ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2564 เรื่อง “เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน” จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 14-17 ตุลาคม 2564 ส่งผลให้มีฝนตกหนัก บริเวณลุ่มน้ำปิง เจ้าพระยา สะแกกรัง ท่าจีน และป่าสัก ทำให้เกิดน้ำไหลล้นทางระบายน้ำล้นเขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี รวมทั้งทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิง แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำป่าสัก คลองชัยนาท-ป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินวิเคราะห์ปริมาณฝนตก (ONE MAP) ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากแม่น้ำปิง จะทำให้มีน้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ สูงสุดประมาณ 3,000-3,100 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564
กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการหน่วงน้ำและผันน้ำเข้าคลองต่าง ๆ ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในเกณฑ์ 2,700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.20-0.40 เมตร ในช่วงวันที่ 23-30 ตุลาคม 2564
สำหรับแม่น้ำท่าจีน น้ำที่ไหลล้นข้ามทางระบายน้ำล้น เขื่อนกระเสียว จะไหลไปสมทบกับปริมาณน้ำท่าที่เกิดจากฝนตกด้านท้ายเขื่อน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงแม่น้ำท่าจีน 150-200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ทั้งนี้ จะบริหารจัดการโดยผันน้ำเข้าทุ่งโพธิ์พระยา เพื่อลดปริมาณน้ำหลาก ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.30-0.50 เมตร ในช่วงวันที่ 20-27 ตุลาคม 2564
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชน ได้กำชับให้สำนักงานชลประทานที่ 3, 10-13 และสำนักเครื่องจักรกล ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงและพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขัง พร้อมกับให้ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทราบสถานการณ์ล่วงหน้า รวมทั้งตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ ความแข็งแรงและจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วม เพื่อป้องกันน้ำล้นข้ามแนวคันกั้นน้ำ และปรับแผนบริหารจัดการการระบายน้ำของเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ ไว้รองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
-001
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี