วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : ทุเรียนศรีสะเกษ มาตรฐาน GAP  ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ เดินหน้าออกใบรับรอง

รายงานพิเศษ : ทุเรียนศรีสะเกษ มาตรฐาน GAP ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ เดินหน้าออกใบรับรอง

วันพฤหัสบดี ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ทุเรียนศรีสะเกษ รายงานพิเศษ
  •  

นายสมชาย เชื้อจีน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปิดเผยว่า ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ มีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ประสานงานหลัก นอกจากจะทำหน้าที่ในการศึกษา ทดลอง เพื่อหาแนวทางในการทำการเกษตรในพื้นที่ภาคอีสานในด้านต่างๆ แล้ว ยังเป็นหน่วยตรวจรับรองมาตรฐานแปลงเกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP : Good Agricultural Practices)คือ แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน

ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการผลิตพืชอาหารมีความปลอดภัยได้มาตรฐานเดียวกับการส่งออก ทางศูนย์ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการปลูก การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ไปจนถึงการใช้สารเคมี การเก็บเกี่ยว และการบันทึกข้อมูล ภายใต้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อให้กระบวนการผลิตพืชอาหารมีความยั่งยืน อยู่บนพื้นฐานการลงทุนที่ไม่เกินตัว และเพื่อให้เกษตรกรมีภูมิคุ้มกันในการทำการผลิตและผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานสากล


และหนึ่งในชนิดพืชที่กำลังมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคก็คือทุเรียนศรีสะเกษ พันธุ์หมอนทอง เช่นเดียวกับทุเรียนภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ที่แตกต่างก็คือ ทุเรียนศรีสะเกษจะมีรสชาตินุ่ม หวานออกมัน เนื้อไม่เละ กลิ่นไม่ฉุน แตะลิ้นแล้วจะรู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน จึงเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคโดยทั่วไป โดยทางศูนย์ฯ ได้สนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำแนวทางการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ที่อิงภูมิอากาศและภูมิประเทศเป็นหลักมาดำเนินการ ซึ่งทุเรียนจากศรีสะเกษที่มีคุณภาพส่วนหนึ่งมาจากสภาพของดินที่ปลูกรวมไปถึงคุณภาพของน้ำ บวกกับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ในชั้นบรรยากาศที่เหมาะสม ด้วยได้รับผลจากบรรยากาศของเทือกเขาพนมดงรัก จึงได้ผ่านการรับรอง GI (Geographical  indicator หรือ ที่เรียกว่าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์)จากกระทรวงพาณิชย์

ล่าสุดได้มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามงานตรวจรับรองมาตรฐานแปลงทุเรียน ที่สหกรณ์ผู้ปลูกผักผลไม้ บ้านซำม่วง ตำบลซำอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ซึ่งการตรวจรับรองนั้นใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือ ต้องปราศจากการปนเปื้อนทางดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีการบันทึกวิธีการปฏิบัติในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนตามมาตรฐานสากล เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ

“สำหรับจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 8,000 ไร่ สามารถให้ผลผลิตแล้วประมาณ 3,000 ไร่ ผ่านการรับรองมาตรฐานแปลงแล้ว จำนวน 1,500 ไร่ และในปีการผลิต 2563 นี้ คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ผู้บริโภคประมาณ 4,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 600  ล้านบาท ซึ่งผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2563 นี้”นายสมชาย เชื้อจีน กล่าว

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ ยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษนั้นก็คือ การน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องการผลิตให้มีความมั่นคงทั้งการผลิตและการจำหน่ายด้วยการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการบริหารจัดการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน การรวมกันซื้อปัจจัยการผลิต การรวมกันขาย ทำให้มีอำนาจในการต่อรองเรื่องราคากับพ่อค้าคนกลาง และจากการดำเนินงานของศูนย์ฯ พบว่าเกษตรกรในพื้นที่มีความต้องการที่จะได้ใบรับรองมาตรฐานการผลิตพืช GAP เพื่อเป็นสิ่งการันตีในกระบวนการผลิตพืชอาหาร ว่ามีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐานการส่งออก และจากคุณภาพการผลิตที่ดีทำให้ปัจจุบันผลผลิตทุเรียนศรีสะเกษในแต่ละปี ไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ เพราะตลาดมีความต้องการสูง  จึงทำให้ราคาจำหน่ายสูงขึ้นด้วย

“สำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทยในปัจจุบันราคารับซื้อที่ตลาดเจียงหนาน และกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ที่ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนั่นหมายถึงราคาที่หน้าสวนจะต้องอยู่ที่ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัมเป็นอย่างน้อย ซึ่งทุเรียนศรีสะเกษ เป็นที่นิยมของคนไทยเป็นอย่างมาก ผลผลิตในแต่ละปีจึงจำหน่ายหมดภายในประเทศ”
นายสมชาย เชื้อจีน กล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : \'เฉลิมชัย\' เปิดงานมหกรรมผลไม้-ของดีป่าละอู ครั้งที่ 12 เน้นย้ำเกษตรกรรักษาคุณภาพชื่อเสียงทุเรียนไทย รายงานพิเศษ : 'เฉลิมชัย' เปิดงานมหกรรมผลไม้-ของดีป่าละอู ครั้งที่ 12 เน้นย้ำเกษตรกรรักษาคุณภาพชื่อเสียงทุเรียนไทย
  • รายงานพิเศษ : ‘ตำรวจไม่ทิ้งกัน’ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.นำคณะเยี่ยม  ผู้เสียสละจากเหตุปะทะในยะลา ปี 2550 รายงานพิเศษ : ‘ตำรวจไม่ทิ้งกัน’ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.นำคณะเยี่ยม ผู้เสียสละจากเหตุปะทะในยะลา ปี 2550
  • รายงานพิเศษ : ชาวผักไห่แห่ชมโขน‘พิพิธโขนวัดย่านฯพินิจภูษาจุฬาพัสตร์’ลานวัฒนธรรม-ยลศิลป์วัดย่านฯ-ยลภูษาจุฬาพัสตร์ปี2568 รายงานพิเศษ : ชาวผักไห่แห่ชมโขน‘พิพิธโขนวัดย่านฯพินิจภูษาจุฬาพัสตร์’ลานวัฒนธรรม-ยลศิลป์วัดย่านฯ-ยลภูษาจุฬาพัสตร์ปี2568
  • รายงานพิเศษ : มข.ร่วมขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลลุ่มน้ำโขง  นำเสนอผลงานนวัตกรรมใน Lao Digital Week 2025 รายงานพิเศษ : มข.ร่วมขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลลุ่มน้ำโขง นำเสนอผลงานนวัตกรรมใน Lao Digital Week 2025
  • ผวจ.ศรีสะเกษ  นำแต่งผลทุเรียน  เพิ่มประสิทธิภาพ ผวจ.ศรีสะเกษ นำแต่งผลทุเรียน เพิ่มประสิทธิภาพ
  • รายงานพิเศษ : บ้านโคกสูง จ.ขอนแก่น สานแหจับปลาขาย  สร้างรายได้เดือนละ 50,000 บาท ทั้งหมู่บ้าน รายงานพิเศษ : บ้านโคกสูง จ.ขอนแก่น สานแหจับปลาขาย สร้างรายได้เดือนละ 50,000 บาท ทั้งหมู่บ้าน
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved