วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
‘TDRI’เปิด20ตัวชี้วัดเทียบเกณฑ์สากล  ‘คุณภาพชีวิตคนไทย’ด้านใดอยู่จุดใดบ้าง

‘TDRI’เปิด20ตัวชี้วัดเทียบเกณฑ์สากล ‘คุณภาพชีวิตคนไทย’ด้านใดอยู่จุดใดบ้าง

วันพุธ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag :
  •  

GOOD Society Thailand จัดเวที (ออนไลน์) ระดมความร่วมมือแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสังคมของประเทศไทย (Thailand Social Development Forum) เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งในงานดังกล่าว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้เปิดเผยผลสำรวจหัวข้อ “ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย รู้ได้อย่างไร แล้วเราจะสุขมากขึ้นได้อย่างไร” โดย ดร.บุญวราสุมะโน นักวิชาการอาวุโส TDRI กล่าวถึงดัชนีคุณภาพชีวิตของไทย หรือ TIW (Thailand’s Index of Wellbeing) เพื่อให้คนทำงานด้านพัฒนาสังคมได้ใช้ประเมินผลงานของตนเอง ว่าเกิดผลกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าไปทำงานอย่างไรบ้าง

ซึ่ง TIW นั้นพัฒนาขึ้นโดยอ้างอิงจากดัชนีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือBLI (Better Life Index) ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ที่กล่าวถึงความสุขของคน 11 ด้าน อีกทั้ง OECD เป็นองค์กรที่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อตั้งเป้าหมายว่าประเทศไทยจะต้องพัฒนาไปอยู่ระดับเดียวกับประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้ TIW ยังถูกพัฒนาโดยคาดหวังให้คนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงตัวชี้วัดต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างจากดัชนีที่ภาครัฐพัฒนาขึ้น ที่มักจะตอบโจทย์ตัวชี้วัดขององค์กรภาครัฐเป็นหลัก


สำหรับ BLI นั้นมีตัวชี้วัด 24 ตัวใน 11 ด้าน แต่ในการนำเสนอครั้งนี้จะกล่าวถึงเพียง 20 ตัว เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่ประเทศไทยมีข้อมูลเปรียบเทียบ ข้อมูลจะใช้ระหว่างปี 2553-2563 ได้แก่ 1.ที่อยู่อาศัยซึ่งไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วัดนี้ดูที่ “ส้วมแบบชักโครก” คะแนนของไทยอยู่ที่ 0.2 ส่วนค่าเฉลี่ยของ OECD ซึ่งอยู่ที่ 3.6 ถือว่าไทยทำได้ดีกว่า 2.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัย ค่าเฉลี่ยของ OECD อยู่ที่ร้อยละ 20.00 ส่วนไทยอยู่ที่ร้อยละ 16.74 ชี้ให้เห็นว่า ราคาที่อยู่อาศัยของไทยยังไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยในประเทศกลุ่ม OECD

3.ห้องต่อจำนวนคน ไทยอยู่ที่ 1.0ในขณะที่ OECD อยู่ที่ 1.6 ตัวชี้วัดนี้ไทยทำได้ไม่ดีนักเพราะชี้ว่าคนไทยอาศัยอยู่อย่างแออัดกว่า 4.ทรัพย์สินของครัวเรือน ไทยอยู่ที่ประมาณ 5.2 หมื่นเหรียญสหรัฐ น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ซึ่งอยู่ที่ 4.08 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ก็เข้าใจได้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ของ OECD เป็นประเทศร่ำรวย เช่นเดียวกับ 5.รายได้ที่สามารถนำไปใช้จ่ายของครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนต่อปี ที่ค่าเฉลี่ยของ OECDอยู่ที่ 2.8 หมื่นเหรียญสหรัฐ ส่วนไทยอยู่ที่ 3.6 พันเหรียญสหรัฐ

รวมถึง 6.รายได้ส่วนบุคคล ซึ่งค่าเฉลี่ยของ OECD อยู่ที่ 2.7 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ไทยอยู่ที่ 5.2 พันเหรียญสหรัฐ ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า ตัวชี้วัดเกี่ยวกับรายได้ ไทยยังค่อนข้างตามหลัง OECD เป็นอย่างมาก แม้กระทั่งเม็กซิโก ประเทศที่รายได้ต่ำที่สุดในกลุ่มOECD ตัวชี้วัดด้านรายได้ก็ยังดีกว่าไทย 7.อัตราการว่างงานระยะยาว หมายถึง “ว่างงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป”พบว่า ไทยเป็นชาติที่มีอัตราการว่างงานระยะยาวต่ำมาก เพียง 0.01 ต่ำกว่าประเทศกลุ่ม OECD ที่อัตราการว่างงานระยะยาวต่ำที่สุดอย่างเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ที่ 0.05 เสียอีก ส่วนค่าเฉลี่ย OECD นั้นอยู่ที่ 3.21

8.อัตราการจ้างงาน ไทยอยู่ที่ร้อยละ 75.91 ส่วนค่าเฉลี่ย OECD อยู่ที่ร้อยละ 76.5 ถือว่าใกล้เคียงกัน 9.จำนวนปีการศึกษา เกณฑ์ OECD วัดจากจำนวนปีการศึกษาตั้งแต่อายุ 5-39 ปี โดยค่าเฉลี่ยของ OECD อยู่ที่ 17.2 ปี ส่วนไทยอยู่ที่ 15 ปี 10.ทักษะนักเรียน วัดจากคะแนนสอบ PISA ( 3 ด้าน คือการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ซึ่งไทยได้ 413 คะแนน (ปี 2561) ส่วนค่าเฉลี่ย OECD ในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 490 คะแนน เห็นได้ชัดว่าไทยยังน้อยกว่ามาก

11.การสำเร็จการศึกษา นับจากสัดส่วนประชากรที่จบระดับ ม.ปลาย ขึ้นไป ไทยอยู่ที่ร้อยละ 33.3 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 78 อย่างมาก 12.มลพิษทางอากาศ วัดจากค่าเฉลี่ยประชากรที่เผชิญกับฝุ่น PM2.5พบว่า ไทยมีมลพิษสูงกว่ากลุ่ม OECDอย่างมาก โดยมลพิษของไทยอยู่ที่ 27.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย OECD ซึ่งอยู่ที่ 13.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

13.ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ตัวชี้วัดนี้ไทยอยู่ที่ร้อยละ 74.87 ส่วนค่าเฉลี่ย OECD อยู่ที่ร้อยละ 68.2 ถือว่าไทยมีคะแนนเรื่องนี้ดีกว่า 14.การรายงานสุขภาพ คำถามนี้ถามอย่างตรงไปตรงมา ให้แต่ละคนประเมินว่าตนเองสุขภาพดีหรือไม่ พบว่า สัดส่วนของไทยอยู่ที่ร้อยละ 48.6 ส่วนค่าเฉลี่ย OECD อยู่ที่ร้อยละ 65.3 ไทยยังถือว่าน้อย 15.อายุคาดเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยของ OECD อยู่ที่ 80.2 ปี ส่วนไทยอยู่ที่ 76.7 ปี แม้จะดูน้อยกว่าแต่ถ้าเทียบกับอีกหลายประเทศในกลุ่ม OECD เช่น ฮังการี โคลอมเบีย เม็กซิโก ลิทัวเนีย บราซิล ลัตเวีย รัสเซีย แอฟริกาใต้ ไทยยังถือว่าดีกว่า

16.ความพึงพอใจในชีวิตตัวชี้วัดนี้ถามง่ายๆ ตรงไปตรงมา แบ่งจาก 0 คือไม่พอใจเลย ถึง 10 คือพอใจมากที่สุด เกณฑ์ฉลี่ยของ OECD อยู่ที่ 6.5 ส่วนของไทยอยู่ที่ 6.7 ถือว่าไทยดีกว่าเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีประเด็นชวนคิด เพราะในขณะที่หลายเรื่องไทยตามหลัง OECD คนไทยกลับมีความพึงพอใจในชีวิตมากกว่า 17.อัตราการฆาตกรรม (ต่อแสนประชากร) ค่าเฉลี่ย OECD อยู่ที่ 2.4 ส่วนไทยอยู่ที่ 4.26 เช่นเดียวกับ 18.ความรู้สึกปลอดภัยเวลาเดินคนเดียวตอนกลางคืน ไทยอยู่ที่ร้อยละ 64 ส่วนค่าเฉลี่ย OECD อยู่ที่ 74.4 จะเห็นว่า ตัวชี้วัด 17 และ 18 ซึ่งสะท้อนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไทยยังตามหลัง OECD อยู่พอสมควร

19.เวลาที่ใช้พักผ่อนและดูแลตนเอง ไทยอยู่ที่ 13.5 ชั่วโมงต่อวัน น้อยกว่าค่าเฉลี่ย OECD ซึ่งอยู่ที่ 15.1 ชั่วโมงต่อวัน ที่น่าสนใจคือ แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นที่คนมีเวลาพักผ่อนและดูแลตนเองน้อยที่สุดในกลุ่ม OECD คืออยู่ที่ 14.2 ชั่วโมงต่อวัน ก็ยังมากกว่าไทย และ 20.ลูกจ้างที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไทยอยู่ที่ร้อยละ 11.8 ยังมากกว่าค่าเฉลี่ย OECD ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ซึ่งจะสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ 19 ที่ชี้ว่าคนไทยมีเวลาพักผ่อนและดูแลตนเองน้อย

“จะเห็นว่าด้านที่ไทยทำได้ค่อนข้างดีมีไม่เยอะ ส่วนมากจะอยู่ที่ที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักหรือสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานในที่พักอาศัย ที่เราทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ย OECD แต่ถ้ามาดูด้านที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด ยกเว้นอัตราการว่างงานระยะยาว ไทยเราไม่หลุดจากสนาม OECD ก็อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD ทั้งนั้นเลย แล้วยิ่งมาดูการสำเร็จการศึกษา ก็เป็นอีกด้านที่ไทยเรายังต้องเร่งฝีเท้ามากๆ เลย ถ้าเราจะเข้าไปอยู่ในสนามมาราธอนของ OECD ด้วย” บุญวรา ระบุ

บุญวรา ยังกล่าวอีกว่า ส่วนอีก 4 ตัวชี้วัดที่ไทยยังไม่มีข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ “มีข้อมูลของประเทศไทยแต่สำรวจโดยองค์กรต่างประเทศ” ประกอบด้วย 1.คุณภาพการสนับสนุนของเครือข่าย หมายถึงความเชื่อมั่นว่าเมื่อเกิดปัญหาในชีวิตจะมีญาติสนิทมิตรสหายเข้ามาช่วยเหลือข้อมูลนี้มีอยู่ในฐานข้อมูลของ GallupPoll สำนักโพลล์เก่าแก่ของสหรัฐอเมริกาซึ่งผู้ที่ต้องการข้อมูลก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากพอสมควร ส่วนค่าเฉลี่ยของ OECD นั้นมีความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 89

อย่างไรก็ตาม แบบสอบถามที่สำรวจแบบเร่งด่วน (Quick Survey) ของ TDRI พบว่า กลุ่มตัวอย่างตอบว่าเชื่อมั่นถึงร้อยละ 92.8 สะท้อนภาพสังคมไทยที่ยังมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ทอดทิ้งกัน และ 2.ความพอใจต่อคุณภาพน้ำในเมืองหรือในย่านพื้นที่อยู่อาศัย ค่าเฉลี่ยของ OECD นั้นอยู่ที่ร้อยละ 81 เป็นอีกตัวชี้วัดที่ต้องใช้ฐานข้อมูลของ Gallup Poll ส่วน Quick Survey ของ TDRI พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 69.6

กับ “ไม่เคยมีข้อมูลของประเทศไทยมาก่อน” ประกอบด้วย 1.การมีส่วนร่วมพัฒนากฎระเบียบของประเทศของผู้มีส่วนได้-เสียตัวชี้วัดนี้ OECD ได้สร้างคู่มือวัดผลไว้(iREG) และ 2.ความมั่นคงของตลาดแรงงาน วัดจากรายได้ที่คาดว่าจะเสียไปเทียบกับรายได้ก่อนหน้าหากตกงาน กับมาตรการบรรเทาผลกระทบของรัฐซึ่งตัวชี้วัดนี้ค่าเฉลี่ย OECD อยู่ที่ร้อยละ 7

อนึ่ง มี 2 ตัวชี้วัดที่ปัจจุบันมีอยู่แต่อนาคตจะไม่มีแล้วเพราะทางการไทยเลิกสำรวจ คือ การรายงานสุขภาพ (ประเมินตนเองว่าสุขภาพดีหรือไม่) กับ ความพึงพอใจในชีวิต ดังนั้นหากภาคสังคมคิดว่า 2 ตัวชี้วัดนี้ยังสำคัญกับสังคมไทย ก็ต้องมารับช่วงต่อในการเก็บข้อมูล!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สพฐ.จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ยกระดับครู บุคลากรทางการศึกษา สพฐ.จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ยกระดับครู บุคลากรทางการศึกษา
  • กองทัพอากาศไทยสุดแกร่ง! เปิดตัว\'โดรนพลีชีพ\' ฝีมือคนไทย ยกระดับความมั่นคงชาติ กองทัพอากาศไทยสุดแกร่ง! เปิดตัว'โดรนพลีชีพ' ฝีมือคนไทย ยกระดับความมั่นคงชาติ
  • \'วัชระ\'ร้องรมช.มหาดไทย จี้เร่งพิจารณาสัญชาติไทยให้\'บัณฑิตสาว\'ไร้สัญชาติ 'วัชระ'ร้องรมช.มหาดไทย จี้เร่งพิจารณาสัญชาติไทยให้'บัณฑิตสาว'ไร้สัญชาติ
  • บึงกาฬเปิดเเข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน PEA – DOMESTIC POWER ครั้งที่ 21 บึงกาฬเปิดเเข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน PEA – DOMESTIC POWER ครั้งที่ 21
  • ‘สพฐ.’จัดทีมนิติกรช่วยครูการเงิน ติดร่างแหถูกชี้มูลร่วมลงชื่อเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวัน ‘สพฐ.’จัดทีมนิติกรช่วยครูการเงิน ติดร่างแหถูกชี้มูลร่วมลงชื่อเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวัน
  • คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้ คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved