วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังด้วงแรดมะพร้าว

เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังด้วงแรดมะพร้าว

วันพฤหัสบดี ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : เกษตรกร ด้วงแรดมะพร้าว
  •  

ด้วงแรดมะพร้าว พบได้ทั้งระยะที่ต้นมะพร้าว ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว เริ่มแรกจะพบตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว โดยเจาะทำลายยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ ทำให้ใบใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว คล้ายหางปลาหรือรูปพัด กรณีถูกทำลายมาก ใบที่เกิดใหม่จะแคระแกรน รอยแผลตรงเนื้อเยื่ออ่อนที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าวางไข่ หรือเกิดยอดเน่าจนถึงต้นตายได้ในที่สุด สำหรับด้วงแรดมะพร้าวระยะตัวหนอน จะพบตามพื้นดินกองปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ซึ่งตัวหนอนจะเจาะชอนไชกัดกินทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้ยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

หากพบการเข้าทำลายของด้วงแรดมะพร้าว เกษตรกรควรใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสานคือ วิธีเขตกรรม ชีววิธีและใช้สารเคมี สำหรับวิธีเขตกรรม ให้เกษตรกรหมั่นรักษาความสะอาดและกำจัดเศษวัสดุต้นมะพร้าวบริเวณสวน เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ กรณีมีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย กองแกลบ ควรกำจัดออกไปจากสวนมะพร้าว หรือกองให้เป็นที่แล้วหมั่นกลับกอง เพื่อตรวจดูหนอนด้วงแรดมะพร้าว หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองนั้นทิ้งทันที ส่วนลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย กรณีต้นมะพร้าวที่ถูกตัดแล้วยังสดอยู่ ให้นำมาทำกับดักล่อให้ด้วงแรดมะพร้าวมาวางไข่ โดยให้ตัดทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมาวางเรียงรวมกันไว้ให้เปลือกมะพร้าวติดกับพื้นดิน เพราะด้วงแรดมะพร้าวจะวางไข่ที่ชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว จากนั้นให้เกษตรกรเผาทำลายท่อนกับดักเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอนและดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว สำหรับตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วราดให้ทั่วตอ ป้องกันการวางไข่ได้


การใช้ชีววิธีกำจัด ให้เกษตรกรใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมใส่ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือกับดักท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ และเกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด จากนั้นรดน้ำให้ความชื้นและหาวัสดุใบมะพร้าวมาคลุมกองไว้รักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด ส่วนการใช้สารเคมีในต้นมะพร้าวอายุ 3-5 ปี ที่ยังไม่สูงมาก ให้ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆยอดอ่อนทางละ 2 ลูก ต้นละ 6-8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว หากระบาดมากให้ใช้สารฆ่าแมลงสารไดอะซินอน60% อีซี หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี ชนิดใดชนิดหนึ่ง อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15-20 วัน และควรใช้ 1-2 ครั้ง ในช่วงระบาด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • เกษตรกรยืนยัน‘ปลากะพงขาว’ช่วยคุม‘ปลาหมอคางดำ’ในบ่อได้ เกษตรกรยืนยัน‘ปลากะพงขาว’ช่วยคุม‘ปลาหมอคางดำ’ในบ่อได้
  • \'กรมการข้าว\'ประชุม คกก.ตรวจรับปัจจัยการผลิตฯ \'โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 67\' 'กรมการข้าว'ประชุม คกก.ตรวจรับปัจจัยการผลิตฯ 'โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 67'
  • ‘นฤมล’โชว์ตัวเลขมอบโฉนดเกษตรครึ่งปี68 แจกแล้ว 5.78 ล้านไร่ มั่นใจปีนี้ครบ 17 ล้านไร่ ‘นฤมล’โชว์ตัวเลขมอบโฉนดเกษตรครึ่งปี68 แจกแล้ว 5.78 ล้านไร่ มั่นใจปีนี้ครบ 17 ล้านไร่
  • เกษตรกรชี้‘ปลาหมอคางดำ’คือโอกาส พลังของชาวบ้านช่วยปราบ เกษตรกรชี้‘ปลาหมอคางดำ’คือโอกาส พลังของชาวบ้านช่วยปราบ
  • ‘ปลากะพงขาว’ฮีโร่ปราบ‘ปลาหมอคางดำ’ ฟื้นฟูระบบนิเวศ-ช่วยเกษตรกร ‘ปลากะพงขาว’ฮีโร่ปราบ‘ปลาหมอคางดำ’ ฟื้นฟูระบบนิเวศ-ช่วยเกษตรกร
  • \'เกษตรกร\'สุดทนราคาปาล์มดิ่งหนัก นัดรวมพลบุกกรุงทวงสัญญา 29 พ.ค.นี้ 'เกษตรกร'สุดทนราคาปาล์มดิ่งหนัก นัดรวมพลบุกกรุงทวงสัญญา 29 พ.ค.นี้
  •  

Breaking News

รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

อากาศร้อน! 'โชต้า'เลือกขับรถกลางคืนก่อนเสียชีวิต

กระบะเลี้ยวเข้าซอย หนุ่มขี่มอไซค์มาทางตรงพุ่งชนเต็มแรง ร่างลอยตีลังกา 2 รอบตกพื้นเจ็บสาหัส

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved