุนแรง จึงต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือ เช่น ทำฝนหลวง นอกจากนี้ ยังเตรียมพัฒนาเขื่อนลำตะคองเป็นจุดระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วมเมืองด้วย

ลงเรือตรวจลำตะคอง-ถกทำฝนหลวง

สำหรับเขื่อนลำตะคอง ถือเป็นเขื่อนหลักใช้น้ำ เพื่อผลิตน้ำประปา อุปโภคบริโภคใน อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.ขามทะเลสอ อ.สูงเนิน อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ.โนนสูง ส่วนพื้นที่ในจ.นครราชสีมา ที่น่าเป็นห่วงคือ ประทาย ชุมพวง พิมาย โนนแดง เนื่องจากไม่มีชลประทานขนาดใหญ่ และสาขาลำน้ำมูลแห้ง จึงส่งผลให้เกิดปัญหา

จากนั้น ร.อ.ธรรมนัสและคณะลงเรือตรวจสภาพลำน้ำลำตะคองที่ท่าน้ำวัดท่าตะโก และไปขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำวัดสุสาน อ.เมือง จ.นครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างทางจะเห็นพนังดินกั้นน้ำที่ทรุมโทรม และมีวัชพืชสองฝั่งจำนวนมาก ขณะที่พื้นที่สองฝั่งบางส่วนเป็นป่านำรถขุดดินเข้ามาไม่ได้ ต้องใช้แรงงานคนในการพัฒนาสองฝั่งคลอง ต่อมาเวลา 14.00 น. ร.อ.ธรรมนัสประชุมร่วมกับกรมฝนหลวง เพื่อสั่งการทำฝนหลวงในพื้นที่ต่างๆ และจะประสานกระทรวงยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้ผู้ต้องขังมาช่วยจัดการเก็บผักตบชวา และประสานกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้ปรับปรุงทัศนียภาพสองฝั่งคลองให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ตลาดน้ำ และในสัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่อีสานเหนือ เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง.

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รองนายกฯ ลงพื้นที่โคราช สั่ง 4 มาตรการ เร่งแก้ปัญหาน้ำลำตะคองวิกฤต รองนายกฯ ลงพื้นที่โคราช สั่ง 4 มาตรการ เร่งแก้ปัญหาน้ำลำตะคองวิกฤต
  • โคราชภัยแล้งอ่วม! ‘ลำตะคองน้ำลดฮวบ’ ทำประปาเทศบาลนครเหลือเพียง 9% โคราชภัยแล้งอ่วม! ‘ลำตะคองน้ำลดฮวบ’ ทำประปาเทศบาลนครเหลือเพียง 9%
  • ทล.อุตรดิตถ์ที่2-แจกจ่ายน้ำประปา-ช่วยเหลือประชาชน-บรรเทาความเดือดร้อนภัยแล้ง ทล.อุตรดิตถ์ที่2-แจกจ่ายน้ำประปา-ช่วยเหลือประชาชน-บรรเทาความเดือดร้อนภัยแล้ง
  • บุรีรัมย์อากาศร้อน! ส่งผลน้ำดื่มบรรจุขวด-ขายดี3เท่า-จนแทบไม่พอจำหน่าย บุรีรัมย์อากาศร้อน! ส่งผลน้ำดื่มบรรจุขวด-ขายดี3เท่า-จนแทบไม่พอจำหน่าย
  • นายก อบจ.บุรีรัมย์ ระดม ‘จนท.-เครื่องจักร-รถน้ำ’ พร้อมลุยช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้ง นายก อบจ.บุรีรัมย์ ระดม ‘จนท.-เครื่องจักร-รถน้ำ’ พร้อมลุยช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้ง
  • บุรีรัมย์ประกาศ!! พื้นที่ประสบภัยแล้ง 7 อำเภอ ขอความร่วมมือชาวนางดทำนาปรัง บุรีรัมย์ประกาศ!! พื้นที่ประสบภัยแล้ง 7 อำเภอ ขอความร่วมมือชาวนางดทำนาปรัง
  •  

Breaking News

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved