วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : พระปฐมบรมศิลปิน เมืองกวี  รัตนโกสินทร์ ศรีสยาม

วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : พระปฐมบรมศิลปิน เมืองกวี รัตนโกสินทร์ ศรีสยาม

วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : วิถีสยามมรดกวัฒนธรรมไทย สยาม วัฒนธรรมไทย
  •  

หากให้กล่าวถึงมรดกวัฒนธรรมไทย มีมากมายจนผู้เขียนไม่อาจบอกเล่าได้หมดในระยะเวลาอันสั้น “กวีนิพนธ์” ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาติ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ตกทอดเป็นมรดกให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความบันเทิง และเป็นแบบฉบับเล่าเรียนเพิ่มพูนความรู้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) นับเป็นช่วงเวลาที่ราชอาณาจักรไทยเริ่มเข้าสู่ความสงบและมีความเป็นปึกแผ่นมากกว่าสมัยที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าพระองค์จะยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในการบริหารราชการแผ่นดิน และทำนุบำรุงพระนครสืบต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมชนกนาถแล้ว ยังทรงให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูศิลปกรรมในแขนงต่างๆ อย่างดียิ่ง ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ได้แก่ ด้านประติมากรรม ด้านกวีนิพนธ์ และด้านดนตรี แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดนี้ ผู้เขียนจึงขอยกเพียงด้านที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ ด้านกวีนิพนธ์มาเล่าสู่กันฟัง


ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ถือเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอกที่ทรงสร้างสรรค์วรรณคดีอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมาก โดยตั้งแต่ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ได้ทรงรับหน้าที่ในหมู่จินตกวี มีพระราชนิพนธ์ปรากฏอยู่ในหนังสือที่ช่วยกันแต่งหลายเรื่องจนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำนุบำรุงแบบและบทละครไทยให้ดีเด่นกว่าแต่ก่อน เพราะได้ทรงกวดขัน และฝึกหัดท่ารำจนใช้เป็นแบบอย่างของละครรำมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวี ถือเป็นแบบฉบับอันยอดเยี่ยมด้านการแต่งเสภา นิราศ กาพย์ ฉันท์ ลิลิต โคลงสี่สุภาพ บทละครทั้งละครใน และละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิม และทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทองไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้

บทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่รวม ๗ เรื่อง คือ ๑.เรื่องอิเหนา ทรงแต่งแต่ต้นจนจบ รวม ๔๕ สมุดเล่มไทย ๒.เรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่หนุมานถวายแหวน จนถึงทศกัณฐ์ล้มตอน ๑ ตั้งแต่ฆ่าสีดาจนอภิเษกไกรลาสตอน ๑ รวม ๓๓ เล่มสมุดไทย ๓.เรื่องไชยเชษฐ์ตั้งแต่ไชยเชษฐ์ไปตามช้างจนไชยเชษฐ์กับนางสุวิญชาคืนดีกับไชยเชษฐ์รวม ๓ เล่มสมุดไทย ๔.เรื่องมณีพิชัย ตั้งแต่งูขบนางจันทรจนพระมณีพิชัยออกไปอยู่กับพราหมณ์ที่ศาลา รวม ๑ เล่มสมุดไทย ๕.เรื่องคาวีตั้งแต่ท้าวสันนุราชได้ผอบผมจนถึงคาวีฆ่าไวยทัต รวม ๔ เล่มสมุดไทย๖.เรื่องสังข์ทอง ตั้งแต่นางพันธุรัตได้พระสังข์มาเลี้ยง จนท้าวยศวิมลกับพระสังข์กลับจากเมืองสามล รวม ๑ เล่มสมุดไทย และ ๗.เรื่องไกรทอง ตั้งแต่ไกรทองอยู่ในถ้ำชาละวัน จนกลับตามนางวิมาลาลงไปในถ้ำ รวม ๒ เล่มสมุดไทย

นอกจากนี้ ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาว หวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ เห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องคาวหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็น ซึ่งบทเห่นี้เข้าใจกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ในด้านการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีนั่นเอง

ส่วนด้านการส่งเสริม “ใครเป็นกวีก็โปรด” เป็นคำกล่าวขานในยุคที่วรรณคดีเฟื่องฟู ซึ่งในยุคนั้น นอกจากพระองค์แล้วยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3), สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส,พระยาตรัง, นายนรินทร์ธิเบศ, และ สุนทรภู่ กวีเอกของโลก ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นมหากวีกระฎุมพีแห่งรัตนโกสินทร์ และบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การ รวมอยู่ด้วยกันอีกด้วย

ปัจจุบันมีการสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง ศิลปิน กวีและช่าง ซึ่งได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามประณีตไว้เป็นมงคลแก่ชาติ และปรากฏพระเกียรติคุณแพร่หลายไปในนานาประเทศจนได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก และได้ส่งเสริมให้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฉลองพระบรมราชสมภพครบรอบ ๒๐๐ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๑ พร้อมจัดสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ฯ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมไทยในรัชสมัยของพระองค์ และเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงนั้นด้วย

และในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ ทางรัฐบาลยังได้กำหนดให้เป็นวัน “ศิลปินแห่งชาติ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของผู้เป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ต้องจารึกไว้กลางดวงใจลูกหลานไทยตราบนานเท่านาน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ศ.ดร.บังอร\'นำทัพ! พร้อมใจร่วมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทย\'BTU สงกรานต์ Family\' 'ศ.ดร.บังอร'นำทัพ! พร้อมใจร่วมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทย'BTU สงกรานต์ Family'
  •  

Breaking News

โอละพ่อ! คนสนิท 'สว.โชคชัย' บอกพิกัดบ้านผิด ทำ 'กกต.-DSI' หลงทาง

สอยคิวลุ้น! บรรจุแข่งโอลิมปิกเกมส์

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

จอดรถถ่ายรูป'ว่าที่ สท.คนดัง' โดนล้อมรถทุบกระจกร้าว อึ้งตำรวจไม่รับแจ้งความ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved