ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 4 จังหวัด เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแรงในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี รวม 32 อำเภอ 191 ตำบล 1,028 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 62,270 ครัวเรือน จุดอพยพ 13 จุด ผู้อพยพ 830 คน ผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้บาดเจ็บ 2 ราย ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมและสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งสหพันธรัฐมาเลเซีย ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแรง ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 - ปัจจุบัน (11 มกราคม 2564 เวลา 06.00 น.) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และดินสไลด์ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี รวม 32 อำเภอ 191 ตำบล 1,028 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 62,270 ครัวเรือน
จุดอพยพ 13 จุด ผู้อพยพ 830 คน (นราธิวาส 4 จุด ยะลา 6 จุด สงขลา 3 จุด) ผู้เสียชีวิต 3 ราย (ยะลา 2 ราย สงขลา 1 ราย) ผู้บาดเจ็บ 2 ราย (สงขลา) แยกเป็น พื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก 4 จังหวัด รวม 27 อำเภอ 137 ตำบล 683 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 57,784 ครัวเรือน ดังนี้
นราธิวาส น้ำไหลหลากในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่อำเภอศรีสาคร อำเภอบาเจาะ อำเภอระแงะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอรือเสาะ อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอจะแนะ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอยี่งอ และอำเภอตากใบ รวม 70 ตำบล 450 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,211 ครัวเรือน
ยะลา น้ำไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน อำเภอเบตง และอำเภอบันนังสตา รวม 12 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,229 ครัวเรือน
สงขลา น้ำไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา รวม 14 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,063 ครัวเรือน
ปัตตานี น้ำไหลหลากในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอแม่ลาน อำเภอสายบุรี อำเภอหนองจิก อำเภอกะพ้อ อำเภอยะรัง อำเภอไม้แก่น และอำเภอทุ่งยางแดง รวม 41 ตำบล 161 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,281 หมู่บ้าน
ภาพรวมสถานการณ์อุทกภัยทั้ง 4 จังหวัด ระดับน้ำลดลง
สำหรับพื้นที่ได้รับผลกระทบจากดินสไลด์ 2 จังหวัด ได้แก่ ยะลา และนราธิวาส ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยระดมเครื่องจักรกลและเครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่เพื่อเร่งระบายน้ำ และให้การดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจพื้นที่ และประเมินความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 64 -ปัจจุบัน เกิดวาตภัยและลูกเห็บตกในพื้นที่ 5 จังหวัดภาค
9 ก.พ. 64 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 64-ปัจจุบัน เกิดวาตภัยและลูกเห็บตกในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน
นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งน้ำจัดทำผังน้ำนำร่อง 4 ตำบล โดยมีสมาร์ททีม ประกอบด้วย ทีมเก็บข้อมูล จ
15 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และคลื
14 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตล
13 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำไหลหลากน้ำล้นตลิ่ง และคลื่นล
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้อย่างใกล้ชิด หลังมีฝนตก
12 ม.ค. 64 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลากน้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแร
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี