วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : ย้อนรอยตำนานโรคระบาดในไทย

วิถีสยาม มรดกวัฒนธรรมไทย : ย้อนรอยตำนานโรคระบาดในไทย

วันอังคาร ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : วัฒนธรรมไทย วิถีสยามมรดกวัฒนธรรมไทย สยาม
  •  

หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตจะเห็นว่าหน้าประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้บันทึกเรื่องราวการเกิดโรคระบาดที่รุนแรงและน่ากลัว มีผู้คนเจ็บป่วย และเสียชีวิตดั่งใบไม้ร่วงในเวลาอันรวดเร็ว คนสมัยก่อนจะเรียกโรคระบาดว่า “โรคห่า”หรือ “ห่าลง”

ในอดีตยังไม่มีวิธีป้องกันและควบคุมโรค ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อจำเป็นต้องพากันหนี โดยปล่อยคนป่วยทิ้งไว้ จนกลายเป็นบ้านร้างเมืองร้างผ่านไปนานนับปีเมื่อแน่ใจว่าโรคซาจึงกลับมา โรคห่าที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร แต่ตามพระราชบัญญัติสำหรับโรคระบาด พ.ศ. ๒๔๕๖ ระบุไว้ ๓ โรค คือ กาฬโรค อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ


ในถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีโรคห่าระบาดอยู่หลายครั้ง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มีผู้เสียชีวิตถึง ๓ หมื่นคน ภายในเวลา ๑๕ วัน มีหลักฐานชี้ชัดว่าโรคห่าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอหิวาตกโรค เนื่องจากก่อนผู้ป่วยเสียชีวิตจะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง มีภาวะขาดน้ำ โดยการระบาดเริ่มมาจากอินเดียสู่ไทย ผ่านทางปีนัง และหัวเมืองฝ่ายตะวันตกจนเข้ามาถึงสมุทรปราการและพระนคร ซึ่งตอนนั้นมีการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นหลัก ทั้งกินทั้งถ่าย ไม่มีระบบประปาหรือการจัดสุขาภิบาล ทำให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

สมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ยังคงมีการระบาดอยู่ จากบันทึกระบุว่า ภายในเดือนเดียวมีผู้เสียชีวิต ๑,๕๐๐-๒๐,๐๐๐ คน แต่สมัยนั้นเริ่มมีมิชันนารีเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น มีหมอร่วมเดินทางมาด้วย และได้นำแนวทางการรักษาแบบแผนตะวันตกเข้ามารักษา

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีการนำสูตรยาวิสัมพญาใหญ่ และยาน้ำการบูรหยอดรักษาผู้ป่วย ทำให้การแพร่ระบาดลงลง เป็นช่วงขณะเดียวกันที่นายโรเบิร์ต น็อกซ์ ได้ค้นพบสาเหตุการเกิดอหิวาตกโรคว่ามาจากสัตว์ตัวเล็กๆที่อยู่ในน้ำ ที่เป็นต้นตอของอาการป่วย เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีเชื้อโรค ทำให้มีการระมัดระวังดูแลความสะอาดของน้ำกินน้ำใช้กันมากขึ้น เริ่มมีการจัดการด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการจัดระบบน้ำ การจัดสุขาภิบาล มีการทำส้วมหลุม มีการจัดตั้งบริษัทจัดเก็บถังส้วม ด้วยเหตุนี้ทำให้โรคติดต่อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตอยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้

เริ่มมีการปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ ในยุคนี้ช่วงที่หมอบรัดเลย์นำเข้ามาเผยแพร่ รวมถึงยาสลบที่เริ่มเข้ามาใช้ในประเทศไทยหลังจากที่มีการค้นพบไม่ถึง 10 ปี ทำให้การแพทย์สมัยใหม่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็มีโรคระบาดขึ้นมาอีก เป็นการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์สแปนิชฟูล มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากมายถึง ๒๐-๔๐ล้านคน เลยทีเดียว

จนปัจจุบันเมื่อโรคระบาดได้เดินทางมาปั่นป่วนคร่าชีวิตมนุษย์ครั้งใหญ่อีกครั้ง ทุกประเทศต่างประสบปัญหาในการสูญเสียในทุกด้านไม่ต่างกัน

สำหรับในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ พระมหากษัตริย์ผู้ปิดทองหลังพระ ผู้สืบสาน รักษาและต่อยอด โครงการต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงงานอยู่เบื้องหลังหลายอย่าง รวมทั้งปัญหาการเกิดโรคระบาดนี้ก็ไม่ได้นิ่งนอนพระราชหฤทัย

พระองค์ทรงห่วงใยประชาชน และทรงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด พระราชทานพระบรมราโชบายในการดำเนินมาตรการต่างๆ ในอันที่จะควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ทรงให้การช่วยเหลือ ซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาล ๒๗ แห่งช่วยโรงพยาบาลทหารผ่านศึกและโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งพระราชทานรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยเคลื่อนที่ รถพระราชทานรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ รถต่อพ่วงชีวนิรภัย และรถเอ็กซเรย์ระบบดิจิทัลแก่กระทรวงสาธารณสุข สำหรับปฏิบัติงานเชิงรุกในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เพื่อให้สถานการณ์ได้คลี่คลายโดยเร็ว ประชาชนจะได้กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติสุขภายใต้ร่มพระบารมีอีกครั้ง

หากพลิกย้อนดูหน้าประวัติศาสตร์การเกิดโรคระบาดคราใด เสมือนจะเตือนชาวไทยว่า หนักหนาแค่ไหนเราก็ผ่านมาแล้ว แต่กับสถานการณ์ปัจจุบันที่ดูเหมือนว่านอกจากประชาชนต้องต่อสู้กับโรคร้ายแล้ว ยังมีเรื่องของการต่อสู้กันทางความคิดเห็นที่แตกต่าง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง ครอบครัว การศึกษา และอีกหลายปัญหาที่เกิดผลกระทบตามมา ผลพวงของเชื้อร้ายครั้งนี้ถือว่าเป็นความท้าทายของทุกฝ่ายที่ต้องคอยแก้ปัญหา และจัดการให้จบโดยเร็วที่สุด

นาทีนี้ ถ้าไม่บอกตัวเองว่า สู้ๆ.. ก็ไม่รู้จะใช้คำไหนแล้ว

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ศ.ดร.บังอร\'นำทัพ! พร้อมใจร่วมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทย\'BTU สงกรานต์ Family\' 'ศ.ดร.บังอร'นำทัพ! พร้อมใจร่วมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทย'BTU สงกรานต์ Family'
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved