นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เปิดเผยว่า ตามที่มี พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันส่งเสริม ศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เป็น สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ “SACIT” นั้น SACIT จะมีภารกิจในการดำเนินงานที่เข้มข้นขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืนในฐานะองค์กรหลักในการดูแลและสนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยทั้งระบบ เพื่อสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ก้าวไกลสู่สากล และสร้างความยั่งยืนให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทย
โดยได้ดำเนินการพัฒนาแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ส่วนเพิ่มปี พ.ศ. 2566 และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565 ทั้งในส่วนกระบวนการ/เครื่องมือ/ตัวชี้วัดการ ประเมินผล และค่าเป้าหมายทั้งเป้าหมายรายปี และเป้าหมายสิ้นสุดของแผนยุทธศาสตร์ และนำเสนอรูปแบบ และ/หรือบทบาทการดำเนินงานของ SACIT ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต โดยทำการวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา ศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย
พร้อมปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขัน ประเมินความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มในอนาคต ของงานศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางสนับสนุนของภาครัฐ แผนผังแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนปฏิบัติราชการกระทรวงพาณิชย์
นายพรพล กล่าวเสริมว่า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาพันธกิจ อำนาจหน้าที่ ของ SACIT พบว่า มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางสังคม และด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การสร้างแผนยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การตลาดบูรณาการงานศิลปหัตถกรรมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยและผลิตภัณฑ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สืบสาน ส่งเสริมคุณค่า และเผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับองค์กรสู่ความเป็นเลิศ อย่างไรก็ดี แม้ประเด็นยุทธศาสตร์ของ SACIT นั้นจะมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในหลากหลายประเด็น แต่ SACIT ยังคงต้องรับฟังความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มุ่งหวังให้บทบาทของ SACIT ส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความ
เข้มแข็งรอบด้าน
ตลอดจนเดินหน้าสืบสาน อนุรักษ์ความเป็นพหุปัญญาของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทช่างศิลปหัตถกรรมตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ของงานด้านศิลปหัตถกรรมไทย เป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทยที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และการสร้างงานในกลุ่มงาน ฝีมือและงานหัตถกรรมให้กับประชากรไทยด้วย
“แม้ผลประเมินความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มในอนาคตของงานศิลปหัตถกรรมไทยยังคงพบอุปสรรคในมิติต่างๆ และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกรวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาช่วย ทั้งการผลิต การจัดจำหน่าย การส่งออกสินค้า เน้นส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และมีเอกลักษณ์ประจำชาติ ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการตลาดเพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นทิศทางที่ดี ที่จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ประเทศไทยก้าวข้ามปัญหาทางเศรษฐกิจได้”นายพรพล กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี