กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะลิเฝ้าระวังการระบาดของหนอนเจาะดอกมะลิ โดยจะพบการเข้าทำลายระยะที่ต้นมะลิออกดอก มักพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่สีเหลืองเป็นฟองเดี่ยวๆ ตามกลีบดอก ก้านกลีบเลี้ยงใต้ใบ หรือรอยยอดอ่อน เมื่อตัวอ่อนหนอนฟักออกมาจากไข่จะเข้าทำลายดอกมะลิระยะดอกตูมที่มีขนาดเล็ก โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในดอกมะลิ ซึ่งเกษตรกรสามารถสังเกตลักษณะอาการของดอกมะลิเป็นรอยช้ำ จะเห็นมูลของหนอนเป็นขุยอยู่ภายใต้ดอก สีของดอกมะลิจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง สีน้ำตาลแห้ง เหี่ยวแห้ง และร่วงหล่น กรณีต้นมะลิไม่มีดอก หนอนจะเข้าทำลายกัดกินใบอ่อนหรือยอดอ่อน หากมีการระบาดรุนแรง จะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บดอกมะลิขายได้
แนวทางป้องกันกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ หากพบการเข้าทำลายของหนอนให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาดให้เกษตรกรพ่นสารทุก 4 วัน และไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงชนิดเดียวติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้หนอนเจาะดอกมะลิสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงชนิดนั้นได้ กรณีแหล่งที่หนอนเจาะดอกมะลิต้านทานสารเคมีให้ใช้อัตราส่วนของสารเคมีที่สูงขึ้น ให้เกษตรกรพิจารณาเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ ไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตให้เสียหายได้ตามความเหมาะสม สำหรับสารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส ห้ามใช้ในพื้นที่ปลูกพืชผักหรือพืชสมุนไพร พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่สาธารณะ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี