วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
TSPCAผลักดัน‘สัตว์ป่า-นำเข้า’ได้รับการคุ้มครอง ป้องกันการทารุณกรรม

TSPCAผลักดัน‘สัตว์ป่า-นำเข้า’ได้รับการคุ้มครอง ป้องกันการทารุณกรรม

วันจันทร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 15.47 น.
Tag : ทารุณกรรม สัตว์ป่า TSPCA
  •  

TSPCAผลักดัน‘สัตว์ป่า-นำเข้า’ได้รับการคุ้มครอง ป้องกันการทารุณกรรม

23 พฤศจิกายน 2563 ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมปศุสัตว์ ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการ สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ได้ยื่นจดหมายแด่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยมี นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดี เป็นผู้รับมอบ


สืบเนื่องตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) เกี่ยวกับการเพิ่มเติมสัตว์ป่า ให้เข้าสู่นิยามสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ตามนิยาม มาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 และนิยาม ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์  พ.ศ. 2558 ให้ครอบคลุมสัตว์ป่าและสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น

เนื่องจากปัจจุบันหลายกรณีที่เกิดขึ้นจริง เกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ป่านั้น ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควรได้ แม้ปัจจุบันจะมีกฎหมายพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ซึ่งโทษของการล่าสัตว์ป่า ค่อนข้างสูงซึ่งหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ที่กำหนดถึงการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฯ และ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ นั้น มีความหมายและเจตนารมณ์ที่ต่างกัน การบัญญัติกฎหมายจึงต้องมีความแน่นอนชัดเจนในถ้อยคำ หลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดี เป็นอัตวิสัยและการตีความเพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีโทษทางอาญา จึงต้องมีการตีความอย่างเคร่งครัด ไม่ควรเกิดการตีความเกินตัวบท  เช่น นิยาม สภาพ พฤติการณ์ ถ้อยคำ สำนวน ความหมาย และเจตนารมณ์ ซึ่งก็อาจจะมีบางส่วนคาบเกี่ยวสัมพันธ์กันบ้าง แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต่างกัน จึงควรแยกพิจารณา เช่น บางกรณีเป็นลักษณะการทารุณกรรมสัตว์ป่า แต่อาจจะไม่ได้เป็นการล่าตามนิยาม ได้ เช่น กรณียิงสัตว์ป่าหรือสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติบางชนิดโดยไม่มีเหตุอันสมควร  เป็นต้น

อีกทั้งโรคในปัจจุบันหลายชนิดที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นั้น อาจจะเกิดจากสัตว์เป็นพาหะนำโรค เช่น สัตว์ป่าหรือสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นควรมีมาตรการในการควบคุมป้องกันที่เข้มงวดรัดกุมมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ การพิจารณาบัญญัติกำหนด โดยการประกาศ เป็นสัตว์ป่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นรายชนิด ประเภท รายตัวของสัตว์นั้น ๆ ให้เกิดความชัดเจนและกระทบสิทธิของประชาชนน้อยที่สุด  เช่น การคัดเลือกตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562  และเพิ่มเติมพิจารณานำรายชื่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติบางชนิด เช่น นก เต่า กระรอก บางชนิด ที่ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองตามบัญชีรายชื่อ แต่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์และอาจเคยมีการกระทำทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพไม่เหมาะสม กำหนดให้ได้รับรองคุ้มครองตามกฎหมาย

ทั้งนี้สมาคมฯ จึงเห็นควรให้มีการกำหนดและบัญญัติเพิ่มเติมหลักทั่วไป ให้ครอบคลุมคุ้มครองสัตว์ที่อาศัยในธรรมชาติ รวมถึงสัตว์ป่าและสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยความคาดหวังว่าจักเป็นประโยชน์ ต่อสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ในการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพที่ดีต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ช่วยเซฟหนูด้วย!! รู้จัก\'เต่าปูลู\'สัตว์สัญลักษณ์ป้องกันไฟป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ ช่วยเซฟหนูด้วย!! รู้จัก'เต่าปูลู'สัตว์สัญลักษณ์ป้องกันไฟป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์
  • เปิดภาพกวางหนุ่ม2ตัวผลัดกันลงเล่นน้ำในโป่งอย่างสบายใจที่อช.ศรีพังงา เปิดภาพกวางหนุ่ม2ตัวผลัดกันลงเล่นน้ำในโป่งอย่างสบายใจที่อช.ศรีพังงา
  • \'นักวิชาการ\'แปลกใจ กรมอุทยานฯใช้วิธีโหวตออนไลน์ มาตัดสินชะตาคนในเขตป่าทับลาน 'นักวิชาการ'แปลกใจ กรมอุทยานฯใช้วิธีโหวตออนไลน์ มาตัดสินชะตาคนในเขตป่าทับลาน
  • พบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม พบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม
  • ส่องความน่ารัก! 2 ลูกหมีควายของกลาง​ ถูกลักลอบนำข้ามชายแดน ส่งไปดูแลที่ห้วยขาแข้ง ส่องความน่ารัก! 2 ลูกหมีควายของกลาง​ ถูกลักลอบนำข้ามชายแดน ส่งไปดูแลที่ห้วยขาแข้ง
  • ช่วยลูกแมวดาวพลัดหลง 2 ตัว ก่อนกักกันโรคอนุบาลและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ช่วยลูกแมวดาวพลัดหลง 2 ตัว ก่อนกักกันโรคอนุบาลและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved