วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘สอวช.’ดัน 5 ประเด็นเร่งด่วน ปลดล็อกกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา

‘สอวช.’ดัน 5 ประเด็นเร่งด่วน ปลดล็อกกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา

วันพุธ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563, 19.27 น.
Tag : ปลดล็อกกฎหมาย สอวช.
  •  

‘สอวช.’ดัน 5 ประเด็นเร่งด่วน ปลดล็อกกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา

23 กันยายน 2563 ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวในงานเสวนา “กฎหมายนวัตกรรม ครั้งที่ 2” ในหัวข้อ “ประเด็นเร่งด่วนในการผลักดันกฎหมายนวัตกรรมไทย”  จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดยเน้นย้ำว่านอกจากกฎหมายนวัตกรรมที่มีความสำคัญแล้ว นโยบายของการให้ทุนสนับสนุนก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน และล่าสุดในการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ก็มติเห็นชอบในหลักการของการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อปลดล็อกกระบวนการจัดหาพัสดุเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการ และการสร้างนวัตกรรมที่มีความซับซ้อนในการจัดหามากกว่าการจัดหาพัสดุปกติ


อย่างไรก็ตาม ดร.กิติพงค์ ยอมรับว่า การจะผลักดันกฎหมายนวัตกรรมออกมาให้เร็วนั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา เนื่องจากมีความซับซ้อนและเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็มีความพยายามผลักดันกฎหมายที่ใกล้จะเป็นรูปธรรม โดยยกตัวอย่างใน 5 เรื่อง คือ

(1) การปรับรูปแบบการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม จากเดิมที่เน้นการให้ทุนไปในภาครัฐ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หรือนักวิจัยภาครัฐ ซึ่งก็พบว่ามีข้อดีคือ นักวิจัยได้ทำงาน แต่ก็มีข้อจำกัดตอนทำให้เกิดผลทางเศรษฐกิจที่นักวิจัยเองอาจจะไม่เชี่ยวชาญด้านการตลาดและธุรกิจ โดยภายหลังจากที่ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในสภานโยบายฯ แล้ว ได้มีมติเห็นชอบในหลักการเรื่องระเบียบการให้ทุนกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานให้ทุนในระบบวิจัยได้ทั้งหมด เป็นการช่วยให้หน่วยงานของรัฐสามารถให้ทุนกับภาคเอกชนได้ ซึ่งในการรองรับระเบียบนี้ เรามีหน่วยบริหารและจัดการทุน หรือ พีเอ็มยู 7 แห่ง โดยในบางพีเอ็มยู มุ่งให้ทุนในส่วนที่ทำให้ผลงานวิจัยออกไปประกอบการเชิงธุรกิจอุตสาหกรรม และจัดสรรเงินเป็นก้อนอย่างต่อเนื่อง จนงานวิจัยสำเร็จ เช่น ในช่วงวิกฤตโควิด 19 จะเห็นว่ามีชุดตรวจที่ได้ผลเร็ว ต้นทุนต่ำลงออกมา นั่นก็เป็นทุนสนับสนุนที่ทางพีเอ็มยู ให้กับบริษัทโดยตรงทำให้เกิดผลผลิตเร็ว ไม่ติดขั้นตอนที่ต้องผ่านระบบมหาวิทยาลัย

(2) พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ที่ใช้เวลาผลักดันยาวนานมากกว่า 10 ปี และคาดว่าจะนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีไม่เกินสัปดาห์หน้า โดยผลของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะทำให้หน่วยงานวิจัยและคนทำวิจัย ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ จะสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยเอง ไม่ต้องเป็นเจ้าของร่วมกับหน่วยงานให้ทุนเช่นที่ผ่านมา และสามารถขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้ทันที  ไม่ต้องรอการเจรจาที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หากเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับดิจิทัล หรือ ไอที ก็คงล้าสมัยไม่ทันต่อสถานการณ์

(3) เวลาทำวิจัยกับนวัตกรรม จะมีปัญหาของกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา และได้ทำเป็นร่างประกาศเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับงานวิจัยและนวัตกรรมโดยเฉพาะ ได้นำเข้า สภานโยบายฯ เพื่อพิจารณาแล้วตามที่กล่าวในตอนต้น โดยในขั้นตอนต่อไปก็จะประสานกรมบัญชีกลางให้พิจารณาประกาศออกมา ซึ่งจะทำให้คล่องตัวและปลดล็อกหลายอย่าง เช่นการซื้อของจากต่างประเทศ หรือซื้อคุรุภัณฑ์ในชุมชน แต่เดิมหากจบสิ้นการวิจัยก็จะเก็บกลับเพราะเป็นของหลวง แต่ต่อไปสามารถมอบให้กับชุมชนได้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้

(4) การส่งเสริมการลงทุนรัฐเอกชนในธุรกิจนวัตกรรม ส่งเสริมมหาวิทยาลัยกับสถาบันวิจัยภาครัฐ โดยใช้กลไก Holding Company

(5) Innovation Sandbox กำลังผลักดันออกมาเป็น พ.ร.บ. แต่ยังไม่คืบหน้ามากนักเนื่องจากมีความซับซ้อน ขณะเดียวกันก็จะทำวิจัยไปด้วย โดย สอวช.ได้ทำเรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยหลักการคือต้องสามารถหมุนเวียนทรัพยากรของเสียจากโรงงานหนึ่ง เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบอีกโรงงานหนึ่ง แต่หากข้ามเขตกันก็จะติดกฎหมายทำไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ตัวกฎหมายใน Innovation Sandbox จัดการเพื่อปลดล็อกความยุ่งยากดังกล่าว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รวมพลังนักวิจัย SHA ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทยด้วยความรู้เพื่อสังคมยั่งยืน รวมพลังนักวิจัย SHA ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทยด้วยความรู้เพื่อสังคมยั่งยืน
  • ‘สอวช.-นิด้า’เปิดตัวโครงการยกระดับ Pride Thailand ใช้วิจัยขับเคลื่อนเทศกาลไทยสู่สากล ‘สอวช.-นิด้า’เปิดตัวโครงการยกระดับ Pride Thailand ใช้วิจัยขับเคลื่อนเทศกาลไทยสู่สากล
  • ‘สอวช.’ดัน‘พ.ร.ฎ.ยกเว้นภาษี’หนุนการศึกษาเชิงประสบการณ์ คาดผลประโยชน์ 1.1 หมื่นล้าน ‘สอวช.’ดัน‘พ.ร.ฎ.ยกเว้นภาษี’หนุนการศึกษาเชิงประสบการณ์ คาดผลประโยชน์ 1.1 หมื่นล้าน
  • ‘สอวช.’เปิด 6 ปัจจัยแนะ‘มหาวิทยาลัยไทย’มุ่งสู่ความสำเร็จ รับโลกเปลี่ยน ‘สอวช.’เปิด 6 ปัจจัยแนะ‘มหาวิทยาลัยไทย’มุ่งสู่ความสำเร็จ รับโลกเปลี่ยน
  • ครบ 6 ปี สอวช.!‘ดร.สุรชัย’เดินหน้า‘อววน.’ปี 68-71 รับมือโลกเปลี่ยนไว ใช้ Foresight นำไทยสู่อนาคต ครบ 6 ปี สอวช.!‘ดร.สุรชัย’เดินหน้า‘อววน.’ปี 68-71 รับมือโลกเปลี่ยนไว ใช้ Foresight นำไทยสู่อนาคต
  • ‘สอวช.’จับมือ‘มจธ.’เปิดหลักสูตร STIP รุ่น 7 ปั้นนักออกแบบนโยบายรับมือการเปลี่ยนแปลง ‘สอวช.’จับมือ‘มจธ.’เปิดหลักสูตร STIP รุ่น 7 ปั้นนักออกแบบนโยบายรับมือการเปลี่ยนแปลง
  •  

Breaking News

ชำแหละ 4 ข้อ 'ทักษิณ'โชว์วิสัยทัศน์! 'หลงยุค หลงตัวเอง ขายฝัน แก้ตัว'

'ยุน ซอกยอล'อดีตปธน.เกาหลีใต้ติดคุกอีกรอบ ศาลอนุมัติหมายจับหวั่นหลักฐานถูกทำลาย

'วัส ติงสมิตร'ชี้'หมอ-พยาบาล-จนท.ราชทัณฑ์'ไม่รอด เตรียมรับวิบากกรรม ป่วยทิพย์ชั้น 14

นักธุรกิจการเมืองทำรัฐล้มเหลว! 'สมชาย'ชี้คอร์รัปชันเชิงนโยบาย บ่อนทำลายพลังอำนาจแห่งชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved