วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ปศุสัตว์จับมือ16ภาคีเครือข่าย  กำจัดกาฬโรคแอฟริกาในม้า

ปศุสัตว์จับมือ16ภาคีเครือข่าย กำจัดกาฬโรคแอฟริกาในม้า

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : กาฬโรคแอฟริกาในม้า ปศุสัตว์
  •  

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า สถานภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อวงการการเลี้ยงม้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคมีผลกระทบต่อการจัดการแข่งขันกีฬาในประเทศไทย การประกอบพิธีกรรม กิจกรรมสันทนาการ และการขนส่งเคลื่อนย้ายม้าในประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และนำรายได้เข้าประเทศ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนประสานงานในพื้นที่ ข้อมูล ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ กำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทย ได้รับการรับรองสถานะปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก และกลับมาดำเนินกิจกรรมต่างๆได้อย่างปกติในที่สุด ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลง (Memorandum Of Understanding) หรือ MOU การกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness)ของไทยครั้งนี้ มีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมลงนามรวม 17 หน่วยงาน ประกอบด้วย

กรมปศุสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมการสัตว์ทหารบก หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สัตวแพทยสภาภาคี คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย สมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย มูลนิธิม้าไทย ชมรมสัตวแพทย์บำบัดโรคม้าแห่งประเทศไทย


ทั้งนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)กำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) ของประเทศไทยนั้น ปฏิบัติตามหลักความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership, PPP) ขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เพื่อกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าให้หมดไปจากประเทศไทย และได้รับสถานะประเทศปลอดโรคกลับคืนมาในที่สุด ซึ่ง OIE ให้คำแนะนำให้ไทยทำPPP อย่างเป็นทางการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอคืนสภาพปลอดโรค ซึ่งในทางปฏิบัติกรมปศุสัตว์ร่วมมือกับทุกภาคส่วนอยู่แล้ว ภายใต้แผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเพื่อคืนสภาพปลอดโรคของประเทศไทย ทั้ง 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ระยะเผชิญเหตุ (กำลังอยู่ในระยะนี้) ระยะที่ 2 การเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคอุบัติซ้ำ และระยะที่ 3 การขอคืนสภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)

ด้านนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เป็นโรคระบาดสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงม้าเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว โดยพาหะสำคัญอย่างริ้น เหลือบและแมลงดูดเลือด จึงเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายวงกว้าง และป้องกันโรคในม้า ลา ล่อ และสัตว์ที่ไวรับต่อโรคชนิดอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียจากการระบาดของโรค ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnership เป็นกุญแจหลักที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จในการควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคระบาดสัตว์ให้หมดไปจากประเทศ ทั้งความร่วมมือด้านกำหนดนโยบาย วางแผนยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงานในพื้นที่ และห้องปฏิบัติการ โดยหน่วยงาน สมาคม และภาคีเครือข่ายที่ร่วมลงนามวันนี้ จะร่วมกันประสานข้อมูลเพื่อช่วยเฝ้าระวังโรค ขึ้นทะเบียน ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายม้าและสัตว์อื่นที่เป็นพาหะนำโรค การประชาสัมพันธ์เตือนภัยโรคระบาดและข้อปฏิบัติให้เจ้าของม้าทราบ สร้างชุมชนสัมพันธ์ผู้เลี้ยงม้าที่ตระหนักและยั่งยืนในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคทางอาการ อีกทั้งการร่วมพัฒนา ศึกษา วิจัยและสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการ และวางแผนกำจัดโรคที่ยั่งยืนต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ปศุสัตว์\'ยืนยันไม่พบสัตว์ป่วย-ตาย จากแอนแทรกซ์ ในหนองบัวลำภู 'ปศุสัตว์'ยืนยันไม่พบสัตว์ป่วย-ตาย จากแอนแทรกซ์ ในหนองบัวลำภู
  • ปศุสัตว์ใช้ข้าวโพดฝักหมัก  อาหารหยาบเลี้ยงโคเนื้อ-โคนม ปศุสัตว์ใช้ข้าวโพดฝักหมัก อาหารหยาบเลี้ยงโคเนื้อ-โคนม
  • เกษตรฯรุดส่งมอบ  โค-กระบือที่ยะลา  หนุนให้ทำปศุสัตว์  สร้างรายได้ยั่งยืน เกษตรฯรุดส่งมอบ โค-กระบือที่ยะลา หนุนให้ทำปศุสัตว์ สร้างรายได้ยั่งยืน
  • ปศุสัตว์ติวเข้ม ‘เกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อ’ ยกระดับคุณภาพการผลิต-การตลาด ปศุสัตว์ติวเข้ม ‘เกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อ’ ยกระดับคุณภาพการผลิต-การตลาด
  • \'ปศุสัตว์\'นิวไฮ ส่งออกปี 67 ทะลุ 3.2 แสนล้านบาท \'กลุ่มเนื้อสัตว์ปีก\'สร้างสถิติใหม่ 'ปศุสัตว์'นิวไฮ ส่งออกปี 67 ทะลุ 3.2 แสนล้านบาท 'กลุ่มเนื้อสัตว์ปีก'สร้างสถิติใหม่
  • \'รมว.เกษตรฯ\'พบUSABC สหรัฐฯ มุ่งผลักดันเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ สู่นานาชาติ 'รมว.เกษตรฯ'พบUSABC สหรัฐฯ มุ่งผลักดันเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ สู่นานาชาติ
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved