วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
นักวิชาการเตือนขุด‘คลองไทย’ระวังกม.ระหว่างประเทศ-เมินไม่ได้เพราะไม่ใช่มหาอำนาจ

นักวิชาการเตือนขุด‘คลองไทย’ระวังกม.ระหว่างประเทศ-เมินไม่ได้เพราะไม่ใช่มหาอำนาจ

วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 17.05 น.
Tag : กฎหมายระหว่างประเทศ คลองไทย นักวิชาการ
  •  

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ผศ.ดร.นพร โพธิ์พัฒนชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา “คิดจะขุดคลองไทยแล้วอย่างไรต่อ” จัดโดยสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชย์นาวี ร่วมกับ ศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ณ มหาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ว่า หากไทยตั้งใจจะขุดคลองไทยหรือคอคอดกระให้ได้จริงๆ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาคือกฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม

อาทิ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ซึ่งมีหลายประการ ได้แก่ ข้อ 192 กำหนดให้ประเทศต่างๆ มีหน้าที่ต้องปกป้องคุ้มครองและสงวนรักษาทรัพยากรทางทะเล ดังนั้นหากชาติใดชาติหนึ่งทำผิดกฎหมายนี้ ชาติอื่นๆ แม้จะอยู่คนละภูมิภาคกับชาติที่กระทำผิดก็สามารถหยิบยกขึ้นมาฟ้องร้องเป็นคดีความได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นชาติที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดนั้นโดยตรง


ข้อ 194 (5) กำหนดให้ประเทศต่างๆ มีหน้าที่ต้องคุ้มครองระบบนิเวศที่หายากและอ่อนไหว (Rare Fragile Ecosystem) ดังนั้นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต้องสามารถรับรองได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเคยมีคำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศมาแล้ว เช่น กรณีพิพาทระหว่าง 2 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา กับ อุรุกวัย ในปี 2553 ว่าด้วยโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงและอาจไม่สามารถทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการป้องกันผลกระทบไว้ล่วงหน้า

ข้อ 196 กำหนดให้ประเทศต่างๆ ต้องไม่นำเข้าไปซึ่งสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น แต่ระบบนิเวศทางทะเลของฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามันนั้นแตกต่างกัน หากขุดคลองไทยซึ่งหมายถึงการเชื่อมทะเล 2 ฝั่งเข้าด้วยกัน ย่อมมีความเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตจากทะเลทั้ง 2 ฝั่งจะถ่ายเทข้ามไป-มา และไม่รู้ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรกับสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ที่แน่นอนคือรัฐไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว และ ข้อ 207 กำหนดให้ประเทศต่างๆ มีหน้าที่ป้องกัน ลดและควบคุมภาวะมลพิษทางทะเลที่มีแหล่งกำเนิดจากบนบก เป็นต้น

ผศ.ดร.นพร กล่าวต่อไปว่า นอกจาก UNCLOS แล้ว รัฐไทยยังมีพันธกรณีตาม อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Site) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ซึ่งแม้โครงการคลองไทยจะไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่ป่าชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แต่ก็ต้องชี้แจงต่อที่ประชุมระหว่างประเทศให้ได้ด้วยเช่นกันว่าโครงการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามที่อนุสัญญาทั้ง 3 ฉบับกำหนดความคุ้มครองไว้

ทั้งนี้ ตนไม่มั่นใจนักว่าผู้มีอำนาจในรัฐไทยจะใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ซึ่งตนนั้นมีพื้นเพเป็นชาว จ.สุราษฎร์ธานี ย้อนไป 20-30 ปีก่อน รัฐบาลไทยขณะนั้นมีโครงการทำสะพานเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) เนื่องจากมองว่าการขุดคอคอดกระไม่คุ้มค่า ทุกวันนี้ยังมีเส้นทางถนนขนาดใหญ่ 8 เลน และทางรถไฟระหว่าง จ.กระบี่ กับ จ.นครศรีธรรมราช เหลือให้เห็น แต่ไม่มีรถไฟแล่นผ่านแต่อย่างใด

“Land Bridge อันนี้ตัดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ตอนสมัยเด็กๆ ผมไปดูนกน้ำเสมอ แล้วถนนเส้นนี้ตัดผ่านตรงกลางแล้วเพิกถอนพื้นที่อุทยาน ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีนกน้ำเหลืออยู่ นอกจากต้นปาล์ม แต่แน่นอนเมื่อแลกกับความเจริญทางเศรษฐกิจ อันนี้คือสิ่งที่เราต้อง Trade Off (แลกเปลี่ยน) และเราต้องเสียไป ผมอยากให้มองย้อนกลับไปตั้งแต่เราเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ผมพูดในภาพรวมในฐานะรัฐไทย ผมไม่คิดว่าเราจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่ควรจะเป็น” ผศ.ดร.นพร กล่าว

ผศ.ดร.นพร อธิบายเพิ่มเติมว่า ไทยได้ให้คำมั่นกับองค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าจะปฏิบัติตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ โดยข้อที่ 14 คือ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Life Below Water) กับข้อ 15 คือ ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Life on Land)

ซึ่งตนไม่มีปัญหาหากจะขุดคลองไทยให้ได้ แต่สิ่งที่ต้องอธิบายให้ชัดเจนด้วยคือโครงการดังกล่าวจะตอบสนองเป้าหมาย SDG ข้างต้นอย่างไร และจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะคลองไทย แต่หมายถึงโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทุกโครงการ รัฐบาลไทยต้องรักษาสมดุลระหว่างผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมกับด้านเศรษฐกิจ แต่ที่ผ่านมาตนก็ไม่เคยเห็นรัฐบาลไทยชุดใดรักษาสมดุลเรื่องนี้ มีแต่การใช้เศรษฐกิจนำเสมอ

ผศ.ดร.นพร ยังกล่าวอีกว่า ยังมีพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนักในปัจจุบัน คือ ความตกลงที่ไทยทำกับอังกฤษในปี 2489 (Anglo-Thai Peace Treaty 1946) หรือสนธิสัญญาระงับสถานะของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในมาตรา 7 ระบุว่า ไทยไม่สามารถขุดคลองกระได้หากไม่ได้รับการยินยอมจากอังกฤษ ทั้งนี้ แม้จะมีการโต้แย้งว่าอังกฤษไม่ได้มีบทบาทใดๆ ในภูมิภาคนี้แล้ว แต่ตามธรรมเนียมที่ผ่านมา รัฐหรือประเทศที่เคยเป็นอาณานิคม มักจะได้รับสืบสิทธิต่างๆ ที่เจ้าอาณานิคมเคยทำไว้ในพื้นที่นั้น

“ผมไม่ได้บอกว่ามันเลิกไปแล้วหรือยังไม่เลิก เพียงแต่เรามีคลองนี้ขึ้นมา เราอาจจะเจอข้อโต้แย้งประเภทนี้ได้จากคนที่เป็น Colonize State (รัฐอาณานิคม) เดิม เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า เป็นต้น เราบอกว่ามันอาจจะยกเลิกไปแล้ว ผมก็ต้องถามว่าแล้วเราเคยถามอังกฤษไหมว่ามันยกเลิกหรือเปล่า เพราะมันยกเลิกฝ่ายเดียวได้หรือเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน” ผศ.ดร.นพร ระบุ

อนึ่ง ในช่วงท้ายของการสัมมนา นายสมบูรณ์ นําทิพย์จันทาเจริญ หรือโบบิ ที่ปรึกษาประธานอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาการขุดคลองไทย ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทย และการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งคำถามว่า ประเทศไทยจะไม่สนใจกฎหมายระหว่างประเทศได้หรือไม่ โดยยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา ที่ไม่เห็นต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศแต่อย่างใด

ซึ่ง ศ.ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี และผู้อำนวยการพาณิชย์และธุรกิจ ที่มารับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ต้องชี้แจงว่า เพราะแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน ในขณะที่ สหรัฐอเมริกากับ จีน เป็นประเทศใหญ่ ไทยนั้นเป็นเพียงประเทศเล็กๆ ดังนั้น ไทยจึงไม่สามารถทำอะไรแบบประเทศเหล่านั้นได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ภาคประชาชน-นักวิชาการ\'จี้นายกฯ เร่งแก้ปัญหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก-แม่น้ำสาย 'ภาคประชาชน-นักวิชาการ'จี้นายกฯ เร่งแก้ปัญหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก-แม่น้ำสาย
  • นักวิชาการหวั่นปลาปนเปื้อนทางพันธุกรรมใหญ่ที่สุดในโลก หากผันน้ำข้ามลุ่มจากสาละวินสู่ปิง นักวิชาการหวั่นปลาปนเปื้อนทางพันธุกรรมใหญ่ที่สุดในโลก หากผันน้ำข้ามลุ่มจากสาละวินสู่ปิง
  •  

Breaking News

‘ดร.เฉลิมชัย’ปิดหลักสูตร‘ปธส.12’ สร้างผู้นำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด

เสียงปริ่มน้ำ‘วิสุทธิ์’เตือนแรงถึง‘สส.-รมต.’ต้องรับผิดชอบงานสภา ไม่เช่นนั้นไปไม่รอด

‘ศุภชัย’สอนมวย‘เพื่อไทย’ปม‘กัญชา’ ต้องคุ้มครองชาวบ้านให้ได้ปลูก อย่าเอาใจแต่‘นายทุนใหญ่’

ปิดประตูตีมาร! หยุดอนุญาตธุรกิจรักษ์โลกจอมปลอม ปูพรม ฟาดรีไซเคิล EEC เถื่อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved