วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : อุโมงค์ผันน้ำ...อีกศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาภัยแล้ง

รายงานพิเศษ : อุโมงค์ผันน้ำ...อีกศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาภัยแล้ง

วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

โครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีก “ศาสตร์พระราชา” ที่กรมชลประทานได้สืบสาน ต่อยอด และขยายผลใช้แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ได้ทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศลำพะยัง ที่บ้านกุดตอแก่น รวมถึงสภาพความยากลำบากของราษฎรและการขาดแคลนน้ำเนื่องจากขาดระบบชลประทาน จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน


กรมชลประทานได้น้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าวมาดำเนิน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยดำเนินงานหลักๆ 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนาวี ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เริ่มก่อสร้างปี 2537 แล้วเสร็จในปี 2538 ซึ่งเดิมสามารถกักเก็บน้ำมีความจุ 3.50 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ก่อนจะปรับปรุงขยายเพิ่มเป็น 4.00 ล้าน ลบ.ม.ในปี 2543 มีพื้นที่เกษตรกรรมได้รับประโยชน์ประมาณ 4,600 ไร่ และส่วนที่ 2 เป็นการก่อสร้าง อุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดกาฬสินธุ์และมุกดาหาร โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2546 แล้วเสร็จในปี 2549

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศาสตร์บริหารจัดการน้ำโดยผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีปริมาณน้ำมาก มายังอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีปริมาณน้ำน้อย จากนั้นก็กระจายน้ำให้พื้นที่การเกษตรของลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน สร้างประโยชน์ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอเขาวงมากถึงประมาณ 12,000 ไร่ และยังทำให้ข้าวมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นถึง 2-3 เท่า นับเป็นความสำเร็จจากอุโมงค์ผันน้ำที่มาจากพระอัจฉริยภาพของในหลวง รัชกาลที่ 9 ในด้านบริหารจัดการน้ำ อันสอดรับกับคำว่า “ลำพะยังภูมิพัฒน์” ซึ่งหมายถึง “อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง”

ดร.ทองเปลว กองจันทร์

จากศาสตร์พระราชาด้วยการสร้างอุโมงค์ผันน้ำดังกล่าว กรมนำมาต่อยอดขยายผลแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยดำเนิน “โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา” จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งโครงการนี้ เป็นการพัฒนาลุ่มน้ำปิงตอนบนซึ่งมีลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆ 3 ลุ่มน้ำคือ ลุ่มน้ำแม่กวง ลุ่มน้ำแม่งัดและลุ่มน้ำแม่แตง ด้วยการเจาะอุโมงค์ส่งน้ำเพื่อส่งน้ำจากลำน้ำแม่แตง ในส่วนที่เกินความต้องการช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ประมาณ 113 ล้านลบ.ม.ต่อปี ไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลและผันน้ำส่วนเกินของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ประมาณ 47 ล้านลบ.ม.ต่อปี ผ่านอุโมงค์ส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา รวมปริมาณน้ำที่ผันประมาณ 160 ล้านลบ.ม.ต่อปี ซึ่งจะเพียงพอกับความต้องการ นอกจากนี้ กรมชลประทานยังจะดำเนินโครงการส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล กลับไปยังระบบส่งน้ำของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง เพื่อสนับสนุนให้พื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำแม่แตงในฤดูแล้งประมาณ 25 ล้านลบ.ม. ต่อปีทำให้ประชาชนที่อยู่ทั้ง 3 ลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำปิง ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นอีกลุ่มน้ำหนึ่งที่กรมชลประทานมีแผนที่จะนำศาสตร์พระราชาดังกล่าวมาแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยดำเนิน “โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล” เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวล้อม(EIA) ซึ่งเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มเจ้าพระยา มีความจุ 13,462 ล้าน ลบ.ม. แต่จากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ฝนตกท้ายเขื่อน น้ำไม่ไหลลงเขื่อน ทำให้เขื่อนภูมิพลยังเหลือช่องว่างเก็บน้ำได้อีกไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านลบ.ม. ดังนั้น กรมเริ่มศึกษาโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลดังกล่าว ซึ่งแนวทางเป็นไปได้มากที่สุดคือ การผันน้ำจากแม่น้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน มากักเก็บไว้ที่เขื่อนภูมิพล โดยสร้างอุโมงค์ผันน้ำความยาวประมาณ 60-68 กิโลเมตร จากแม่น้ำยวม มาลงแม่น้ำปิง บริเวณ บ้านแม่งูด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จากนั้นให้ไหลตามแรงโน้มถ่วงโลกลงสู่เขื่อนภูมิพล

“โครงการดังกล่าวหากทำสำเร็จจะสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้ลุ่มเจ้าพระยา แม้จะใช้เงินลงทุนสูงประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท แต่คุ้มค่าและมีผลกระทบน้อย โดยจะสร้างความมั่นคงให้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคอีกปีละ 300 ล้านลบ.ม. คิดเป็นมูลค่า 3,270 ล้านต่อปี ทำให้เปิดพื้นที่นาในเขตลุ่มเจ้าพระยาได้อีก 1.6 ล้านไร่ สนับสนุนน้ำการเกษตรในฤดูแล้งเพิ่มขึ้น 160,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 845 ล้านบาทต่อปี สิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ช่วยเพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าให้โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนภูมิพล อีกประมาณ 417 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1,147 ล้านบาทต่อปี” ดร.ทองเปลว กล่าว

อีกโครงการหนึ่งที่นำศาสตร์พระราชาในการสร้างอุโมงค์ผันน้ำฯไปปรับใช้คือ โครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อบรรเทาปัญหาแล้งใน 5 อำเภอ ของจ.กาญจบุรี ได้แก่ บ่อพลอย
ห้วยกระเจา เลาขวัญ หนองปรือและพนมทวน เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ถ้าผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งมีปริมาณน้ำแต่ละปีค่อนข้างมากมาช่วยพื้นที่ดังกล่าวจะแก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม โครงการอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)

“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ปัญหาน้ำที่เกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้อย่างยั่งยืนด้วย “ศาสตร์พระราชา”

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : กระทรวง อว. โดย บพท. กอดคอ 7 หน่วยงาน เปิดมิติใหม่  ‘สลายความรุนแรงชายแดนใต้ ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ’ รายงานพิเศษ : กระทรวง อว. โดย บพท. กอดคอ 7 หน่วยงาน เปิดมิติใหม่ ‘สลายความรุนแรงชายแดนใต้ ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ’
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved