เมื่อวันที่10 ก.ค.นายไสลเกษ วัฒนะพันธุ์ อดีตประธานศาลฎีกา ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เปิดเผย กรณีเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานสารเคมีย่านซ.กิ่งแก้ว 21 จนเกิดความเสียหายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ว่า ทางศาลมีแนวคิดจะเปิดศาลคดีสิ่งแวดล้อมมาแล้ว แต่ติดที่ว่าจะอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง ซึ่งจนไม่คิดว่าจะเป็นการแย่งงานกัน แต่ขอให้ตั้งศาลขึ้นโดยเร็วเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดในอนาคต สมัยที่ตนเป็นปรธานศาลฎีกา ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อคือ"ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม" ซึ่งพิจารณาทบทวนหลายรอบ เสนอให้รัฐบาลพิจารณา เราต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดเล้อมที่ใช้ร่วมกันได้ เพื่อให้คดีที่มีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมมีความรวดเร็ว มีการบังคับคดีที่มีประสิทธิภาพ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องช่วยกันผลักดันกฎหมายนี้
"กฎหมายฉบับนี้มีความพิเศษ ตรงที่นอกจากจะบังคับเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ผู้ประกอบการที่ประมาท เลิ่นเล่อ แล้วยังมีหลักการว่า หากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลโรงงาน หรือกิจการที่ละเมิดก่อความเสียหายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมแล้ว ละเลยไม่ดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายก็ถือว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ มีโทษ และประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย สามารถเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐได้ นอกจากจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการไปแล้ว ดังนั้นต่อไปนี้หน่วยงานของรัฐจะต้องไม่ดูอยู่เฉยๆ .ถ้ากฎหมายออกมาก็จะดูแล ครอบคลุม ประชาชา และผู้เสียหาย หน่วยงานของรัฐต้องออกมาดูแล วางมาตรการต่างๆซึ่งจะช่วยได้มาก " นายไสลเกษกล่าวตอนท้าย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี