วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'กรมประมง'เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน

'กรมประมง'เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน

วันจันทร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 11.08 น.
Tag : กรมประมง เกษตรกร ชาวประมง โรคสัตว์น้ำ ฤดูฝน
  •  

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้ สภาพอากาศของประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน โดยในหลายพื้นที่เริ่มมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องทำให้สภาวะอากาศ อุณหภูมิและออกซิเจนในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้สัตว์น้ำทั้งที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติและที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในบ่อหรือในกระชังอาจจะปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ เสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่าย และอาจตายได้อย่างฉับพลัน

ทั้งนี้ กรมประมง ได้มีการจัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยด้านประมง ประจำปี 2564 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไว้ 3 ระยะ คือ 1.การดำเนินการก่อนการเกิดภัย 2.การดำเนินการขณะเกิดภัย และ 3.การดำเนินการหลังการเกิดภัยกรมประมง จึงขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตรียมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงแนะนำ ให้วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับได้ก่อนฤดูน้ำหลาก  ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อเป็นการลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อ เพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุด ปรับปรุงคันบ่อและเสริมคันบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่านๆ มา จัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไปเพื่อให้น้ำไหลเข้าออกได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะหรือ มีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดเตรียมปูนขาวไว้สำหรับพื้นที่ดินกรด ดินเปรี้ยว เพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อหลังน้ำท่วมประมาณ 50 - 60 กิโลกรัมต่อไร่ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อวน เครื่องสูบน้ำ เครื่องเพิ่มออกซิเจน ยาปฏิชีวนะ สารเคมี ไว้ให้พร้อม ขณะเดียวกันก็ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบหาสาเหตุพร้อมดำเนินการแก้ไขทันทีส่วนกรณีการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นตรวจสอบดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชังอยู่เสมอและควรจัดวางกระชังให้มีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทสะดวก


​สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และเกษตรกรควรเฝ้าระวัง สำหรับโรคที่เกิดในปลา และโรคที่เกิดในกุ้ง ได้แก่​ 1.โรคที่เกิดจากปรสิต ที่พบได้ในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส และหมัดปลา ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ เช่น ซึม ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวที่ผิวน้ำ กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ กินอาหารน้อยลง ผอม ขับเมือกออกมามาก มีแผลเลือดออกที่ลำตัว เป็นต้น ซึ่งสามารถกำจัดปรสิตในปลาได้ โดยใช้ฟอร์มาลีน 25 - 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ตัน แช่ตลอด เปลี่ยนถ่ายน้ำและทำซ้ำ 2 - 3 ครั้ง หรือใช้ด่างทับทิม 1 - 2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน

2.โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแผลตามลำตัว โรคตัวด่าง พบได้ในปลาและเกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม แอโรโมแนส, วิบริโอ, เอ็ดเวิร์ดเซลลาร์ , ฟลาโวแบคทีเรียม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการ ซึม มีแผลที่ลำตัว ไม่กินอาหาร ตกเลือดที่ลำตัวและครีบ ตัวด่างขาวที่ลำตัว สีซีดหรือเข้มผิดปกติ และทยอยตาย ถ้าปลาขนาดเล็กอาจมีอัตราการตายสูงมาก หากพบปลามีอาการดังกล่าว ควรนำมาตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบหาชนิดของแบคทีเรีย และผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพที่จะให้ ให้เหมาะสมกับชนิดของแบคทีเรียก่อนการนำยาไปใช้เพื่อยับยั้งการเกิดโรค

​3.โรคไวรัส เช่น โรค ทีไอแอลวี พบเกิดขึ้นในปลาจากเชื้อไวรัสชื่อ ทิลาเบียเลคไวรัส (ทีไอแอลวี) จะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ เช่น สีตัวเข้มหรือซีดผิดปกติ ว่ายน้ำผิดปกติ มีแผลที่ลำตัว และมีอัตราการตายสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีไวรัสอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยสัตว์น้ำที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของเชื้อ แต่อาการโดยรวม คือไม่กินอาหาร อัตราการตายสูง การป่วยด้วยเชื้อไวรัสในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรจึงควรป้องกันและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและมีความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงและช่องทางในการรับเชื้อ

​4.โรคน๊อคน้ำ ส่วนใหญ่พบเกิดขึ้นในปลา เนื่องจากคุณภาพของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ออกซิเจนต่ำ ความเป็นกรด – ด่าง ต่ำ เกิดจากฝนตกชะล้างความเป็นกรดจากดินสู่น้ำ และความขุ่นในน้ำมากขึ้นหรือมีตะกอนแขวนลอยในน้ำสูง เป็นต้น ทำให้ปลามีอาการลอยหัว เปิด - ปิด กระพุ้งแก้มเร็ว เนื่องจากภาวะออกซิเจนหรือตะกอนในน้ำไปทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเหงือกลดลง จึงทำให้ปลาตายอย่างกระทันหัน โรคนี้ไม่มีทางรักษาแต่เกษตรกรสามารถเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้

​อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นเพิ่อป้องกันปัญหากรมประมง ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตรียมเฝ้าระวัง ป้องกันและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ ตามแผนเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยด้านการประมง ประจำปี 2564 เพื่อให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ได้ทันท่วงทีเกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำที่พบ สามารถขอคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ทุกแห่งทั่วประเทศ และกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-561-3381

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กรมประมงจับลักลอบนำเข้าปลากระพงกว่า7ตัน กรมประมงจับลักลอบนำเข้าปลากระพงกว่า7ตัน
  • เกษตรกรยืนยัน‘ปลากะพงขาว’ช่วยคุม‘ปลาหมอคางดำ’ในบ่อได้ เกษตรกรยืนยัน‘ปลากะพงขาว’ช่วยคุม‘ปลาหมอคางดำ’ในบ่อได้
  • \'กรมการข้าว\'ประชุม คกก.ตรวจรับปัจจัยการผลิตฯ \'โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 67\' 'กรมการข้าว'ประชุม คกก.ตรวจรับปัจจัยการผลิตฯ 'โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 67'
  • ‘นฤมล’โชว์ตัวเลขมอบโฉนดเกษตรครึ่งปี68 แจกแล้ว 5.78 ล้านไร่ มั่นใจปีนี้ครบ 17 ล้านไร่ ‘นฤมล’โชว์ตัวเลขมอบโฉนดเกษตรครึ่งปี68 แจกแล้ว 5.78 ล้านไร่ มั่นใจปีนี้ครบ 17 ล้านไร่
  • เกษตรกรชี้‘ปลาหมอคางดำ’คือโอกาส พลังของชาวบ้านช่วยปราบ เกษตรกรชี้‘ปลาหมอคางดำ’คือโอกาส พลังของชาวบ้านช่วยปราบ
  • ‘ปลากะพงขาว’ฮีโร่ปราบ‘ปลาหมอคางดำ’ ฟื้นฟูระบบนิเวศ-ช่วยเกษตรกร ‘ปลากะพงขาว’ฮีโร่ปราบ‘ปลาหมอคางดำ’ ฟื้นฟูระบบนิเวศ-ช่วยเกษตรกร
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved