วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : ขุด‘คลองไทย’  อะไรบ้างต้องคำนึง

สกู๊ปพิเศษ : ขุด‘คลองไทย’ อะไรบ้างต้องคำนึง

วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
Tag :
  •  

“คลองไทย” หรือชื่อที่คุ้นหูกว่าคือ “คอคอดกระ” เป็นโครงการที่อาจจะเรียกว่า “มหากาพย์” ก็ว่าได้ เพราะมีการพูดถึงมาหลายยุคสมัย และมีแนวทางการขุดหลายเส้นทางเพื่อเชื่อมทะเล 2 ฟากฝั่งคืออ่าวไทยกับทะเลอันดามันเข้าด้วยกัน แต่ไม่ว่าเส้นทางใดก็ล้วนมีข้อถกเถียงระหว่างฝ่ายสนับสนุนที่มองว่าจะเป็นโอกาสให้ไทยได้รับค่าผ่านทางจากบรรดาเรือเดินสมุทรที่ต้องการร่นระยะเวลาเดินทางโดยไม่ต้องไปผ่านเส้นทางหลักอย่างช่องแคบมะละกา กับฝ่ายคัดค้านที่กังวลทั้งปัญหาด้านความมั่นคงและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันกฎหมายขนส่งและพาณิชย์นาวี ร่วมกับ ศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาเรื่อง“คิดจะขุดคลองไทยแล้วอย่างไรต่อ” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดย พล.ร.อ.พลเดช เจริญพูล อดีตรองผู้บัญชาการกองทัพเรือ เล่าถึงประวัติศาสตร์คลองขุดในต่างประเทศ 3 คลอง ที่มีลักษณะคล้ายกับโครงการคอคอดกระ อาทิ


1.คลองปานามา ขุดบริเวณส่วนที่แคบที่สุดของทวีปอเมริกา บริเวณประเทศปานามา ในภูมิภาคอเมริกากลาง ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตรเศษๆ โดยประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา เป็นผู้สนับสนุนหลักในการขุดคลองนี้เพื่อร่นเวลาการเดินเรือของกองทัพ รวมถึงเรือขนส่งสินค้าไป-มาระหว่างฝั่งตะวันออกกับตะวันตก หรือระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก โดยไม่ต้องลงไปอ้อมที่ปลายสุดของภูมิภาคอเมริกาใต้ และสหรัฐฯ ยังคงมีอิทธิพลเหนือคลองนี้จนถึงปัจจุบัน ด้วยมองว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

2.คลองสุเอซ เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง ปัจจุบันอยู่ในดินแดนของประเทศอียิปต์ ระยะทางราว 183 กิโลเมตร ช่วยร่นระยะเวลาการเดินเรือไป-มาระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ซึ่งในอดีตเรือจากยุโรปต้องลงไปอ้อมปลายสุดของทวีปแอฟริกา ณ แหลมกู๊ดโฮป ที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ ก่อนจะมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเข้ามหาสมุทรอินเดีย ซึ่งในช่วงที่มีการขุดคลองสุเอซ 2 ประเทศมหาอำนาจในยุคนั้นอย่างอังกฤษกับฝรั่งเศส กำลังมีความขัดแย้งกัน แต่ก็เจรจาแบ่งผลประโยชน์กันได้

“เนื่องจากคลองนี้เป็นของประเทศอียิปต์ จะแบ่งส่วนของอียิปต์ออกเป็น 2 ฟาก มีเมืองท่าเวลาเรือเข้ามา ชื่อพอร์ต เสด (Port Said) หรือจะอ่านว่าพอร์ต เซอิด แล้วก็ออกที่เมืองสุเอซ ตรงนี้จะเป็นทะเลแดง (Red Sea) แล้วผ่านออกตรงเมืองจิบูติ (ประเทศจิบูติ) อันนี้ก็จะมีฐานทัพของประเทศต่างๆ ก็มีมหาอำนาจของทางด้านเอเชียเราไปอยู่ตรงจุดนี้เกือบหมดเรียบร้อยแล้ว

นั่นคือวิกฤตการณ์ของปัญหาหลังจากมีคลองแล้วที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่จริงแล้วมันเริ่มจากจุดประสงค์คือทางด้านการหาเส้นทางที่จะไม่ต้องเดินทางไกลและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่เส้นทางที่เกิดขึ้นของคลองนี้เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางผ่านจุดต่างๆ มาแล้วมันคุ้มค่ากว่าถ้าต้องอ้อมมาถึงจุดนี้ด้วยปัจจัยต่างๆ แต่ทั้ง 2 คลองนั้นมีปัญหาวิกฤตการณ์ความมั่นคงที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าบางคลองจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในความครอบงำหรืออิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ” อดีตรอง ผบ.ทร. กล่าวถึงปัญหาคลองปานามาและคลองสุเอซ

และ 3.คลองคีล ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี แตกต่างกับ 2 คลองแรก คือ เป็นการขุดตามร่องน้ำเดิมที่มีอยู่แล้ว คลองคีลมีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร เป็นการเชื่อมต่อระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ทำให้กองเรือรบของเยอรมนีไม่ต้องไปผ่านน่านน้ำของประเทศเดนมาร์ก ซึ่งในอดีตทั้ง 2 ประเทศ ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ส่วนปัจจุบันคลองดังกล่าวถูกนำมาใช้ในด้านเศรษฐกิจ

กลับมาที่ประเทศไทย ผศ.ดร.สุชาย วรชนะนันท์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงโครงการคลองไทยที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการขุดมากที่สุดคือ “แนว 9A” ระหว่างฝั่งอ่าวไทย ที่อ.ระโนด จ.สงขลา ไปทะลุฝั่งทะเลอันดามัน ที่ อ.สิเกา จ.ตรัง ครอบคลุม 5 จังหวัด คือ กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราชและสงขลา ระยะทางประมาณ 135 กิโลเมตร ซึ่งมีข้อกังวลต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ

1.ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา หากจะขุดให้ได้จริงๆ อาจต้องเพิกถอนสถานะความเป็นอุทยานแห่งชาติ 2.ตัดผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ทะเลน้อย พรุควนเคร็ง เพราะการขุดคลองมักเลี่ยงบริเวณภูเขาโดยให้ไปผ่านที่ลุ่ม 3.กระทบแหล่งแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตบริเวณทางออกด้านอ่าวไทย แม้จะไม่มีอุทยาน แต่บริเวณนั้นมีเกาะจำนวนหนึ่งที่เป็นแหล่งเชื่อมต่อการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต 4.การเคลื่อนที่ของตะกอนอาจเปลี่ยนไป เพราะอ่าวไทยกับทะเลอันดามันมีปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงแตกต่างกัน เป็นต้น

“ตอนนี้ยังเป็นการพยากรณ์เท่านั้น เพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าการขุดแล้วแนวคิดมันจะเป็นอย่างไร ความกว้างของคลองจะเป็นเท่าไรกระแสน้ำ ปริมาณของน้ำที่ไหลจากคลองมันเป็นอย่างไร ซึ่งพวกนี้เป็นตัวแปรทั้งหมด มันพยากรณ์ได้ แต่พยากรณ์ก็คือพยากรณ์ คือมันยังไม่แน่ว่ามันจะตรงหรือไม่ตรง ข้อมูลที่เราใส่เข้าไปมันมีผลกระทบทั้งหมด เรามีข้อมูลที่เป็นตัวแปรที่จะใส่เข้าไปเพียงพอแล้วหรือยัง ซึ่งตอนนี้เรายังไม่พอ ยังไม่มีข้อมูลขนาดที่มันจะแม่นยำ” ผศ.ดร.สุชาย กล่าว

ขณะที่ ผศ.ดร.นพร โพธิ์พัฒนชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเตือนว่า หนึ่งในประเด็นที่ไม่อาจละเลยได้คือ “กฎหมายระหว่างประเทศ” อาทิ “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS)” ข้อ 192, ข้อ 194 (5), ข้อ 196 และข้อ 207 ว่าด้วยหน้าที่ของประเทศต่างๆ ในการดูแลระบบนิเวศทางทะเล และกำหนดให้ทุกประเทศมีสิทธิฟ้องคดีกับผู้ก่อปัญหา แม้จะไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก็ตาม

นอกจากนั้นยังมี “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ(Ramsar Site)”, “อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)” รวมถึง “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD)” ที่ไทยต้องชี้แจงให้ได้ว่าโครงการจะไม่ส่งผลกระทบต่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาดังกล่าว อีกทั้งยังมี “ความตกลงไทย-อังกฤษ ปี 2489(Anglo-Thai Peace Treaty 1946)” ซึ่งไทยไม่สามารถขุดคลองกระได้หากไม่ได้รับการยินยอมจากอังกฤษ ดังนั้นอาจถูกประเทศที่เป็นอดีตอาณานิคมอังกฤษ เช่น เมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ ยกขึ้นมาฟ้องได้

ปิดท้ายด้วยผู้คร่ำหวอดในวงการเรือเดินสมุทร ประพันธ์ โลหะวิริยศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ บริษัท โหงวฮกเอเยนซี่จำกัด ตั้งคำถามถึง “ความคุ้มค่า” ของการขุดคลองไทยว่าเป็นไปตามคำโฆษณาจริงหรือ เพราะมีหลายตัวแปรที่ต้องพิจารณา คือ “เส้นทางเดินเรือระหว่างจุดเริ่มต้นกับที่หมาย” ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจว่าเรือแต่ละลำจะเลือกมาใช้บริการคลองไทยหรือไม่!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กระบะเลี้ยวเข้าซอย หนุ่มขี่มอไซค์มาทางตรงพุ่งชนเต็มแรง ร่างลอยตีลังกา 2 รอบตกพื้นเจ็บสาหัส กระบะเลี้ยวเข้าซอย หนุ่มขี่มอไซค์มาทางตรงพุ่งชนเต็มแรง ร่างลอยตีลังกา 2 รอบตกพื้นเจ็บสาหัส
  • ‘ผู้ว่าฯชัชชาติ’ชี้เปิด 3 วิธีตรวจสอบอาคารรัง‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ‘ผู้ว่าฯชัชชาติ’ชี้เปิด 3 วิธีตรวจสอบอาคารรัง‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’
  • ‘นครนนท์วิชาการ 68’  ปิดฉากประทับใจ พร้อมสู่การแข่งขันระดับประเทศ ‘นครนนท์วิชาการ 68’ ปิดฉากประทับใจ พร้อมสู่การแข่งขันระดับประเทศ
  • ชาวสะพานใหม่ผวา! ชายคลั่งทุบบ้านตัวเอง ส่อร้าวไปหลังอื่น คนแห่ย้ายหนี พบเคยชักมีดไล่ฟัน ชาวสะพานใหม่ผวา! ชายคลั่งทุบบ้านตัวเอง ส่อร้าวไปหลังอื่น คนแห่ย้ายหนี พบเคยชักมีดไล่ฟัน
  • ‘ชัชชาติ’ เผยยอด Traffy Fondue เกือบล้านคือความไว้วางใจ ย้ำ! แก้ปัญหาให้ดี-ไม่ทุจริต ‘ชัชชาติ’ เผยยอด Traffy Fondue เกือบล้านคือความไว้วางใจ ย้ำ! แก้ปัญหาให้ดี-ไม่ทุจริต
  • คลินิกสิ่งแวดล้อม: 4 กรกฎาคม 2568 คลินิกสิ่งแวดล้อม: 4 กรกฎาคม 2568
  •  

Breaking News

ตร.เปิด 900 อัตราตำรวจชั้นประทวนวุฒินิติฯ สอบเลื่อนเป็น‘สัญญาบัตร’พนักงานสอบสวน

'สมเด็จพระเทพฯ' ทรงห่วงใย พระราชทานพระให้ 'มทภ.2' แจกจ่ายทหารชายแดนไทย-กัมพูชา

‘ดร.เฉลิมชัย’ปิดหลักสูตร‘ปธส.12’ สร้างผู้นำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด

เสียงปริ่มน้ำ‘วิสุทธิ์’เตือนแรงถึง‘สส.-รมต.’ต้องรับผิดชอบงานสภา ไม่เช่นนั้นไปไม่รอด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved