วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : ย้อนรอยตำนานเมืองเชียงใหม่

วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : ย้อนรอยตำนานเมืองเชียงใหม่

วันอังคาร ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย
  •  

สะพานนวรัฐ (ขัวเหล็ก) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ข้ามแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่

เมืองเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในสมัยพญามังราย เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ ชื่อที่ปรากฏในตำนานคือ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ในช่วง พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานถึงสองร้อยกว่าปี


จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระยากาวิละ และพระยาจ่าบ้านในการทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่ และเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงเทพมหานคร และมีเจ้าเมืองสืบเชื้อสายของพระยากาวิละ เรียกว่า ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่และเมืองต่างๆในล้านนาขณะนั้น คือ ลำพูน ลำปาง พะเยา และเชียงราย เปลี่ยนฐานะเป็นศูนย์กลางของมณฑลพายัพตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาจนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ได้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจวบจนปัจจุบัน

เชียงใหม่ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่สยามเป็นอันมาก ด้วยการส่งส่วยและสิ่งของเข้ามาถวายหลายอย่าง ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดภายในและต่างประเทศต้องการ คือไม้สักและของป่า เช่น ขี้ผึ้งงาช้าง รวมถึงเครื่องเขิน หัตถกรรมที่ได้รับอิทธิพลตกทอดมาแต่ครั้งตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จฯเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙

ชาวเชียงใหม่เรียกตัวเองว่า คนเมือง ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเชื้อชาติทั้งที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม และเข้ามาใหม่ในยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บผ้าใส่เมือง (พ.ศ.๒๓๔๘) ได้แก่ ลัวะ มอญ ยวน พม่า เงี้ยวหรือไทใหญ่ ยอง และเขิน กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นนอก ส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมือและพ่อค้า คือไทเขิน มอญ พม่า ไทใหญ่ ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นใน เป็นไทยยวน นอกจากนี้ยังมีชาวเขา เช่น อาข่า ลีซอ มูเซอปกาเกอะญอ และคะฉิ่น ซึ่งอาศัยอยู่ตามเขตชายแดนที่ราบสูง

อัตลักษณ์ล้านนาในอดีตหลายประการยังคงมีการสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา และในมโนคติของสังคมทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิ ด้านหัตกรรมและงานช่างฝีมือ ได้แก่ เครื่องเขิน เครื่องเงินไม้แกะสลัก น้ำต้น หรือ คนโท ด้านอาหารและการบริโภค ก็จะมีการสอดคล้องกับฤดูกาลที่ค่อนข้างหนาวเย็น มีพืชพักตามธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ รสชาติของอาหารจะมีความเค็ม และเผ็ดเล็กน้อย มีการจัดสำรับลงในพานใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์เรียกว่าโตก บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนในด้านความเชื่อและความศรัทธา ก็จะมี หำยนต์ ตุง และโคมยี่เป็ง ปรากฏให้เห็นอยู่ตามสถานบ้านเรือน และในพิธีกรรมของแต่ละท้องถิ่น

นอกจากนี้ ในด้านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็เป็นที่ประจักษ์ และทำรายได้ให้ชุมชนไม่น้อย ด้วยผ้าฝ้ายที่นำไปย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ เรียกว่าม่อฮ่อม ส่วนการละเล่น การแสดง ก็จะมีฟ้อนเล็บ
กับ ซึง สะล้อ ที่ใครได้ชมได้ฟัง ก็จะเพลิดเพลินใจเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในดินแดนของความเนิบช้า สวยศิลป์ เป็นเสน่ห์เฉพาะที่งดงามยิ่ง

ในอดีตแม้จะผ่านคราบรอยของสงครามมายาวนาน แต่บรรพบุรุษของเราก็ได้กอบกู้จนกลับมาใช้ชีวิตอย่างสุขสงบทุกครั้ง ในปัจจุบันสถานการณ์โรคโควิด-19 กำลังระบาดหนักทั่วโลก เสมือนหนึ่งเป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่พวกเราต่างต้องร่วมกันกอบกู้ให้โลกกลับมาสวยงามและใช้ชีวิตอย่างมีอิสระภาพเช่นเดิม ดังนั้นการจะไป เยือนเชียงใหม่ในช่วงนี้ ควรต้องศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์จากการอ่านกันไปก่อน เมื่อวันใดที่สถานการณ์คลี่คลาย เราจะได้ออกท่องเที่ยวให้หนำใจ พร้อมความรู้จากร่องรอยของตำนานที่จะทำให้การเดินทางสนุกมากขึ้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

เชียงรายอ่วม!ฝนหนักทำน้ำท่วม 15 อำเภอ ปภ.เร่งสำรวจความเสียหายช่วย ปชช.

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved