วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เปิดผลวิจัยเด็กไทยยุค 4.0 น่าห่วงมาก พบเครียด-เรียนแน่น-เล่นน้อย-ความสุขหาย

เปิดผลวิจัยเด็กไทยยุค 4.0 น่าห่วงมาก พบเครียด-เรียนแน่น-เล่นน้อย-ความสุขหาย

วันเสาร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 16.49 น.
Tag : เด็กไทย สสส.
  •  

สสส.เปิดปมเด็กไทยยุค 4.0 จาก 7 ผลวิจัย พบเครียด เรียนแน่น เกินครึ่งกวดวิชา เวลาเล่นน้อยทำความสุขหดหาย ระดมนักวิชาการกลั่นแนวทางแก้ปัญหา-พัฒนาทักษะเด็กรุ่นใหม่ ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงผันผวน

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ชาติตั้งความหวังว่าอยากเห็นคนรุ่นใหม่ได้รับการพัฒนาทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยมีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น จึงต้องมีความรู้ที่ชัดเจนว่าปัจจุบันเราอยู่จุดไหนและจะต้องทำอะไร อย่างไร เพื่อไปให้ถึงภาพที่มุ่งหวัง ในปีที่ผ่านมา สสส. จึงสนับสนุนให้มีการศึกษาสถานการณ์ที่เด็กไทยกำลังเผชิญ ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยส่งเสริมต่อการพัฒนาของเด็กและเยาวชน ภายใต้ชุดโครงการ“การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยจํานวน 7 โครงการ ครอบคลุมหลายบริบทและหลายมิติของชีวิตเด็ก โดย ศ.ดร. พิริยะ ผลพิรุฬห์ หัวหน้าโครงการฯ ได้สังเคราะห์ผลการศึกษาทั้ง 7 โครงการวิจัยย่อยและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


"จากผลการวิจัยชัดเจนมากว่า เม็ดเงินในการลงทุนกับเด็กปฐมวัยของเรายังน้อยเกินไป ความสุขเด็กไทยในวัยเรียนเหลือน้อย วัยรุ่นมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมความเครียดตั้งแต่วัยเด็ก จากโครงสร้างครอบครัวที่มีความพร้อมแตกต่างกัน ความเหลื่อมล้ำของคุณภาพสถานศึกษา การแข่งขันในระบบการศึกษา เด็กแถวหลังที่ถูกละเลยจนเกิดเป็นกลุ่มที่อยู่เฉยๆ ไม่เรียนและไม่ทำงาน ปรากฎการณ์เหล่านี้พบทั้งเด็กจากครอบครัวฐานะดีและครอบครัวที่ยากไร้ ซึ่งเราไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปแบบนี้ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมจะต้องหารือกันว่าในท่ามกลางสิ่งที่เด็กไทยต้องเผชิญนี้ เราจะหนุนเสริมกลไกที่ช่วยเด็กได้อย่างไร ใครต้องมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างไร เพราะเราคิดแบบเดิมทำแบบเดิมไม่ได้แน่นอนหากต้องการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาคนตามยุทธศาสตร์ชาติ”นางสาวณัฐยา กล่าว

ด้าน ศ.ดร. พิริยะ ผลพิรุฬห์ หัวหน้าโครงการ “การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อก้าวทัน การเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” จากศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ผลจากโครงการย่อยทั้ง 7 โครงการ ได้แก่ 1.การศึกษางบประมาณรายจ่ายภาครัฐเพื่อการพัฒนาเด็กในช่วงอายุ 0 - 3 ปี ในประเทศไทย ยังมีไม่เพียงพอ 2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างครอบครัวประเภทต่าง ๆ บทบาทของบิดาและมารดากับการดูแลทางสาธารณสุขและพัฒนาการของเด็กช่วงอายุปฐมวัยในประเทศไทย พบว่าผู้ดูแลเด็กในครอบครัวแต่ละประเภทต้องการการหนุนเสริมจากภาครัฐแตกต่างกัน เช่น ครัวเรือนที่พ่อแม่อยู่ครบแต่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ครัวเรือนที่เด็กเล็กถูกเลี้ยงดูโดยญาติผู้ใหญ่ หรือครัวเรือนพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นต้น ทั้งนี้พบว่าศูนย์เด็กเล็กเป็นตัวช่วยที่สำคัญและภาครัฐควรขยายอายุในการรับเด็กเล็กเข้าสู่ศูนย์เด็กเล็กก่อนอายุ 2 ปี เพิ่มจำนวนศูนย์เลี้ยงเด็กให้เพียงพอเป็นต้น

3. ความสุขของเด็กไทยในวัยเรียน: เด็กประถมศึกษา (6 – 12 ปี) พบว่า เด็กประถมศึกษามีความสุขในระดับปานกลาง โดยปัจจัยความสุขที่เพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่ 4 ปัจจัยคือ ครอบครัว โรงเรียน โภชนการและการเล่น ซึ่งพบว่า เด็กต้องการชั่วโมงเรียนต่อวันน้อยกว่า 6 ชั่วโมง การใช้เวลาทำการบ้านน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน การเรียนเวลาเรียนพิเศษเชิงวิชาการน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน การได้รับความรักและการยอมรับฟังความคิดเห็นจากครู  4. การกวดวิชาในบริบทของระบบการศึกษาไทย ณ ศตวรรษที่ 21 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 67.02 และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 52.70 กวดวิชานอกเวลาเรียนปกติ และนักเรียนที่กวดวิชามีความสามารถด้านคิดวิเคราะห์ดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้กวดวิชา และยังพบว่าครูในโรงเรียนร้อยละ 35 มีรายได้อื่นนอกจากอาชีพครู โดยร้อยละ 52.05 ของครูที่มีรายได้อื่นมาจากการสอนพิเศษของโรงเรียน และร้อยละ 15.38 ของครูที่มีรายได้อื่น มาจากการเป็นติวเตอร์

5. การศึกษาการเล่นเกมของเด็กไทย นักเรียน ป.5-6 และ ม.1-3 พบว่า นักเรียนใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 21 นาทีต่อวันในการเล่นเกม  โดยผู้ชายเล่นเกมโดยเฉลี่ยต่อวันสูงกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ พบว่า ผู้ชายที่ติดเกมจะเล่นเกมโดยเฉลี่ยต่อวันสูงที่สุด โดยเท่ากับ 4 ชั่วโมง 40 นาที  6. การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านสเตมศึกษาของเด็กไทยเพื่อให้ก้าวไกลทันยุค 4.0 ในเด็กอายุ 15 ปี/ นักเรียนมัธยม เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมศักยภาพเด็กให้มีความพร้อมได้เป็นอย่างดี และ7. การพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการจ้างงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรมและเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในกิจกรรมการสะสมทุนมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างเหมาะสม ในเยาวชนอายุ 15-24 ปี พบว่า กลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการจ้างงาน การศึกษาหรือการฝึกอบรมมีระดับการพัฒนาทักษะชีวิตต่ำกว่าเยาวชนอื่นๆ ในทุกด้าน รวมถึงมีมุมมองและแนวคิดในการทำงานหรือการเรียนที่แตกต่างไป สำหรับผลการศึกษาจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ การสังเคราะห์เชิงนโยบาย และสร้างโมเดลระดับพื้นที่เพื่อช่วยในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กที่เชื่อมโยงจากบ้าน สู่ระบบการศึกษาและการเข้าสู่ภาคแรงงานของเยาวชนไทยต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : สสส.ชวนกินดีเพื่อสุขภาพ  มุ่งลดพฤติกรรมเสี่ยง NCDs รายงานพิเศษ : สสส.ชวนกินดีเพื่อสุขภาพ มุ่งลดพฤติกรรมเสี่ยง NCDs
  • เสี่ยงแต่จำเป็นต้องใช้! เด็กไทยสูญเสียเพราะ‘มอเตอร์ไซค์’ เร่งปลูกฝัง‘ขับขี่ปลอดภัย’ถึงสถานศึกษา เสี่ยงแต่จำเป็นต้องใช้! เด็กไทยสูญเสียเพราะ‘มอเตอร์ไซค์’ เร่งปลูกฝัง‘ขับขี่ปลอดภัย’ถึงสถานศึกษา
  • \'สสส.\'ผนึก 17 หน่วยงานชวนทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนต้นไม้ งดจุดธูป-เทียนลดฝุ่น PM2.5 'สสส.'ผนึก 17 หน่วยงานชวนทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนต้นไม้ งดจุดธูป-เทียนลดฝุ่น PM2.5
  • เด็กไทยสร้างชื่อ คว้า 3 เหรียญเงิน 1 ทองแดง บนเวทีคณิตศาสตร์โอลิมปิก เด็กไทยสร้างชื่อ คว้า 3 เหรียญเงิน 1 ทองแดง บนเวทีคณิตศาสตร์โอลิมปิก
  • สุดเจ๋ง! เด็กไทยคว้า 4 เหรียญรางวัล ในเวทีชีววิทยาโอลิมปิกที่คาซัคสถาน สุดเจ๋ง! เด็กไทยคว้า 4 เหรียญรางวัล ในเวทีชีววิทยาโอลิมปิกที่คาซัคสถาน
  • เฮดัง!!เด็กอาชีวะสุดเจ๋ง คว้า 6 รางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ เฮดัง!!เด็กอาชีวะสุดเจ๋ง คว้า 6 รางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved