วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วงเสวนาแนะแก้กฎหมาย'ประกันตัว-ขังแทนค่าปรับ' ชี้ขัดรธน.-บีบคนจนติดคุก

วงเสวนาแนะแก้กฎหมาย'ประกันตัว-ขังแทนค่าปรับ' ชี้ขัดรธน.-บีบคนจนติดคุก

วันศุกร์ ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562, 18.35 น.
Tag : กสม. แก้กฎหมาย ขังแทนค่าปรับ ขัดรธน. คนจนติดคุก จำคุก นักโทษ ประกันตัว ล้นคุก เสรีภาพ TIJ
  •  

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเสวนา "มาตรการด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อการลดการลงโทษทางอาญา" ในงานสัมมนา "การลงโทษทางอาญากับหลักสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2" ณ รร.เซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ถึงปัญหาผู้ต้องกักขังระหว่างการพิจารณาคดี หรือผู้ที่ไม่ได้รับการประกันตัวซึ่งจำนวนมากมีฐานะยากจนไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ว่า เรื่องนี้มีสาเหตุมาจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิฯอาญา) มีการเขียนคำว่า "ปล่อยชั่วคราว" เอาไว้

แต่ในรัฐธรรมนูญ เช่น รธน.ฉบับ 2560 มาตรา 5 ระบุว่า กฎหรือการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ถือว่าไม่สามารถใช้หรือกระทำได้ และมาตรา 29 ระบุว่า ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้ เรื่องนี้ตนตั้งข้อสังเกตว่า ป.วิฯอาญา ที่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว แสดงว่าปล่อยตัวเป็นเรื่องรอง จับขังไว้เป็นเรื่องหลักขัด รธน.หรือไม่ เพราะผู้ถูกกล่าวหายังไม่มีคำตัดสินจากศาลว่ากระทำผิด


"เรื่องนี้นักกฎหมายไทยพูดกันน้อยเกินไป รธน. ฉบับแรกที่วางหลัก Presumption of Innocent (ผู้ต้องหาหรือจำเลยคือผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา) คือ รธน.ฉบับ 2489 แต่ ป.วิฯอาญา ออกมาปี 2477 โดยที่ไม่เคยอนุวัฒน์ให้เป็นไปตาม รธน.เลย ความจริงท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ คงตั้งใจจะทำ เมื่อประกาศใช้ รธน.ฉบับ 2489 แต่ท่านถูกปฏิวัติก่อนในปี 2490 ตั้งแต่นั้นมา รธน.ทุกฉบับกลับมาใหม่ พอจะทำ อยู่ได้ 2 - 3 ปีถูกฉีกอีก สุดท้ายคนก็ลืมไปแล้วว่า ป.วิฯ อาญา มันต้องแก้" ผศ.ดร.ปริญญา กล่าว

รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการกักขังแทนค่าปรับในประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) มาตรา 29 ระบุว่าผู้ได้ต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับใน 30 วัน และไม่มีทรัพย์สินให้ยึดต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ตนตั้งข้อสังเกตว่าการเขียนกฎหมายแบบนี้ทำให้มีแต่คนจนเท่านั้นที่จะติดคุกใช่หรือไม่ เช่น ความผิดบางอย่างมีโทษเพียงจ่ายค่าปรับ หรือศาลสั่งลงโทษเพียงการปรับ คนสองคนทำผิดอย่างเดียวกัน คนที่ร่ำรวยก็จะไม่ต้องติดคุกเพราะมีเงินจ่ายค่าปรับ แบบนี้เรียกว่าความจนเป็นอาชญากรรมได้หรือไม่ในประเทศไทย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขกฎหมายอยู่บ้าง เช่น เพิ่มจำนวนเงินจากขัง 1 วันเท่ากับ 200 บาท เป็น 500 บาท หรือมาตรา 30/1 ของ ป.อาญา กรณีศาลสั่งปรับไม่เกิน 8 หมื่นบาท และเป็นบุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล หากไม่สามารถจ่ายค่าปรับให้ยื่นต่อศาลขอให้พิจารณาทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้ โดยศาลจะพิจารณาตามปัจจัยฐานะทางการเงิน ประวัติและสภาพความผิด

แต่ปัญหาที่พบว่ายังมีคนถูกกักขังแทนค่าปรับ เป็นเพราะคนเหล่านี้ไม่รู้และไม่มีผู้ใดแจ้งสิทธิให้ทราบ นอกจากนี้จากการทำงานของคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในโครงการกฎหมายเพื่อบริการสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หนึ่งในนั้นมีโครงการ “ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน” ซึ่งตนดูแลอยู่ ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา นศ.ได้ช่วยคนที่ต้องติดคุกเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าปรับออกมาได้ 25 คน โดยให้ทำงานบริการสังคมแทน ช่วยเขียนคำร้อง ช่วยอธิบายสิทธิดังกล่าวกับผู้ต้องขังจนศาลอนุมัติ

ถึงกระนั้นก็มีหลายกรณีที่ศาลไม่อนุมัติ เพราะติดที่ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน และแนวปฏิบัติในการให้ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับและการเปลี่ยนสถานที่กักขัง พ.ศ.2546 ข้อ 6 ได้ระบุความผิดหลายประการที่ไม่ศาลไม่ควรอนุมัติให้ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ ทั้งนี้มีความผิดหลายข้อหาที่มีโทษทั้งจำทั้งปรับ บางกรณีแม้ติดคุกครบแล้วก็ยังต้องถูกขังต่อหากไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ หรือกรณีศาลไม่ได้สั่งจำคุก ลงโทษเพียงการปรับแต่ต้องถูกขังเพราะไม่มีเงิน

"ปัญหาคือทั้งหมดที่พูดไปคือถ้ามีเงินจ่ายค่าปรับก็ไม่ต้องติดคุก แล้วใช้เกณฑ์หลักคิดอะไรในการบอกว่าความผิดพวกนี้ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับต้องติดคุก ก็ในเมื่อคำพิพากษาไม่ได้ให้ติดคุกอยู่แล้ว แล้วถ้าความผิดพวกนี้มีเงินจ่ายค่าปรับทั้งหมดก็ต้องไม่ต้องคุก คือที่ติดคุกก็จนไง ไม่เกี่ยวกับเรื่องความผิดฐานใด เรื่องนี้ขัด รธน.ผมต้องขอให้ท่านพิจารณาแก้ไข นาย ก. นาย ข. ทำผิดเหมือนกัน คนหนึ่งมีเงินจ่ายค่าปรับไม่ต้องติดคุก อีกคนติดคุกเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ แถมพอจะขอทำงานบริการสังคมยังถูกกีดกันอีก" ผศ.ดร.ปริญญา ระบุ

ผศ.ดร.ปริญญา ย้ำว่า ไม่มีความเหลื่อมล้ำใดในสังคมรุนแรงไปกว่าเรื่องการเอาคนมาขังคุกเพียงเพราะเป็นคนจนอีกแล้ว ในขณะที่หากเป็นคนมีเงินก็สามารถออกมาสู้คดีนอกคุกได้ หรือถ้ามีเงินจ่ายค่าปรับก็ไม่ต้องติดคุก ตนเห็นว่านี่คือที่สุดของความเหลื่อมล้ำ เพราะทุกคนก็มีครอบครัว ยิ่งคนเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องเลี้ยงลูก ดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า คำถามคือเอาคนเหล่านี้มาขังไว้เพื่ออะไร

ขณะที่ นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวเสริมว่า สำหรับศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งพิจารณาคดีของเด็กและเยาวชนนั้นใช้หลักการปล่อยเป็นหลัก-กักตัวไว้เป็นข้อยกเว้น เนื่องจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กไม่ต้องการให้เด็กไปเติบโตในสถานพินิจหรือสถานที่ใดตามคำพิพากษา แต่ต้องเติบโตในครอบครัวหรือชุมชนของเด็กเอง จึงจะสามารถกลับมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีได้

นอกจากนี้ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11 ระบุว่า ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดมีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิด ปัญหาการติดคุกเพราะไม่มีเงินประกันตัวหรือไม่มีเงินจ่ายค่าปรับจึงไม่ได้ละเมิดเฉพาะ รธน.แต่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย จึงเห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ

ด้าน นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เสนอแนะว่า กรณีค่าปรับนั้นควรคิดตามฐานะทางเศรษฐกิจ เพราะเงินจำนวนเท่ากัน เช่น ปรับ 4,000 บาท สำหรับคนจนหาเช้ากินค่ำอาจเห็นว่าเป็นจำนวนมากและไม่สามารถหามาจ่ายได้ แต่ต้องระบุแนวปฏิบัติให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติ อาทิ อะไรคือเกณฑ์ที่บอกว่าฐานะยากจน เรื่องนี้ต้องฝากทุกภาคส่วนมาช่วยกันคิดด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กสม.หวั่นส่งผลกระทบไทยหนัก ส่ง‘อุยกูร์’กลับจีน ชี้ชัดขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน กสม.หวั่นส่งผลกระทบไทยหนัก ส่ง‘อุยกูร์’กลับจีน ชี้ชัดขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
  • ‘กสม.’ชื่นชมรัฐบาลเอาจริงออกมติครม.แก้ปัญหา‘คนไร้รัฐ’ แต่ห่วงปัญหาทุจริตทะเบียนราษฎร์ ‘กสม.’ชื่นชมรัฐบาลเอาจริงออกมติครม.แก้ปัญหา‘คนไร้รัฐ’ แต่ห่วงปัญหาทุจริตทะเบียนราษฎร์
  • ‘อุบัติเหตุบนถนน’ปัจจัยทำเด็กเสียชีวิต ‘กสม.’ยกเคส‘รถบัสมรณะ’จี้ตั้งเป็นวาระเร่งด่วน ‘อุบัติเหตุบนถนน’ปัจจัยทำเด็กเสียชีวิต ‘กสม.’ยกเคส‘รถบัสมรณะ’จี้ตั้งเป็นวาระเร่งด่วน
  • ยธ.เร่งสำรวจ  ผู้ต้องขังทุกเรือนจำทั่วปท.  รับอภัยโทษวันมหามงคล ยธ.เร่งสำรวจ ผู้ต้องขังทุกเรือนจำทั่วปท. รับอภัยโทษวันมหามงคล
  • มติเอกฉันท์! ศาลรธน.ชี้กม.แพ่งฯให้\'ผัว-เมีย\'ฟ้องเรียกเงินจากชู้ได้ \'ขัดรธน.\' มติเอกฉันท์! ศาลรธน.ชี้กม.แพ่งฯให้'ผัว-เมีย'ฟ้องเรียกเงินจากชู้ได้ 'ขัดรธน.'
  • ‘กสม.’ประกาศรางวัลคลิปสั้น‘ฮักบ่Hate’ วงเสวนาขอสังคมลดสื่อสารสร้างเกลียดชัง-เพิ่มกฎหมายครอบคลุม ‘กสม.’ประกาศรางวัลคลิปสั้น‘ฮักบ่Hate’ วงเสวนาขอสังคมลดสื่อสารสร้างเกลียดชัง-เพิ่มกฎหมายครอบคลุม
  •  

Breaking News

พระราชดำรัส'ในหลวง' 'ทำหน้าที่ด้วยความสามารถ-จิตใจสุจริต' พระราชทาน ครม.ใหม่

'อิงฟ้า'เผยภาวะอารมณ์สวิงจากการทำงานหนัก จนวางแผนเกษียณ!?

‘ปชน.’ปัดเล่นเกมนับองค์ประชุมป่วน‘สภาล่ม’ เหน็บสะท้อนรัฐบาลไม่มั่นคง

’ทรู‘ยิงสด! คว้าสิทธิ์ถ่ายทอดซีเกมส์-พาราเกมส์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved