วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : หมอดินอาสาเมืองยโสธรพลิกฟื้นดินคุณภาพต่ำ  ทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน-ปลูกกินเหลือขายลดค่าใช้จ่ายสร้างรายได้ต่อเนื่อง

รายงานพิเศษ : หมอดินอาสาเมืองยโสธรพลิกฟื้นดินคุณภาพต่ำ ทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน-ปลูกกินเหลือขายลดค่าใช้จ่ายสร้างรายได้ต่อเนื่อง

วันศุกร์ ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในทุกมิติ ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร การสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถทำการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) ที่มีกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งผลจากการดำเนินงาน ได้ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรอย่างเข้มแข็ง เกิดความร่วมมือการมีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรดินเพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเพาะปลูกได้อย่างยั่งยืนเต็มศักยภาพ ได้ผลผลิตสินค้าอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อชีวิตทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ

นายสำรอง อำพนพงษ์ หมอดินอาสาประจำตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นผู้ได้รับรางวัลหมอดินอาสาดีเด่น กรมพัฒนาที่ดิน ประจำปี 2564 และเป็นเกษตรกรอีกคนหนึ่งที่เข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) จนประสบความสำเร็จ ลดรายจ่าย สร้างรายได้ต่อเนื่อง เปิดเผยว่า เดิมที่มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว แต่ประสบปัญหาเรื่องของคุณภาพดิน เนื่องจากเป็นชุดดินจักราช (Ckr) กลุ่มชุดดินที่ 40 พบปัญหา คือ ดินเป็นกรด เนื้อดินค่อนข้าง
เป็นดินทราย มีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำได้ง่าย การทำนาในช่วงแรกจึงทำให้ได้ผลผลิตน้อยมาก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่หลังจากได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมจากกรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งการศึกษาดูงานแปลงเกษตรที่ประสบความสำเร็จจากหลายๆ พื้นที่ จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนามาทำเกษตรผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ 31 ไร่ เป็นนาข้าว 18 ไร่ ปลูกข้าวข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 และข้าวขาวมะลิ 105 ปลูกพืชผสมผสาน จำนวน 5 ไร่ ซึ่งจะมีทั้ง ไม้ผล เช่น มะม่วง กล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนใหญ่เป็นผักท้องถิ่นเช่น ผักปังบัวบก ผักชี มะเขือ มะนาว ตะไคร้ ผักหวานป่า ปลูกไม้ตัดดอก เช่น ดาวเรือง เยอบีร่า เป็นต้น ปลูกอ้อยคั้นน้ำ 2 ไร่ เลี้ยงสัตว์ 1 ไร่ สระน้ำ 4 ไร่ สำหรับสำรองน้ำไว้ใช้ในแปลงเกษตร และเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และเป็นที่อยู่อาศัย 1 ไร่ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้แนะนำให้แก้ไขปัญหาสภาพดิน ด้วยการใช้โดโลไมท์ ปรับปรุงบำรุงดิน ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทืองถั่วพร้า แล้วไถกลบ และปรับรูปแบบแปลงนาให้ใหญ่ขึ้น ทำคันนาตามแบบการอนุรักษ์ดินและน้ำของกรมพัฒนาที่ดิน ด้วยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินส่วนการจัดการดินในการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จะใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์พด.1 ในการเตรียมหลุมเพาะปลูก ใช้น้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์พด.2 ฉีดพ่นต้นไม้ผลในระยะเจริญเติบโต และระยะที่ไม้ผลกำลังติดดอกและใช้เศษฟางข้าวคลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน การจัดการดินในแปลงปลูกข้าว จะปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยหมักในการเตรียมดินก่อนการเพาะปลูก และใช้น้ำหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ในการไล่เพลี้ยและแมลงที่รบกวนในแปลงปลูกข้าว และไถกลบตอซังหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแทนการเผาตอซัง


นายสำรอง บอกอีกว่า หลักการทำเกษตรผสมผสานของตน คือปลูกหลายสิ่งที่อยากกิน ทำหลายๆ สิ่งที่เราต้องการ เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างรายได้ วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มที่ โดยทั้งหมดจะเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมี หรือปุ๋ยเคมีในการผลิต เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและผู้บริโภค ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจึงนำไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและจำหน่ายที่หน้าสวน ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 10,000-15,000 บาทต่อเดือน จากการทำเกษตรอินทรีย์และมีการปรับปรุงบำรุงดินมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามลำดับ และยังได้รับคัดเลือกจากกรมพัฒนาที่ดิน ให้พื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเมื่อปี พ.ศ. 2555

“เกษตรกรที่ต้องการทำเกษตรอินทรีย์ จะต้องมีใจรักและมีความอดทน ไม่หวังผลเพียงแค่ระยะสั้นเพราะเกษตรอินทรีย์ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน ลด ละ เลิกใช้สารเคมีทุกชนิดในแปลงเกษตร รวมถึงต้องปลูกพืชสร้างแนวกันชนเพื่อป้องกันละอองเคมีจากแปลงข้างๆ เข้าสู่แปลงเกษตรของเรา เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด ซึ่งอาจจะใช้เวลา 1-2 ปี จึงจะเป็นอินทรีย์ได้ 100% แต่สิ่งที่ได้คือ คุณภาพดิน สภาพแวดล้อมในแปลงเกษตรจะค่อยๆ อุดมสมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตจะลดลง ในขณะที่ตัวเราเองก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น และที่สำคัญจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ความตั้งใจต่อจากนี้ไป คือต้องการเผยแพร่สิ่งเหล่านี้ ให้เยาวชน คนรุ่นใหม่และเกษตรกรทั่วไป นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมในพื้นที่ของตนเอง ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาและการปรับปรุงบำรุงดิน เพราะเมื่อดินดี ก็จะนำไปสู่การทำเกษตรที่ยั่งยืน” นายสำรอง กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน ไอคอนการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (https://www.ldd.go.th/Web_PGS/index.html) หรือ โทร.0-2579-4194 สายด่วน 1760

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : กระทรวง อว. โดย บพท. กอดคอ 7 หน่วยงาน เปิดมิติใหม่  ‘สลายความรุนแรงชายแดนใต้ ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ’ รายงานพิเศษ : กระทรวง อว. โดย บพท. กอดคอ 7 หน่วยงาน เปิดมิติใหม่ ‘สลายความรุนแรงชายแดนใต้ ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ’
  •  

Breaking News

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

เอื้อประโยชน์หรือไม่? รถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย ระวังอย่าแถมเงินให้นายทุน

'สวนดุสิตโพล'เผยชุมนุมการเมือง คนไทยคาดหวังอยากให้รัฐบาลลาออก ไม่เห็นด้วยรัฐประหาร

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved