18 ธันวาคม 2563 รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประธาน กพฐ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 12/2563 ว่าที่ประชุมได้หารือการพัฒนาทักษะความสามารถภาษาอังกฤษ ซึ่งยังเป็นปัญหาอย่างมาก เห็นได้จากการจัดอันดับ ของ Education First หรือ อีเอฟ ในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ จำนวน 100 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 89 ถือว่าทักษะยังอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ ที่ประชุมจึงมองว่าจะต้องเร่งพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง
โดยโรงเรียนจะต้องเริ่มจากการสร้างระบบนิเวศน์ภายในสถานศึกษาเพื่อให้โรงเรียนมีระบบที่เอื้อต่อการใช้และการสื่อสารภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันครูจะต้องพยายามสื่อสารกับเด็กเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเชื่อว่าเด็กพร้อมในการปรับตัว ในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเด็กประถมจะเรียนรู้เร็ว ดังนั้น โรงเรียนควรจัดทำป้ายต่าง ๆภายในโรงเรียนให้มีภาษาอังกฤษกำกับไว้ทั้งหมด เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยและเกิดความซึมซับ และครูก็ต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษกับเด็กด้วย
ดังนั้น เราจะต้องพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันด้วย เนื่องจากปัจจุบันครูที่สอนภาษาอังกฤษมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ในระดับปานกลาง หรือ B1 ตามเกณฑ์ของ CEFR มีไม่ถึงครึ่งทั้งๆที่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงต้องเร่งพัฒนาครูสอนภาษาอังกฤษโดยศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ และให้หาโรงเรียนของ สพฐ. และโรงเรียนเอกชนที่ส่งเสริมภาษาอังกฤษเป็นเลิศได้อย่างไร เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายเทองค์ความรู้จากโรงเรียนหนึ่งไปยังโรงเรียนหนึ่ง เพราะขณะนี้มีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.หลายแห่งที่สามารถสอนภาษาอังฤษให้เด็กได้ผลดี โดนให้พัฒนาภาษาอังกฤษเด็กควบคู่ไปกับการพัฒนาครู ที่ทำหน้าที่สอนภาษาอังกฤษด้วย
“ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งของครูและนักเรียนค่อนข้างมาก และในเร็ว ๆนี้จะมีการประชุม กพฐ.สัญจร ที่ จ.ร้อยเอ็ด ก็จะเน้นหารือถึงเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาภาษาอังกฤษดังกล่าว ไม่ใช่แค่เน่นแค่ให้เด็กมีความรู้ความสามารถตา ศตวรรษที่ 21 แต่เราต้องเน้นให้เด็กมีความสุขต่อการเรียน เน้นให้อาคารสถานที่โรงเรียนมีความสะอาดและถูกสุขอนามัยด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมเสนอว่าในการสอบคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา ให้สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน และถ้าได้เข้าไปเป็นผู้บริหารโรงเรียนแล้ว ก็จะต้องทำแผนด้วยว่าที่ผ่านมามีการพัฒนาภาษาอังกฤษให้เด็กในแต่ละปีอย่างไรบ้าง ผมอยากให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องออกสำเนียงอังกฤษ แต่สอนให้เด็กไทยมีความกล้าในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษมากขึ้น” รศ.เอกชัย กล่าว
รศ.เอกชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามที่มีการเสนอขอควบรวมสถานศึกษา จำนวน 29 แห่ง และขอยกเลิกสถานศึกษา จำนวน 17 แห่ง ซึ่งที่ประชุมมติเห็นชอบและมีผลแล้ว และที่ประชุมเห็นว่าในอนาคตโรงเรียนที่ขอควบรวมจะต้องมีแนวทางชัดเจนว่า เมื่อควบรวมแล้วจะต้องยกเลิกภายในระยะเวลาเท่าไร เพื่อไม่ให้เกิดปรากฏการบรรจุผู้บริหารลงไปในโรงเรียนที่ไม่ได้ทำการเรียนการสอนแล้วอีก และหากทำการควบรวมแล้วก็ควรจะทำการขอยุบเลิกและนำสถานที่ไปใช้ประโยชน์ทางราชการ
ขณะนี้มีบางโรงเรียนเอาเด็กไปเรียนรวมแล้วตั้งแต่ปี 2554 แต่พึ่งมาขอเลิกตอนนี้ ดังนั้น ที่ประชุมจึงให้กำหนดว่าควรมีเวลาที่ชัดเจน เช่น ถ้าโรงเรียนทำการควบรวมแล้ว ภายใน 1 ปีก็ควรแจ้งชัดเจน และให้แจ้งทางศึกษาธิการจังหวัดให้ชัดเจน ว่าจะใช้สถานที่ของโรงเรียนที่ยกเลิกแล้วไปใช้ทำอะไรต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี